ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จงเชื่อตัวเองให้มากที่สุด

ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับผู้คนในสังคม 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. มนุษย์เงินเดือน
2. เกษตรกร
3. ผู้ใช้แรงงาน

ผู้คนสามกลุ่มนี้ เต็มไปด้วย ความทุกข์ใจ ไร้ความหวัง หมดกำลังใจ แก้ไขปัญหาชีวิตไม่ตก ฝนแล้ง ทำการเกษตรไม่ได้ ค้าขายไม่ดี เดือดร้อนเรื่องการเงิน เงินเดือนไม่พอใช้ รายจ่ายท่วมหัว เป็นหนี้เป็นสิน 

เมื่อหมดหนทางหาทางออกด้วยตนเอง จึงต้องการความช่วยเหลือ

ในเวลาเดียวกันก็มีบุคคลจำนวนหนึ่ง อาจเรียกว่า "ผู้หวังดี" มองเห็นปรากฏการณ์นี้ และมองเห็นโอกาส จึงพยายามหยิบยื่นสิ่งที่เรียกว่า "ความช่วยเหลือ" เพื่อให้คนพ้นทุกข์

ความช่วยเหลือมาในรูปแบบหลากหลาย แต่ที่ปรากฏมากที่สุดเห็นจะได้แก่ "การสร้างความเชื่อ" ทั้งการสอน แนะนำ ปลูกฝัง อบรม ให้ผู้คนที่มีปัญหา ผู้คนที่มีความทุกข์ มีความเชื่อรูปแบบใดแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้

1. ตอกย้ำความเชื่อเดิม
2. เปลี่ยนความเชื่อใหม่
3. ครอบงำด้วยความเชื่อใหม่ ตามที่ผู้สอนต้องการชักนำให้ไปในทิศทางนั้น

ความเชื่อที่ผู้รู้พยายามสร้างให้เกิดขึ้นแก่ผู้คน แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่

1. ความเชื่อในโชคลาภ
2. ความเชื่อในตัวเลข
3. ความเชื่อในตัวบุคคลที่เป็นผู้นำทางความคิด ผู้นำจิตวิญญาณและผู้นำศาสนา
4. ความเชื่อในหลักการของศาสนา
5. ความเชื่อในความรู้ทางวิทยาศาสตร์
6. ความเชื่อในความสุขจากการบริโภค
7. ความเชื่อในภาพลักษณ์
8. ความเชื่อในเทคโนโลยี
9. ความเชื่อในความสุขจากเงิน
10. ความเชื่อในศักยภาพของตนเอง

เราลองไตร่ตรองดูว่า ความเชื่อแบบไหนที่พาเราไปให้พ้นทุกข์ได้

ผู้มีความทุกข์จำนวนหนึ่งพ้นทุกข์ แต่ยังคงมีผู้คนมากมายกลับทุกข์หนักยิ่งกว่าเดิม ชีวิตตกต่ำลง มีแต่ทางเสีย ส่วนทางได้ที่ถูกทำให้เชื่อว่าจะได้ กลับไม่เคยพบพาน

ประเด็นมันอยู่ที่ "ความช่วยเหลือ" จากมือของ "ผู้หวังดี" ที่หยิบยื่นมานั้น มันตั้งอยู่บนพื้นฐานอะไร มีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร ซึ่งเราจำแนกความช่วยเหลือได้ 3 ประเภท คือ

1. ความหวังดีที่แท้จริง จริงใจ เต็มไปด้วยมิตรไมตรี
2. ความหวังดีแบบต่างตอบแทน
3. ความหวังดีแบบผลกำไร

เราจึงได้เห็นรูปแบบความช่วยเหลือที่หลากหลาย เช่น เงินด่วน เงินทันใจ เงินติดล้อ เงินกู้ตามเสาไฟ แม้กระทั่งความช่วยเหลือที่ดูหรูหรา เช่น ช็อปช่วยชาติ ลดกระหน่ำช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ช่วยผ่อนเงินดาวน์ให้ ผ่อน 0% 10 เดือน

แม้แต่ชวนกันมา "สัมมนา" นับร้อยชื่อ เพื่อให้ค้นพบ "ทางออกของปัญหา" แต่หลายรายกลับเจอปัญหาใหม่ คือ ต้องหาเงินมาจ่ายหนี้ที่กู้เขามาเข้าสัมมนา

อันที่จริงการสัมมนาหลายเรื่องมีประโยชน์จริง ช่วยคนได้มาก แต่หลายสัมมนากลับสร้างปัญหาให้คนเพิ่ม

ความยากอยู่ที่ผู้คนจะรู้ได้อย่างไรว่า บรรดาความช่วยเหลือที่มีผู้แข่งกันหยิบยื่นมาให้ "อันไหนดีจริง อันไหนดีปลอม"

คนจนคนยาก ไม่มีเงินมากพอที่จะ "ลองผิด ลองถูก" ไม่มีเวลามากพอที่จะ "เดินหลงทาง" เพราะ ชีวิตทุกวันมันมีแต่ความเจ็บปวด ทุกข์ทน

คำตอบของเรื่องนี้อยู่ที่ไหน ?
รัฐบาล? หน่วยราชการ? สถาบันการศึกษา?
วัด?  โบสถ์? พระ? ครู? อาจารย์? วิทยากรในการสัมมนา? ตำรวจ? ทหาร? นักการเมือง? นักลงทุน?

คำตอบน่าจะอยู่ที่ "ตัวเอง"
จงเลือกที่จะ "เชื่อตัวเอง"
มากกว่า "เชื่อความช่วยเหลือที่มีผู้หยิบยื่น"

จงเชื่อตัวเองให้มากเข้าไว้

จงเชื่อตัวเอง นับถือตัวเอง เชื่อในคุณค่าของตัวเองให้มากที่สุด มากจนลึกสุดหัวใจ
ฝังเข้าไปในห้วงความคิด ตราตรึงไว้ในจิตใต้สำนึกของคุณ

หนทางที่คุณจะเกิดความเชื่อเช่นนั้นได้ มีเพียงหนทางเดียวคือ "การเรียนรู้" ด้วยการ "เรียน" เพื่อที่จะสร้าง "ความรู้" เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตของคุณ

จงเรียนรู้เพื่อ
ค้นพบตัวเอง
ค้นหาความสามารถของตนเองที่มี
ค้นหาจิตใจของตนเอง ฝึกฝนจิตใจตนเอง

จงใช้สติให้มาก
จงใช้ปัญญาให้มาก
จงใช้จิตใจด้านสะอาดให้มาก
จงใช้ความคิดด้านสว่างให้มาก
จงใช้ความอดทนให้มาก
จงใช้ความขยันให้มาก
จงใช้ความกระตือรือร้นให้มาก
จงใช้ความเข้มแข็งให้มาก
จงใช้ความพยายามให้มาก

จงทำความดีให้มาก
จงทำประโยชน์ให้ผู้อื่นให้มาก
จงช่วยเหลือผู้อื่นให้มาก

การเรียนรู้ และ การลงมือทำ ด้วยตัวคุณเองจะช่วยให้ชีวิตของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอนที่สุด

15 มิ.ย. 59

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค