ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้ทฤษฎีวิกฤติคือโอกาส..ความโหดเหี้ยมของจิตใจมนุษย์ และความอำมหิตของทุนนิยม

เหตุการณ์อุทกภัย เป็นวิกฤติร้ายแรง

เป็นวิกฤติที่เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปัญหา เป็นความทุกข์ ความเดือดร้อน ความปลอดภัยในชีวิตของมนุษย์

เมื่อมีคนตั้งทฤษฎีขึ้นมาว่า "วิกฤติคือโอกาส"

ผู้คนเชื่อทฤษฎีนี้ และนำทฤษฎีนี้ไปใช้ ตามวัตถุประสงค์ ความมุ่งหมาย ทั้งความมุ่งหมายที่เปิดเผยชัดแจ้งและความุ่งหมายแฝงเร้ย ซึ่งเป็นเจตนาภายในของแต่ละคน ของแต่ละองค์กร

การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทุกภัย จึงมีหลายรูปแบบ

แบบแรก การเสียสละทรัพย์สินเงินทองบริจาคให้ผู้ประสบอุทุกภัยโดยตรง

แบบที่สอง การเสียสละทรัพย์สินเงินทองบริจาคให้ผู้ประสบอุทุกภัยโดยอ้อมผ่านทางคณะบุุคตล องค์กรการกุศล องค์กรรัฐ

แบบที่สาม การสละแรงกายของประชาชนเข้าช่วยเหลือต่อผู้ประสบภัยโดยตรง

แบบที่สี่ การสละแรงกายของประชาชน ให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางอ้อม เช่น ไปช่วยบรรจุสิ่งของใส่ถุงยังชีพ

แบบที่ห้า การให้ความช่วยเหลือโดยองค์กรเจ้าของสินค้าผลิตภัณฑ์ต่าง ให้ความช่วยเหลือบริจาคเงินเป็น

แบบที่หก การให้ความช่วยเหลือโดยองค์กรเจ้าของสินค้าผลิตภัณฑ์ต่าง ให้ความช่วยเหลือโดยนำสินค้าของบริษัทตนเองไปบริจาค

แบบที่เจ็ด การให้ความช่วยเหลือโดยองค์กรเจ้าของสินค้าผลิตภัณฑ์ต่างให้ความช่วยเหลือโดยนำพนักงานไปช่วยด้านแรงกาย เช่น ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ทำความสะอาดหลังน้ำลด

แบบที่แปด การให้ความช่วยเหลือโดยองค์กรเจ้าของสินค้าผลิตภัณฑ์ ให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ เช่น น้ำศิลปินดาราในสังกัดไปปลอบขวัญ สร้างกำลังใจ

แบบที่เก้า การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยหน่วยงานภาครัฐ โดยการนำสิ่งของที่จัดซื้อมาจากเงินงบประมาณแผ่นดินมาแจกจ่ายผู้ประสบอุทกภัย

นั่นเป็นการแบ่งตามลักษะพฤติกรรมและการกระทำที่พบเห็น

หากเรามองอีกมิติหนึ่ง..มองจากมุมด้านเจตนา

เราอาจพบความประหลาดใจว่า การใช้ทฤษฎีวิกฤติคือโอกาส ของผู้คนและองค์กรรัฐ บริษัทห้างร้าน มีลักษณะแตกต่างกันตามประเภทต่อไปนี้

ประเภทที่หนึ่ง การให้ความช่วยเหลือด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีประโยชน์แอบแฝง

ประเภทที่สอง การให้ความช่วยเหลือด้วยความมีเจตนาดี มีความปรารถนาดี แต่มีผลประโยชน์พลอยได้ตามมาด้วย เช่น ได้ชื่อเสียง สร้างภาพลักษณ์ คล้ายกับการทำ CSR

ประเภทที่สาม การให้ความช่วยเหลือด้วยความมีเจตนาดี มีความปรารถนาดี แต่มีผลประโยชน์พลอยได้ค่าหัวคิว ได้ค่าคอมมิสชั่น ได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น

ประเภทที่สี่ การให้ความช่วยเหลือด้วยเจตนามุ่งหาประโยชน์เป็นที่ตั้ง ตนเอง องค์กร บริษัท ได้ผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง คิดไว้ก่อน วางแผนไว้ก่อนว่าตนเอง องค์กร บริษัท จะได้ผลตอบแทนอะไร คุ้มค่าหรือไม่ หากคุ้มค่าก็จะทำ

แม้จะเป็นการจำแยกโดยอาศัยหลักเจตนา ที่มองไม่เห็นใครจะรู้ว่าเขาคิดอย่างไร จึงจะยืนยันได้ว่าเขาคิดอย่างนั้นจริงๆ

หลักภาษิตกฎหมายและหลักศาสนาสอนไว้ตรงกันว่า 

"กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา"

เราจึงสามารถพิจารณาสังเกตพฤติกรรม สังเกตการกระทำของเขาได้ว่าเขาทำโดยมีเจตนาอะไร

ตัวอย่างในการวิเคราะห์

วิเคราะห์จากป้ายแสดงชื่อบุคคลว่ามีขนาดใหญ่เล็กเพียงใด พอเหมาะพอสมกับขนาดและจำนวนคนหรือไม่

วิเคราะห์จากป้ายแสดงชื่อสินค้า ตราสินค้า สโลแกนของสินค้า คำพูดที่พูดถึง พูดถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านหรือพูดถึงสินค้ามากกว่ากัน

วิเคราะห์จากโครงการขนาดเมกกะโปรเจ็กต์เพื่อบริหารจัดการน้ำ..3.5 แสนล้านบาท 

วิเคราะห์กระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและมีส่วนได้ส่วนเสีย..ที่เราเห็นกันอยู่..จากลำพูน สู่ชัยนาท

เหตุการณ์อุทกภัย เป็นวิกฤติ..ที่สร้างความทุกข์ ความเดือดร้อน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

มีคนดี มีองค์กรดี มีบริษัทดี จำนวนมาก..ที่มีการกระทำและเจตนาดี ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

แต่ก็ยังมีผู้คน องค์กร และบริษัท จำนวนไม่น้อย ที่ใช้ "ทฤษฎีวิกฤติคือโอกาส" ไปแสวงหาผลประโยชน์ เงิน ทรัพย์สิน ชื่อเสียงจอมปลอม ภาพลักษณ์หลอกลวง..

บนความทุกข์ยากแสนสาหัส บนคราบน้ำตาของประชาชนผู้สบอุทุกภัย

นับตั้งแต่ มหาอุทกภัย ปี พ.ศ.2554 จนถึง ปี พ.ศ. 2556 ก็ยังมีการกระทำในเชิงชั่วร้าย ทั้งแบบโจ่งแจ้ง ทั้งแบบแฝงเร้น ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ

วิกฤติคือ โอกาสดี สำหรับคนดี

วิกฤติคือ โอกาสดี สำหรับคนชั่ว แต่เกิดผลร้ายกับคนดี

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
21 ตุลาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค