ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ท่าน..

ท่าน..

"เกิดเหตุร้ายอีกในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้..คนร้ายลอบวางระเบิดข้างทาง ทีอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ทหารพรานกองร้อยที่ ทพ.435 บาดเจ็บสาหัส 5 นาย.."

"..คล้อยหลังไม่ถึงชั่วโมง เกิดเหตุระเบิดซ้ำ ห่างจากจุดเดิมหนึ่งร้อยเมตร แรงระเบิดทำให้ทหารชุเก็บกู้ระเบิด EOD ได้รับลาดเจ็บ 3 นาย ผู้สื่อข่าวอีก 5 ท่าน ที่ติดตามไปทำข่าวได้รับบาดเจ็บ และตามที่มีกระแสข่าวว่า ผู้สื่อข่าวทั้ง 5 ท่านเสียชีวิตนั้น จากการตรวจสอบล่าสุดยืนยันว่า ผู้สื่อข่าวทั้ง 5 ท่านไม่ได้เสียชีวิต เพียงแค่ได้รับบาดเจ็บ ขณะนี้ส่งตัวไปทำแผลเรียบร้อยแล้ว อาการปลอดภัย ส่วนทหาร EOD ชุดเก็บกู้ระเบิดทั้ง 3 นาย ที่บาดเจ็บก็อยู่ในขั้นปลอดภัยแล้ว.."

"..เหตุครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จะมีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล 20 แห่งในวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ อาจเป็นการสร้างสถานการณ์ปั่นป่วนในพื้นที่.."

"หญืงเหล็ก พิราบขาว.. รายงานจากอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส"

เสียงผู้สื่อข่าวหญิงรายงานข่าวมาจากแดนใต้ ทางสถานีวิทยุคงามถี่เกินร้อย เมื่อวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2556 เวลาประมาณ 14.35 น. เหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นสร้างความตกใจและเสียใจแก่ญาติพี่น้องของทหารและผู้สื่อข่าวที่ได้รับบาดเจ็บ

ขณะเดียวกันรายงานข่าวชิ้นนี้ก็สร้างความรู้สึกสะดุดใจ ในการใช้ถ้อยคำเรียกขานสรรพนามของบุคคล และเรียกขานหน่วยนับ ของบุคคลที่แตกต่างกัน ระหว่างการกล่าวถึง "ทหาร" และ "ผู้สื่อข่าว"

นี่ไม่ใช่การจับผิด ไม่ใช่การจุกจิก หยุมหยิม ในเรื่องเล็กน้อย

แต่เป็นเรื่องที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมในภาษาพูดของคนไทย
ซึ่งเกิดในแทบทุกสาขาอาชีพ รวมทั้งการใช้ภาษาพูดในชีวิตประจำวันของเรา

ตัวอย่างเช่น เราพูดคุยสอบถามลูกค้าที่มาทานอาหารว่า "กี่ท่านคะ?"
เราพูดคุยกับ คนที่โทรศัพท์มาจองที่นั่งในการประชุมสัมมนาว่า "จองกี่ท่านคะ?"

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา จนเราคุ้นเคย และ เคยชิน จนเราเรียกรวมกันว่า "คุ้นชิน"

มันไม่ใช่เรื่องใหญ่โต มันไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร
มันเป็นเพียงข้อสังเกตว่าด้วย "จิตใต้สำนึก" ของมนุษย์
มันเป็นเพียงข้อคิดสำหรับคนทำงานสื่อสารมวลชน

ว่าเราควรเป็นต้นน้ำที่ดีอย่างไร
ว่าเราควรเป็นต้นแบบที่ดีอย่างไร
ว่าเราควรเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างไร

เท่านั้นเองครับ "ท่าน"

18 ตุลาคม 2556

หมายเหตุ
1. บทความนี้ไม่มีเจตนาล้อเลียน หรือจับผิดการทำงานของสื่อมวลชนที่เสี่ยงภัยอยู่ชายแดนใต้ ตรงกันข้าม ผมเคารพนับถือในความกล้าหาญเสียสละของผู้สื่อข่าวทุกคน และรู้สึกขอบคุณเป็นอย่างสูงต่อผู้สื่อข่าวทุกๆคนด้วยใจจริง

2. การที่ผมหยิบยกเรื่องนี้มาพูดถึงเป็นเพียงกรณีตัวอย่าง เพื่อประการการวิเคราะห์เท่านั้น หากสร้างความรู้สึกกระทบกระเทือนใจ ผมต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และหากบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาอยู่บ้าง ผมก็ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

3. ข้อมูลตามข่าวที่อ้างถึงเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนได้ยินมาเองจากสื่อวิทยุ
เพียงแต่ข้อมูลตัวเลขอาจเคลื่อนบ้าง ต้องขออภัย เพราะไม่ใช่ประเด็นหลักของบทความนี้นะครับท่าน

4. ผมรักและเคารพในความเป็น "ทหาร" "ผู้สื่อข่าว" และ "วิชาชีพสื่อมวลชน"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค