ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตลาดข้าวอินทรีย์ยุคใหม่..การตลาดความสัมพันธ์.และ..กลยุทธ์การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social media) เฟซบุ๊ก (Facebook) และ ไลน์ (Line)

การตลาดสินค้าข้าวอินทรีย์ยุคใหม่

การทำการตลาดข้าวอินทรีย์ในปัจจุบัน เกษตรกรจำนวนมากยังคงทำการตลาดตามขนบประเพณีนิยม (conventional marketing) ซึ่งใช้สูตร STP อันได้แก่ การแบ่งส่วนตลาด (Market segmentation) การหาตลาดเป้าหมาย (Target market) การวางตำแหน่งทางการตลาด (Positioning)  แล้ววางกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านส่วนประสมทางการตลาดแบบ 4P คือ ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion)

แต่การตลาดยุคใหม่ที่ประสบความสำเร็จ..เกษตรกรผู้ทำการตลาดจะต้องกันมาให้ความสำคัญกับ "การตลาดความสัมพันธ์ (Relationship Marketing) ให้มากขึ้น เพราะผู้คนในยุคสมัยใหม่ ไม่ได้ต้องการเพียงการซื้อสินค้าดี มีคุณภาพอย่างเดียว แต่ผู้บริโภคในยุคใหม่ (New era consumer) ยังต้อง "ความสัมพันธ์" อันประกอบด้วย ความสามารถตรวจสอบได้ (accountability) ความเชื่อถือได้ (credibility) ความไว้วางใจ (trust) และความรู้สึกที่ดี (good feeling) ที่มีต่อทั้งตัวสินค้า (Goods) ผู้ผลิต (Producer) และตัวผู้ขายสินค้า (Seller)

นอกจาการให้ความสำคัญกับผู้บริโภคแล้ว การตลาดความสัมพันธ์(Relationship Marketing)  ในการทำการตลาดข้าวอินทรีย์ ยังให้ความสำคัญกับ "ผู้ผลิต" (Producer) ในที่นี้ได้แก่ เกษตรกร ชาวนา ในฐานที่เป็นบุคคลที่มีเกียรติ มีคุณค่า ที่ได้ผลิตอาหารที่ดีให้แก่มวลมนุษย์

การตลาดความสัมพันธ์(Relationship Marketing)  ในการทำการตลาดข้าวอินทรีย์ ยังให้ความสำคัญกับ "พนักงาน" (Employees) ซึ่งในที่นี้หมายถึง เกษตรกร ผู้รับจ้าง ผู้ใช้แรงงานที่มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตในฐานพนักงานคนหนึ่ง ซึ่งควรจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ ได้ทำงานที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (เช่น การฉีดสาเคมีกำจัดศัตรูพืช การหว่านปุ๋ยเคมี) ได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม มีสวัสดิการที่ดีตามสมควร

การตลาดความสัมพันธ์(Relationship Marketing)  ในการทำการตลาดข้าวอินทรีย์ ยังให้ความสำคัญกับ "ผู้จัดหาสินค้า" (Suppliers) ในฐานะที่เป็นบุคคลที่เสาะแสวงหา คัดสรรสินค้าที่ดี มีคุณภาพมานำเสนอ

การตลาดความสัมพันธ์(Relationship Marketing)  ในการทำการตลาดข้าวอินทรีย์ ยังให้ความสำคัญกับ "ช่องทางจัดจำหน่าย" (Marketing Channels) ในฐานะที่เป็นผู้นำสินค้าที่ดีจากผู้ผลิตส่งไปถึงมือผู้บริโภค ทั้งช่องทางจัดจำหน่ายแบบค้าส่ง (wholesaler) ค้าปลีก (retailer) เช่น ผู้ค้าปลีกที่ตลาดเจเจ ผู้ค้าปลีกที่ตลาดแม่เหียะ ร้านเลมอนฟาร์ม โครงการหลวง ริมปิง ท็อปซูเปอร์มาร์เก็ต โฮมเฟรชมาร์ท

ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายผู้ผลิต (เกษตรกร/ชาวนา - ผู้ใช้แรงงาน) ฝ่ายการตลาด (ผู้จัดหาสินค้า ผู้จัดส่งสินค้า ผู้ขายสินค้า) และฝ่ายผู้บริโภค กำลังเป็นเรื่องสำคัญมากของการทำการตลาดในยุคใหม่นี้ โดยมี "สื่อยุคใหม่" เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ

สื่อยุคใหม่ที่มีบทบาทมากได้แก่ อินเทอร์เน็ต (Internet) สื่อสังคมออนไลน์ (Social Networking Media) เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และไลน์ ซึ่งทำหน้าที่ในการ สร้างความสัมพันธ์ ส่งเสริมความสัมพันธ์ กระชับความสัมพันธ์ และประสานประโยชน์ ให้แก่แต่ละฝ่าย

เทคโนโลยีโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน (Smartphone)  ที่สามารถทำได้ทุกสิ่งเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และการมีราคาถูกลง จนบุคคลแทบทุกระดับ สามารถเข้าถึง ครอบครอง ใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นคนในเมือง คนในชนบท ชาวนา เกษตรกร ต่างมีใช้กว้างขวางมากขึ้น ทั่วถึงมากขึ้น

เมื่อเกษตรกรมีสมาร์ทโฟน (Smart phone) และสามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้ นับเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่เกษตรกรและชาวนา เกษตรกรและชาวนามีอำนาจการสื่อสาร มีอำนาจในการค้นหาข้อมูลข่าวสาร มีอำนาจการต่อรอง จึงมีศักยภาพในการทำการตลาดด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น การตลาดแบบทางตรง (Direct marketing) ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อเริ่มขยายตัวมากขึ้น เกษตรกรฝชาวนาสามรถติดต่อกับผู้บริโภคได้โดยตรง(โดยสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์) การทำความตกลงก็ง่ายขึ้น ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายสินค้าลดต่ำลง ราคาสินค้าลดต่ำลง สร้างความพึงพอใจให้แก่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

สมาร์ทโฟน (Smart phone) และ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Networking Media) หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า "โซเชียลมีเดีย" (Social Media) มียทบาทในสร้างความสัมพันธ์ ส่งเสริมความสัมพันธ์ กระชับความสัมพันธ์ และประสานประโยชน์ ระหว่างเกษตรกรฝชาวนา กับ ผู้บริโภค ได้ดียิ่งขึ้น เกิดความรู้สึกใกล้ชิดมากขึ้น แม้หนทางจะอยู่ห่างไกลแต่ความรู้สึกกลับเหมือนอยู่ใกล้ ดังเช่น ชาวนาทีเชียงใหม่ เชียงราย พัทลุง ยโสธร บุรีรัมย์ ราชบุรี กาญจนบุรี กับผู้บริโภคที่อยู่ในกรุงเทพฯ ระยะทางที่ห่างไกลไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าเป็นปัญหาอุปสรรคแต่อย่างใด

พร้อมกับระบบลอจิสติกส์ (Logistic) การจัดส่งสินค้าทางไปรษยณีย์และนิ่มชีเส็ง ทำให้การติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างเกษตรกร/ชาวนากับผู้บริโภคทำให้ง่ายขึ้น สะดวกแและรวดเร็ว ความสั้นของเวลาในการจัดส่งสินค้า สร้างความรู้สึกใกล้ชิด สร้างความรู้สึกได้รับการตอบสนองอย่างทันใจ เป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารของสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ระบบการสื่อสารออนไลน์ (Online communication) และระบบการจัดส่งสินค้าลอจิสติก (Logistic) ทำให้เกิดระบบการตลาดแบบที่เรียกว่า "จากไร่นามาสู่ผู้บริโภค" หรือ "Farm to Consumer" ซึ่งเป็นการทำการตลาดโดยการติดต่อโดยตรงระหว่าง เกษตรกรและผู้บริโภค ในการเสนอขายสินค้า ตกลงซื้อขายสินค้า ทำสัญญาซื้อขายสินค้าล่วงหน้า การบริการสต็อกสินค้า การจัดส่งสินค้าให้ผู้บริโภค ซึ่งในระบบการตลาดแบบโดยตรงนี้ ได้เกิดมีองค์ประกอบใหม่ขึ้นมาในระบบการตลาดนั่นคือ "ตัวกลาง" (Medium) ตัวกลางนี้แตกต่างจาก "คนกลาง" ในการซื้อขายสินค้าเพราะคนกลางเป็นผู้รับซื้อสินค้ามาจากเกษตรกรแล้วนำมาขายต่อให้แก่ผู้บริโภคหรือพ่อค้า แต่ตัวกลางในที่นี้ไม่ได้ซื้อสินค้าแต่ทำหน้าที่ติดต่อ ประสานงาน ช่วยให้เกิดการื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค

บทบาทของ "ตัวกลาง" ยังมีความสำคัญมากในการทำการตลาดความสัมพันธ์ "ตัวกลาง" (Medium) คือ คนที่เข้ามาทำหน้าที่ทำให้เกิด "การเชื่อมโยง" (Connect) ระหว่าง เกษตรกร/ชาวนาในฐานะผู้ผลิต กับ บุคคลที่เป็นตลาดเป้าหมายของข้าวอินทรีย์ในฐานะผู้บริโภค ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้เชื่อมโยงกัน ได้ติดต่อกัน (Contact) และได้ "สื่อสารกัน" (Communication) ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของตัวกลางที่กล่าวถึงนี้คือ การจัดทำโครงการ "ผูกปิ่นโตข้าว" โครงการ "คนกินข้าว ช่วย คนปลูกข้าว" โครงการข้าวอินทรีย์ส่งตรงจากชาวนาถึงผู้บริโภค" ที่ใช้สื่อเฟซบุ๊กและไลน์ เป็นสื่อในการเชื่อมโยงระหว่างชาวนากับผู้บริโภคให้ได้มาพบกันในลักษณะของการ "จับคู่กัน" แล้วให้ทั้งสองฝ่ายตกลงซื้อขายข้าวอินทรีย์กัน มีการใช้สื่อ LINE ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะคู่บุคคล หรือเฉพาะบุคคลในกลุ่ม มีการแลกไลน์ไอดี (LINE Id) กัน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง เสนอขายสินค้า ตกลงราคา ต่อรองราคา นัดหมายการจัดส่ง บอกเล่าความก้าวหน้า แจ้งปัญหา แจ้งเวลาการจัดส่ง คอนเฟิร์มการส่งสินค้า การได้รับสินค้า รวมทั้งใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ในการสื่อสารกับผู้คนในวงกว้างที่เป็นสาธารณะนำเสนอข้อมูลข่าวสาร แจ้งกำหนดการผลิตข้าวอินทรีย์ แจ้งการมีอยู่ของข้าวอินทรีย์ที่พร้อมขาย แจ้งข้าวอินทรีย์ที่กำลังผลิตและเปิดรับจองผลผลิตที่จะออกมาในฤดูกาลใหม่

ความสัมพันธ์ที่ดีและความรู้สึกที่ดีที่มีต่อ..ตัวผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต (เกษตรกร) พนักงานฝ่ายผลิต (เกษตรกรผู้ใช้แรงงาน) ผู้จัดหาสินค้า ช่องทางจัดจำหน่าย ผู้ขายสินค้า ตัวกลางในการเชื่อมโยง และผู้บริโภค..คือ หัวใจของ "การตลาดความสัมพันธ์" (Relationship Marketing)


นี่คือ การตลาดยุคใหม่ที่ต้องอาศัย "ความสัมพันธ์" ที่ดี เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีให้แก่ผู้บริโภค ที่นำมาใช้ได้กับ "การตลาดข้าวอินทรีย์" รวมทั้งการตลาดสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วย

ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
21 กรกฎาคม 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค