ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบโครงการวิทยานิพนธ์

เคล็ดลับในการสอบโครงการวิทยานิพนธ์

        การสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ และการสอบโครงการวิทยานิพนธ์ (Research proposal) กรรมการจะสอบอะไร ซักอะไร ถามอะไร ลึกแค่ไหน ยากแค่ไหน จะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

        เป็นคำถามที่เกิดขึ้นทุกครั้งในช่วงเทศกาลสอบ พร้อมกับความวิตกกังวลของนักศึกษาแทบทุกคน

        เพื่อไขข้อสงสัย เพื่อคลายความกังวล และเพื่อการเตรียมตัวให้พร้อมต่อการสอบโครงการวิทยานิพนธ์ 
ในฐานะที่ผมเป็นนักวิจัย เคยทำวิจัยในสเกลขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก อีกทั้งเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษาปริญญาโทมาเป็นจำนวนมาก ได้พบจุดแข็งจุดอ่อนของการทำวิจัย ได้พบวิธีการคิดในการทำวิจัย มามาดพอสมควรจึงขอนำความรู้และประสบการณ์มาถ่ายทอดดังต่อไปนี้

          การสอบโครงการวิจัย และการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ เป็นการตรวจสอบและประเมินโครงการวิจัยและโครงการวิทยานิพนธ์ในสาระสำคัญ 3 ด้านหลัก ได้แก่

          1. ความสำคัญของเรื่องที่วิจัย
                1.1 การเลือกหัวข้อวิจัย
                1.2 การกำหนดปัญหาวิจัย
                1.3 ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                1.4 การตั้งชื่อเรื่องวิจัย
                1.5 ความเป็นไปได้ของการวิจัย
                1.6 ประโยชน์และคุณค่าที่จะได้รับจากการทำวิจัย

          2. การสร้างแนวคิดในการวิจัย
               2.1 แนวคิด
               2.2 ทฤษฎีสนับสนุนแนวคิด
               2.3 การพัฒนาแนวคิดให้เป็นตัวแปรที่สามารถวัดได้

          3. ความเชื่อถือได้ของผลการวิจัย
               3.1 การออกแบบวิจัย
                     3.1.1 การกำหนดตัวแปร
                     3.1.2 การวัดตัวแปร
                      3.1.3 การเลือกใช้สถิติ
                      3.1.4 การป้องกันและการควบคุมความคลาดเคลื่อนจากการวัด
                3.2 การเก็บข้อมูลเพื่อหาคำตอบปัญหาวิจัย
                       3.2.1 ประชากร-กลุ่มตัวอย่าง-วิธีการสุ่มตัวอย่าง (กรณีที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ)
                                 แหล่งข้อมูลบุคคลสำคัฐ (key informants) (กรณีที่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ)
                                 แหล่งข้อมูลที่เป็นวัตถุที่ให้ความหมาย (meaning objects) (กรณีที่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ)
                        3.2.2 เครื่องมือวิจัย
                        3.2.3 วิธีการเก็บข้อมูล
                        3.2.4 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                        3.2.5 การป้องกันและการควบคุมความคลาดเคลื่อนจากการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
                  3.3 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                         3.3.1 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
                         3.3.2 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

             รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
             สาขาวิชานิเทศาสตร์ มสธ.
             11 ตุลาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค