แนวคิดเกี่ยวกับสื่อประชาสังคม
สื่อประชาสังคม
(Civic
Journalism)
หรือ สื่อภาคประชาชน (Public Journalism)
เกิดจากการที่สื่อวารสารศาสตร์แบบดั้งเดิม (Traditional Journalism) ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากข้อจำกัดบางประการได้ ได้แก่
การอยู่ภายใต้อิทธิพลทั้งจากองค์กรที่เป็นเจ้าของสื่อ
แม้แต่รูปแบบที่คิดว่าเป็นกลางที่สุดยังมีข้อจำกัด
ทั้งในเรื่องของความจงรักภักดีต่อองค์กร และเงื่อนไขทางธุรกิจ
ตลอดจนเสรีภาพในการนำเสนอเนื้อหา ยึดติดกับการนำเสนอแบบเดิมๆ ยึดติดกับบางกลุ่ม
โดยเฉพาะภาครัฐเท่านั้น
สภาพการณ์ปัจจุบันสื่อถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่[1]
สื่อที่ถูกครอบงำโดยรัฐบาล
สื่อถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของภาครัฐ
ในการเผยแพร่แนวคิดและแนวปฏิบัติที่รัฐต้องการ ในลักษณะสำเร็จรูป ไปสู่ประชาชน
ให้มีทัศนคติไปในทางที่รัฐต้องการได้
อันสะท้อนให้เห็นกระบวนการสื่อสารในลักษณะอำนาจนิยม
สื่อที่ถูกครอบงำโดยระบบทุนนิยม
นอกจากสนองความต้องการภาครัฐแล้ว ยังสนองความต้องการให้กับคนบางกลุ่มซึ่งมีอิทธิพล
เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจด้วย
ในขณะที่ เดวิด
แมทธิวส์ ให้ความสำคัญกับช่องทางการสื่อสาร หรือเครือข่ายทางการสื่อสาร
ซึงถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างประชาสังคมให้เข้มแข็ง เช่น
การเป็นเวทีการประชุม ตลอดจนช่องทางหรือเครือข่ายการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ
จะเป็นกลไกหลักที่จะนำไปสู่การสร้างสำนึกสาธารณะ การเรียนรู้ร่วมกัน
การกำหนดประเด็นปัญหาสาธารณะ และการแสวงหาทางเลือกสำหรับชุมชน[2]
เจย์ โรเซน (Jay Rosen) นักวิชาการแห่งมหาวิยาลัยนิวยอร์ค และ Buzz Merritt
บรรณาธิการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อภาคประชาชน (Public
Journalism) กล่าวว่า สื่อภาคประชาชนเกิดจากความไม่มั่นใจของสาธารณชนที่มีต่อสื่อทางวารสารศาสตร์
ด้วยการที่สื่อนั้นเองให้ความสำคัญต่อยอดขาย
รวมถึงในบางครั้งที่สื่อนำเสนอข่าวค่อนข้างหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรม
หรือการทำให้ความรู้สึกต่อสาธารณะประโยชน์ลดนอยลง ในส่วนของประเด็นการเมืองพบ่วา
สื่อให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องอื้อฉาวทางการเมือง การนำเสนอประเด็นทางการเมืองแบบขัดแย้ง
ในการเลือกตั้งสื่อหมกมุ่นอยู่ที่ผลการเลือกตั้งในลักษณะของกีฬาเช่นผลการแข่งม้า
หรือการชกมวย ที่มุ่งผลแพ้ชนะ
มากกว่าจะพูดถึงประเด็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
แชฟเฟอร์ เจ
(Shaffer.
J.) ผู้อำนวยการพิวเซ็นเตอร์สำหรับงานข่าวเพื่อประชาสังคม
(Pew
Center for Civic Journalism) กล่าวว่า งานข่าวประชาสังคมจะเกิดขึ้นได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 ประการดังนี้[3]
ประการที่ 1
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในห้องข่าว โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
นำเสนอสิ่งที่เป็นประเด็นสนทนาต่างๆ ในชุมชน เน้นปัญหา สาระ อย่างเที่ยงตรง
เจาะลึกและเปิดกว้างให้สมาชิกในชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นนั้น
ประการที่ 2 การเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์ต่างๆ
ทีใช้ในข่าว โดยใช้คำศัพท์หรือภาษาที่สะท้อนความเป็น “ประชาชน” มากขึ้น
ประการที่ 3 การเปลี่ยนแปลงระบบการให้รางวัลสำหรับข่าวหรือนักข่าว
ซึ่งอาจนำไปสู่การกระตุ้นความสำคัญของข่าวในเชิงประชาสังคมมากขึ้น
ลักษณะสำคัญของสื่อประชาสังคม
สื่อประชาสังคมควรมีลักษณะสำคัญ
5 ประการดังนี้
1.
สื่อควรมีการนำเสนอข่าวแบบวิเคราะห์ถึงรากเหง้าของปัญหา
2.
สื่อควรมีบทบาทในการสร้างจิตสาธารณะแก่ประชาชน
3. สื่อต้องเป็นผู้เริ่มจุดประเด็น
เกาะติด เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม อภิปราย ประเด็นปัญหาที่เกิดในสังคม
4.
สื่อต้องมีบทบาทในการหาข้อยุติปัญหา หรือหาทางออกให้กับสังคม
5.
สื่อต้องเป็นกลางในการประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการแก้ปัญหา
................................................................................................................................................................
รายการอ้างอิง
[1] อนุชาติ
พวงสำลี พลเมืองไทย ณ จุดเปลี่ยนศตวรรษ กรุงเทพฯ
สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาสงคม 2543
[2] ฐิรวุฒิ เสนาคำ แปล จากปัจเจกสู่สาธารณะ
กระบวนการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง กรุงเทพฯ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา อ้างถึงใน
มนทกานต์ ตปนียางกูร “พัฒนาการของสื่อประชาสังคมไทยบนอินเทอร์เน็ต”
วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545
[3] ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโณบล การสื่อสาร : กลไกสำคัญในการก้าวสู่ประชาสังคมในศตวรรษที่
21 ใน วารสารนิเทศศาสตร์ ปีที่ 17 กรกฎาคม-กันยายน 2542
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น