ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2013

ซือ สื่อ ซื่อ ซื้อ สือ ..!!

ซือ สื่อ ซื่อ ซื้อ สือ ..!! ซือ..ซือกระทึม ซึมกระทือ สื่อ..ส่งสียงไร้แก่นสาร ซื่อ..บื้อ หลงกล คนพาล ซื้อ..ได้ด้วยเงิน แสนสุขสำราญ สือ..ไขสือ รื้อกฎ นิรโทษหมู่มาร ซือ สื่อ ซื่อ ซื้อ สือ มองสื่อพิสดาร.. สื่อคือคน คนคือสื่อ กิเลสคืออุปทาน หลงตน หลงตัว มัวเล่นข่าวสาร ไฟโหมลุกไหม้ เผาใจร้าวราน ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน 31 ตุลาคม 2556

ตลาดข้าวอินทรีย์..อยู่ที่ไหน?

มีคนจำนวนไม่น้อยในประเทศไทย ที่ปลูกข้าวอินทรีย์  ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น ด้วยศรัทธาแรงกล้า.. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยากำจัดศัตรูพืช.. เหนื่อย ลำบาก อดทน ดูแล ประคบประหงม.. กว่าจะได้ "ข้าวอินทรีย์" ที่สะอาด ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพคน ดีต่อสิ่งแวดล้อม.. คำถามคือ ปลูกให้ใครกิน ใครซื้อ ตลาดยู่ที่ไหน??  ตลาดข้าวอินทรีย์..!! ข้าวอินทรีย์ผลิตมาขายใคร? ความต้องการบริโภคอยู่ที่ไหน? ใครคือผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ? ผู้บริโภคคือใคร? ตลาดอยู่ที่ไหน? ตลาดข้าวอินทรีย์ แบ่งออกเป็น 11 ตลาดดังนี้ 1. ตลาดชุมชน (บริโภคภายในชุมชน) (community market) 2. ตลาดเปิด หรือ ตลาดนัด หรือ กาดนัด (open air market) 3. ตลาดขายตรงสู่ผู้บริโภค (farm to home) 4. ตลาดร้านอาหาร (food shop market) 5. ตลาดองค์กรหรือสถาบัน (institute market) เช่น โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล 6. ตลาดเครือข่าย (network market) เช่น เครือข่ายเพื่อนเกษตรอินทรีย์ 7. ตลาดคนรุ่นใหม่ (New Generation) รักสุขภาพ รักสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม 8. ตลาดชนชั้นกลาง (Middle class) ทั้งชนชั้นกลางเดิม และชนชั้นก

ลักษณะการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน ตอนที่ 3

ลักษณะการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน ตอนที่ 3                (บทความนี้อ้างอิงมาจากงานเขียนเรื่อง " จริยธรรมสื่อสารมวลชน" ในปี พ.ศ.  2547 โดย  ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน  )                 การทำงานของสื่อมวลชน เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การนำข่าวสารมาเผยแพร่และรายงานให้ประชาชนทั่วไปทราบ                 นอกจากนี้สื่อมวลชนยังทำหน้าที่ในการสอดส่องดูแล และ "ตรวจสอบความจริง" ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ตลอดจนการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะ                 การดำเนินงานของสื่อมวลชนในบางครั้งอาจไปกระทบกระเทือน รุกล้ำต่อสิทธิของบุคคลอื่นได้ ทั้งโดยรู้ตัวและโดยไม่รู้ตัว ในบางครั้งแม้สื่อมวลชนจะมีความปรารถนาดีต่อสังคมส่วนรวม แต่ความปรารถนาดีนั้นก็หาได้มีสิทธิพิเศษที่จะสร้างความกระทบกระเทือนต่อบุคคลอื่น                  การกระทำของสื่อมวลชนบางเรื่องมีกฎหมายห้ามไว้อย่างชัดแจ้งว่าจะกระทำมิได้ แต่ในบางเรื่องกฎหมายมิได้เขียนห้ามไว้ แต่สื่อมวลชนยังต้องคำนึงถึงหลักว่าด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของ

ลักษณะการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน ตอนที่ 2

ลักษณะการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน ตอนที่ 2 (บทความนี้อ้างอิงมาจากงานเขียนเรื่อง " จริยธรรมสื่อสารมวลชน" ในปี พ.ศ.  2547 โดย  ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน  )                 การทำงานของสื่อมวลชน เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การนำข่าวสารมาเผยแพร่และรายงานให้ประชาชนทั่วไปทราบ                 นอกจากนี้สื่อมวลชนยังทำหน้าที่ในการสอดส่องดูแล และ "ตรวจสอบความจริง" ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ตลอดจนการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะ                 การดำเนินงานของสื่อมวลชนในบางครั้งอาจไปกระทบกระเทือน รุกล้ำต่อสิทธิของบุคคลอื่นได้ ทั้งโดยรู้ตัวและโดยไม่รู้ตัว ในบางครั้งแม้สื่อมวลชนจะมีความปรารถนาดีต่อสังคมส่วนรวม แต่ความปรารถนาดีนั้นก็หาได้มีสิทธิพิเศษที่จะสร้างความกระทบกระเทือนต่อบุคคลอื่น                  การกระทำของสื่อมวลชนบางเรื่องมีกฎหมายห้ามไว้อย่างชัดแจ้งว่าจะกระทำมิได้ แต่ในบางเรื่องกฎหมายมิได้เขียนห้ามไว้ แต่สื่อมวลชนยังต้องคำนึงถึงหลักว่าด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของสื่อมวลชน ที่สม

ลักษณะการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน ตอนที่ 1

ลักษณะการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน (บทความนี้อ้างอิงมาจากงานเขียนเรื่อง " จริยธรรมสื่อสารมวลชน" ในปี พ.ศ.  2547 โดย  ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน  )                 การทำงานของสื่อมวลชน เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การนำข่าวสารมาเผยแพร่และรายงานให้ประชาชนทั่วไปทราบ                 นอกจากนี้สื่อมวลชนยังทำหน้าที่ในการสอดส่องดูแล และ "ตรวจสอบความจริง" ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ตลอดจนการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะ                 การดำเนินงานของสื่อมวลชนในบางครั้งอาจไปกระทบกระเทือน รุกล้ำต่อสิทธิของบุคคลอื่นได้ ทั้งโดยรู้ตัวและโดยไม่รู้ตัว ในบางครั้งแม้สื่อมวลชนจะมีความปรารถนาดีต่อสังคมส่วนรวม แต่ความปรารถนาดีนั้นก็หาได้มีสิทธิพิเศษที่จะสร้างความกระทบกระเทือนต่อบุคคลอื่น                  การกระทำของสื่อมวลชนบางเรื่องมีกฎหมายห้ามไว้อย่างชัดแจ้งว่าจะกระทำมิได้ แต่ในบางเรื่องกฎหมายมิได้เขียนห้ามไว้ แต่สื่อมวลชนยังต้องคำนึงถึงหลักว่าด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของสื่อมวลชน ที่สมาคมผู้ปร

สาเหตุแห่งการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน

สาเหตุแห่งการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน         การทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ พิจารณาตามสาเหตุได้ดังนี้         1. ปัจจัยภายใน หมายถึง สาเหตุที่มีที่มาจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้วยกันเอง แบ่งออกเป็น               (1) ความบกพร่องย่อหย่อนในการควบคุมกันเอง (Self regulation)  เกิดความบกพร่องย่อหย่อนเรื่องระบบระเบียบในการควบคุมกันเองด้านจริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อมวลชน โดยกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน เช่น สมาคมวิชาชีพสื่อมวลชน การกำกับดูแลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ               (2)  ความบกพร่องย่อหย่อนในการ ควบคุมตนเอง (Self responsibility) ของตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แบ่งออกเป็นสาเหตุย่อยๆ ดังนี้                    ก. ความมีอคติ (Bias) ของ ตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วยอคติ 4 ประการได้แก่  ฉันทะ การมีความรักชอบพอเป็นการส่วนตัว โลภะ การมีความโลภในทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง  โทสะ การมีความโกรธ และ โมหะ การมีความหลง เช่น หลงในอำนาจของสื่อที่ตนเองคิดว่ามี สามารถสั่งการผู้อื่นได้ สามารถทำให้ผู้อื่นยิน

แนวคิดเกี่ยวกับสื่อประชาสังคม (Civic Journalism)

แนวคิดเกี่ยวกับสื่อประชาสังคม สื่อประชาสังคม (Civic Journalism) หรือ สื่อภาค ป ระชาชน (Public Journalism) เกิดจากการที่สื่อวารสารศาสตร์แบบดั้งเดิม (Traditional Journalism) ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากข้อจำกัดบางประการได้ ได้แก่ การอยู่ภายใต้อิทธิพลทั้งจากองค์กรที่เป็นเจ้าของสื่อ แม้แต่รูปแบบที่คิดว่าเป็นกลางที่สุดยังมีข้อจำกัด ทั้งในเรื่องของความจงรักภักดีต่อองค์กร และเงื่อนไขทางธุรกิจ ตลอดจนเสรีภาพในการนำเสนอเนื้อหา ยึดติดกับการนำเสนอแบบเดิมๆ ยึดติดกับบางกลุ่ม โดยเฉพาะภาครัฐเท่านั้น สภาพการณ์ปัจจุบันสื่อถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ [1] สื่อที่ถูกครอบงำโดยรัฐบาล   สื่อถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของภาครัฐ ในการเผยแพร่แนวคิดและแนวปฏิบัติที่รัฐต้องการ ในลักษณะสำเร็จรูป ไปสู่ประชาชน ให้มีทัศนคติไปในทางที่รัฐต้องการได้ อันสะท้อนให้เห็นกระบวนการสื่อสารในลักษณะอำนาจนิยม สื่อที่ถูกครอบงำโดยระบบทุนนิยม นอกจากสนองความต้องการภาครัฐแล้ว ยังสนองความต้องการให้กับคนบางกลุ่มซึ่งมีอิทธิพล เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจด้วย ในขณะที่ เดวิด แมทธิวส์ ให้ความสำคัญกับช่องทางการส