ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เส้นทางสู่การประสบความสำเร็จในชีวิตในยุคสมัยศตวรรษที่ 21

เส้นทางสู่การประสบความสำเร็จในชีวิตในยุคสมัยศตวรรษที่ 21

ถ้าคุณต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต คุณต้องทำ 5 สิ่งต่อไปนี้ คือ

1. ขจัดความกลัวทุกชนิดที่มีอยู่ภายในจิตใต้สำนึกของคุณ
ความกลัวหลักๆ ที่คุณต้องกำจัดคือ
(1) กลัวความผิดพลาด
(2) กลัวความล้มเหลว
(3) กลัวอายคนอื่น
(4) กลัวไม่มีเงิน
(5) กลัวความไม่มั่นคงในชีวิต

2. ใส่ความกล้าลงไปในชีวิต
(1) กล้าออกไปเผชิญโลกใหม่ๆ
(2) กล้าคิดในสิ่งใหม่ๆ
(3) กล้าทำในสิ่งใหม่ๆ
(4) กล้ายอมรับผลที่จะเกิดขึ้น
(5) กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิต

3. ออกมาอยู่นอกกรอบ

กรอบ คือ สิ่งที่พันธนาการชีวิตคุณไว้ พันธนาการความคิด พันธนาการจิตใจ พันธนาการจิตใต้สำนึก บดบังวิสัยทัศน์ บดบังเส้นทางสู่ความสำเร็จของคุณ

การ "คิดนอกกรอบ" เท่านั้นยังไม่พอ แต่คุณต้องพาตัวเอง "ออกมาอยู่นอกกรอบ" จงออกมาอยู่นอกกรอบตั้งแต่บัดนี้ แล้วคุณจะพบ "หนทาง" สู่ความสำเร็จ

กรอบที่พันธนาการชีวิตคุณไว้ ได้แก่
(1) กฎเกณฑ์ที่ล้าสมัย
(2) กฏเกณฑ์ที่ตอกย้ำจิตให้สำนึกของคุณอยู่เสมอ ว่าห้ามทำสิ่งต่างๆ นอกวิธีการเดิมๆ ที่มีอยู่
(3) กฏเกณฑ์ที่ห้ามไม่ให้คุณทำ ทั้งๆ ที่มันไม่ได้ผิดกฎหมาย ไม่ได้ผิดศีลธรรม และทั้งๆ ที่มันเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จ ถ้าคุณได้ทำ
(4) กฏเกณฑ์ที่ไม่ยอมผ่อนปรนให้กับชีวิตคุณ ทั้งๆ ที่ชีวิตคุณจำเป็นต้องได้รับการผ่อนปรน
(5) กฏเกณฑ์ที่มนุษย์คนอื่นสร้างขึ้นเพื่อวางกับดัก เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้คุณเจริญก้าวหน้า เพื่อมาเป็นคู่แข่งกับเขา

4. เรียนรู้อย่างจริงจังใน 5 วิชาชีวิตต่อไปนี้
(1) วิชาการเงิน การหาเงิน การรักษาเงิน การทำให้เงินงอกเงยเพิ่มเติมขึ้นอยู่ตลอดเวลาด้วยอัตราสูงที่น่าพึงพอใจ ไหวพริบทางการเงิน
(2) วิชาชีวิตคน เรียนรู้ปัญหาของคน ความต้องการของคน สิ่งที่สร้างความพึงพอใจให่แก่คน สิ่งที่ทำให้คนอื่นพึงพอใจเรา ทำงานร่วมกับเราได้ดี สนับสนุน ส่งเสริมชีวิตเรา ผลักดันเราไปสู่ความสำเร็จ
(3) วิชาการสื่อสาร การสรา้งแบรนด์ การสื่อสารเพื่อสร้างแบรนด์ตัวเอง การสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักรู้ การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ การสื่อสารเพื่อให้เกิดผลสำเร็จทางการตลาด การสือสารสารเพื่อขับเคลื่อนทีมงาน การสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติ
(4) วิชาการบริหาร การออกแบบระบบ การควบคุมระบบ การพัฒนาระบบ
(5) วิชาหลักศาสนา หลักศาวนาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด มีประโยชน์ที่สุด ต่อชีวิต ต่อการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

5. ความฝันและเป้าหมาย ความมุ่งมั่น แรงบันดาลใจ ความแข็งแกร่งทางจิตใจ ความสามารถในการปรับตัว

(1) คุณต้องมีความฝัน ความฝัน คือเป้าหมายของชีวิตที่คุณต้องการได้รับ คือความสำเร็จและความสุขที่คุณต้องการได้รับเื่อไปถึงที่นั่น
(2) คุณต้องมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ที่จะประสบความสำเร็จ คุณต้องมีความกระหายในความสำเร็จอย่างเต็มเปี่ยม คุณจะไปให้ถึงจุดแห่งชัยชนะ คุณจะต้องบรรลุเป้าหมาย คุณจะประสบคามสำเร็จ
(3) คุณต้องมีแรงบันดาลใจ แรงบันดาลใจ คือ พลังงานชนิดหนึ่งที่จะขับเคลื่อนชีวิต ความคิด การกระทำของคุณ และรักษาระดับของความคิดและการกระทำของคุณให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
(4) คุณต้องมีความแข็งแกร่งทางจิตใจ มีความทรหดอดทนอย่างที่สุด ไม่ระย่อต่อปัญหาอุปสรรคทั้งปวง ไม่ยอมถอย ไม่ยอมแพ้ ต่อความล้มเหลว หรือการยังไม่ประสบความสำเร็จ จนกว่าคุณจะพบความสำเร็จ
(5) คุณต้องมีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และจิตใจผู้คน ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในยุคปัจจุบัน

ถ้าคุณทำได้ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมานี้ คุณจะประสบความสำเร็จในชีวิตและมีความสุขอย่างแน่นอน

รศ.ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
31 มกราคม 2559

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค