แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับประชาสังคม
ประชาสังคม (Civil Society) เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาศักยภาพของประชาชนที่มีฐานะเป็นผู้อยู่ในปกครองของรัฐและผู้มีอำนาจ
ให้กลายเป็น “พลเมือง” (Citizen) ซึ่งคำว่าพลเมืองนั้นเป็นการสะท้อนให้เห็นแนวคิดเรื่องสิทธิของประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองของรัฐ
โดยเน้นเรื่องสิทธิของปัจเจกชน และสิทธิในการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
นักปรัชญาเมธีตะวันตกคนสำคัญที่พูดถึงสิทธิของพลเมืองคือ
โทมัส ฮอบส์ (Thomas
Hobbes) (ค.ศ. 1588-1679) ฮอบส์เชื่อว่า
มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาต่างก็ได้รับ “สิทธิตามธรรมชาติ” (Natural
Right) ที่เท่าเทียมกัน
ทุกคนต่างมีสิทธิเท่าเทียมกันไม่ว่าหญิงหรือชาย
แต่เนื่องจากหากมนุษย์ทุกคนใช้สิทธิของตนที่อยู่ทั้งหมด
อาจก่อให้สังคมเกิดความวุ่นวาย ไร้ระเบียบ
มนุษย์จึงได้ตกลงกันที่จะมอบอำนาจบางส่วนให้กับบุคคลกลุ่มหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองที่เรียกว่ารัฐ
ทำหน้าที่ในการปกครอง รักษาความสงบเรียบร้อยแทนประชาชน
นักปรัชญาเมธีคนสำคัญอีกท่านหนึ่งคือ จอห์น ล็อก (John Locke)
(ค.ศ. 1632-1704) เห็นว่า
นอกจากประชาชนจะมีสิทธิตามธรรมชาติแล้ว
อำนาจในการปกครองตนเองที่แท้จริงก็เป็นของประชาชนโดยอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุผล
แม้ประชาชนจะยินยอมพร้อมใจมอบอำนาจให้แก่รัฐในการปกครอง
แต่รัฐก็จำต้องได้รับความยินยอมจากประชาชน
ประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองเป็นเจ้าของสิทธิการปกครอง
และสามารถที่จะเพิกถอนความตกลงนั้นเสียได้หากว่ารัฐไม่ปฏิบัติตามพันธะสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน
สัญญาระหว่างพลเมืองที่ทำไว้กับรัฐนั้นคือ "สัญญาประชาคม" (Social Contract)
ประชาสังคม
หมายถึง เครือข่าย กลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบัน และชุมชนที่มีกิจกรรม
หรือมีการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง รัฐ กับ ปัจเจกชน มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
สังคมประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ รัฐ ประชาสังคม และปัจเจกชน
ซึ่งต้องเป็นอิสระต่อกัน
ประชาสังคม
เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เชื่อมอยู่ระหว่างงานส่วนบุคคลในระดับครอบครัวและเพื่อนในด้านหนึ่ง
และอีกด้านหนึ่งที่เป็นโลกของรัฐและสถาบัน “ทางการ” ต่างๆ (ดู ดร.เดวิด แมมธิวส์ ใน
“องค์ประกอบมูลฐานเรื่องประชาสังคมที่เข้มแข็งและชีวิตสาธารณะที่มีคุณภาพ”) [1]
ในทัศนะของ ชัยอนันต์
สมุทรวาณิช [2] ประชาสังคม
หมายถึง ทุกๆ ส่วนของสังคมโดยรวมถึงภาครัฐ
ภาคเอกชน ภาคประชาชน ทุกๆ ฝ่าย เข้ามาเป็น Partnership กัน
สำหรับเอนก เหล่าธรรมทัศน์ [3] มีแนวคิดว่า ประชาสังคม หมายถึง เครือข่าย กลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ
สถาบัน และชุมชนที่มีกิจกรรมหรือมีการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างรัฐ (state) กับปัจเจกชน
ส่วน นิธิ เอียวศรีวงศ์ [4]
ชี้ให้เห็นองค์ประกอบสำคัญของการเป็นประชาสังคมว่า
การที่จะเป็นประชาสังคมได้ต้องสามารถบ่งบอกหรือระบุชัด (Identify) ได้ว่าเราเป็นพวกเดียวกัน สามารถมีความสัมพันธ์โดยไม่ต้องรู้จักกันได้
โดยอาศัยฐานแห่งสิทธิ
องค์ประกอบของประชาสังคม
จากแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านดังกล่าวคำว่า
“ประชาสังคม” ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 8 ส่วนดังนี้คือ (ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน 2554) [5])
1.
กลุ่มบุคคล หมายถึง
บุคคลตั้งแต่สองคนมารวมตัวกันเป็นกลุ่มในลักษณะของ “กลุ่มสังคม”
2.
ที่มาของบุคคล
บุคคลตั้งแต่สองคนที่มารวมตัวกันไม่ใช่ทั้งภาครัฐและไม่ใช่ภาคธุรกิจ
3. ลักษณะของการรวมตัวกัน
มีได้ทั้งการรวมตัวแบบเผชิญหน้ากัน เช่น เวทีการประชุม เวทีชาวบ้าน และการรวมตัวผ่านสื่อหรือช่องทางหรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยใช้ชื่อเรียกในรูปแบบต่างๆ
4. การตั้งชื่อ
มีการตั้งชื่อกลุ่มประชาสังคมรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบัน
ชุมชน องค์กร เครือข่าย
5. ความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลที่เป็นประชาสังคมมีได้หลายรูปแบบทั้งความสัมพันธ์เชิงสิทธิที่มีอยู่ร่วมกัน
ความสัมพันธ์เชิงหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกัน ความสัมพันธ์เชิงผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน
ความสัมพันธ์เชิงจิตสำนึกทางสังคมร่วมกัน ความสัมพันธ์เชิงจุดมุ่งหมาย
6. ประเด็นร่วมกัน
กลุ่มประชาสังคมมีความสนใจในหัวเรื่องและประเด็นเรื่องร่วมกัน หรือในปริมณฑล (area)
เดียวกัน
7.
กิจกรรม มีกิจกรรมหรือความเคลื่อนไหวร่วมกัน
ที่ดำเนินอยู่ระหว่างโลกที่เป็นภาครัฐกับโลกที่เป็นภาคปัจเจกชน
8.
การสื่อสาร มีการสื่อสารระหว่างบุคคลในกลุ่มตนเอง
มีการสื่อสารระหว่างกลุ่มของตนเองกับกลุ่มอื่นๆ
มีการสื่อสารระหว่างกลุ่มกับประชาชนหรือสังคม
โดยอาจมีการสื่อสารระหว่างกลุ่มของตนเองกับรัฐ
และอาจมีการสื่อสารระหว่างกลุ่มของตนเองกับภาคธุรกิจเอกชน
ประเภทของประชาสังคม
ประเภทของประชาสังคม
เบนจามิน
บาร์เบอร์
อธิบายว่า ประชาสังคมมี 3
รูปแบบ ได้แก่ [6]
1.
ประชาสังคมแบบเสรีนิยม ในความหมายแห่งนัยนี้ ประชาสังคมคือ
ภาคเอกชนมองว่ารัฐเป็นผู้มีอำนาจกดขี่และสร้างกฎเกณฑ์มาบังคับ
ตามความคิดเสรีนิยมเห็นว่า ตลาดคือเสรีภาพ ผู้ที่ยึดมั่นในแนวคิดนี้
จะยืนยันให้เลือกระหว่างรัฐกับตลาด กล่าวอีกอย่างว่า ประชาสังคมแบบนี้ หมายถึง
ภาคตลาดเอกชน ภาคของปัจเจกชนที่มีการสมาคมโดยสมัครใจในกลุ่มทางเศรษฐกิจและสังคม
ซึ่งมีลักษณะการทำสัญญากันรวมทั้งครอบครัว ตัวอย่างเช่น หอการค้าไทย
สมาคมวิชาชีพต่างๆ ก็เป็นประชาสังคมด้วยเช่นกัน
2. ประชาสังคมแบบชุมชน
เป็นประชาสังคมที่มีพื้นฐานอยู่ที่ความต้องการสร้างความเป็นปึกแผ่นและความเข้มแข็งของชุมชน
การรวมตัวกันนั้นไม่ใช่โดยใจสมัคร แต่เกิดจากความจำเป็น
หรือการผูกพันกันที่ทำให้แยกไม่ออก
ไม่เชื่อว่าภาคเอกชนเป็นเพียงความเป็ปึกแผ่นของผ็บริโภ
หรือผู้ผลิตเห็นว่าประชาสังคมเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่ใหญ่และปฏิเสธไม่ได้ที่จะผูกพันผู้คนเข้าด้วยกัน
เริ่มต้นเป็นครอบครัวและสมาคมเครือญาตื เช่น ชนเผ่า อมาเป็นสโมสรพื้นบ้านชุมชน
ไปจนถึงลำดับชั้นทางสังคมที่ขยายออกไป
กระบวนการประชาสังคมแบบนี้ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเสมอไป
แต่มักมีความสัมพันธ์แบบลำดับชั้น มีข้อห้าม และกระทั่งเป็นแบบรวบอำนาจ
ประชาสังคมในความหมายนี้ได้แก่ เครือญาติ ศาสนา
3.
ประชาสังคมแบบประชาธิปไตยเข้มแข็ง
ประชาสังคมเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจเอกชน หรือเป็น ภาคที่สาม
ได้แก่ ชุมชนแบบประชา (Civil
Community) มสมาชิกแบบเปิดและเสมอภาค ทั้งยังเปิดโอกาสให้มีงานอาสาสมัครด้วย
ประชาสังคมแบบนี้กำลังจะถูกฟื้นฟูขึ้นหม่
ประชาสังคมแบบประชาธิปไตยเข้มแข็งนี้จะแสดงถึงความแข็งแรงของสังคม
และจะช่วยแก้ลักษณะการเป็ฯลำดับชั้น และการรวบอำนาจในประชาสังคมแบบชุมชนด้วย
สำนักคิดเกี่ยวกับประชาสังคม
ผาสุก
พงษ์ไพจิตร แบ่งแนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคมออกเป็น 2 สำนัก คือ[7]
แนวคิดประชาสังคมสำนักที่หนึ่ง เห็นว่า
สังคมไทยต้องก้าวเข้าสู่ความทันสมัยต่อไปไม่หยุดยั้ง เป็นกลุ่มผู้นิยมความทันสมัย
หรือ Modernist
กลุ่มนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิและกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ
ที่สำคัญคือ เชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นอุตสาหกรรม
เชื่อว่าเพื่อให้ระบอบบรัฐสภาประชาธิปไตยบรรลุผล
เศษฐกิจและสังคมไทยจะต้องเปลี่ยนไปตามแนวทางเดียวกับสคมอุตสาหกรรมตะวันตก
มองว่าสังคมชนบทอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์
อำนาจและอิทธิพลได้รับการเกือหนุนจากชนบทก่อให้เกิดเศรษฐฏิจนอกกฎหมาย
เกิดธุรกิจการเมืองรูปแบบต่างๆสำนักนี้จึงเสนอทางอกใหม่ของสังคมไทยว่า
ต้องทำให้ชนบททันสมัยขึ้น ผ่านการศึกษาและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังที่ เอนก
เหล่าธรรมทัศน์ อธิบายว่า[8]
"..ชุมชนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมือเราทำลายความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ก่อน
เพื่อปลดปล่อยชาว
บ้านผู้น้อย ให้ออกจากการรวมกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมไม่เป็นอิสระจากผู้อุปถัมภ์
เสียก่อน จากนั้น
พวกเขาจะกลายเป็นปัจเจกชนเยี่ยงชาวเมืองและชนชั้นสมยใหม่อื่นๆ
จากความเป็น
“ปัจเจกชน” นี้จึงเข้าสู่การเป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม อย่างมีสิทธิมีเสียง
และด้วยใจสมัครเอง จากกลุ่ม ชมรม สมาคมเหล่านี้ จึงก้าวสู่การเป็น “ประชา
สังคม” ซึ่งในมุมมองเสรีนิยมเป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ หากจะมีประชาธิปไตย เพราะ
มีแต่
“ประชาสังคม” เช่นนี้ จึงจะชี้นำกำกับรัฐ แลควบคุมถอดถอนผู้ปกครองได้จริง
แนวคิดประชาสังคมสำนักที่สอง
มิได้ให้ความสนใจกับประบวนการเปลี่ยนแปลงบทบาทรัฐโดยวิถีทางการเมือง
หรือโดยการเปลี่ยนกรอบกฏเกณฑ์ทางการเมืองเท่าใดนัก
นอกจากนั้นยังไม่ค่อยมีความหวังกับกระบวนการดังกล่าว
แต่กลับเน้นไปที่กระบวนการต่อสู้ภายในสังคมประชาเพื่อปกป้องและขยายขอบเขตของสิทธิระดับท้องถิ่น เพื่อขยายพื้นที่ทางการเมือง
ซึ่งกลุ่มต่างๆ ในระดับท้องถิ่นจะยืนอยู่ได้
และเพื่อเป็นวิธีการสลายวัฒนธรรมการครอบงำโดยข้าราชการและผู้มีอิทธิพล
กลุ่มนี้มองว่า การที่จะออกจากระบบอุปถัมภ์ได้นั้นสามารถกระทำได้โดยการต่อสู้จากเบื้องล่าง
คือ การขยายพื้นที่ทางการเมืองและเพิ่มอำนาจให้กับประชาชน รัฐจะลดอำนาจลงได้ด้วยการเพิ่มอำนาจให้กับประชาชน
และโดยแรงกดดันจากเบื้องล่างเท่านั้น
รายการอ้างอิง
[1]
David Mathews. Reinventing Politics: A Book
for Citizens, Community and Institutions
[2]
เพิ่งอ้าง
[3]
ดูรายละเอียดใน ชูชัย ศุภวงศ์ และยุวดี "คาดการณ์ไกล บก. ประชาสังคม
ทรรศนะนักคิดในสังคมไทย"
[4]
เพิ่งอ้าง
[5]
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน “กระบวนการประชาสังคมในสื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่”
ในบทความหัวข้อการสื่อสารเชิงประเด็น ค้นคืนจากเว็บไซต์ www.thaisustainablelife.com
[6] อนุช อาภาภิรม ศตวรรษที่ 21 ความรู้กับความไม่รู้: พื้นที่สำหรับเรา
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 21-27 ตุลาคม พ.ศ. 1548 ปีที่
25 ฉบับที่ 1314
[7]
ผาสุก พงษจิตร “บ้านล้อมรัฐ ใน
วิถีสังคมไท: สรรนิพนธ์ทางวิชาการเนื่อในวาระหนึ่งศตวรรษ
ปรีดี พนมยงค์ ชุดที่ 4 กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2544
อ้างใน มนทกานต์ ตปนียางกูร
พัฒนาการของสื่อปราสังคมไทยบนอินเทอร์เน็ต วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545
[8]
เอนก เหล่าธรรมทัศน์ "สองนัคราประชาธิปไตย แนวทาปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ เพื่อประชาธิปไตย" กรุงเทพฯ
มติชน 2538
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น