หน้าที่ของการสื่อสารทางการเมือง (Political Communication Functions) นอกเหนือจากการทำหน้าที่ของการสื่อสารโดยทั่วไปแล้ว การสื่อสารทางการเมืองยังมีหน้าที่เฉพาะเจาะจง 10 ประการ ดังนี้
..
..
1. เพื่อยกย่องสรรเสริญและเชียร์ (Acclaiming) บุคคล องค์กร นโยบาย แนวคิด มาตรการ ผลงาน
2. เพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม (Attacking) หยิบยกประเด็นมาโจมตีฝ่ายตรงข้าม เลือกจุดอ่อนมาโจมตี เลือกจุดที่ประชาชนเห็นว่าสำคัญมาโจมตี ใช้ปฏิบัติการ IO: Information Operations
3. เพื่อป้องกันตัว (Defending) ป้องกันตัวจากฝ่ายพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม กลุ่มตรงข้าม องค์กรฝ่ายตรงข้าม ผู้ไม่หวังดี หรือบางทีผู้หวังดีแต่เข้าใจผิด โดยใช้วิธีการต่อไปนี้
3.1 การป้องกันโดยการโต้กลับ (counterattack)
3.2 การป้องกันโดยการเบี่ยงประเด็น (avoidance) โดยการหันเหความสนใจออกไปเสียจากประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่กำลังถูกโจมตี
3.3 การป้องกันโดยการชี้แจงให้เข้าใจ (explain) ประเด็นที่ประชาชนสับสน เข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น การนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐ การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำเพื่อทำการเกษตร การขึ้นภาษี Vat เป็น 9% การแจกบัตรคนจน
3.2 การป้องกันโดยการเบี่ยงประเด็น (avoidance) โดยการหันเหความสนใจออกไปเสียจากประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่กำลังถูกโจมตี
3.3 การป้องกันโดยการชี้แจงให้เข้าใจ (explain) ประเด็นที่ประชาชนสับสน เข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น การนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐ การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำเพื่อทำการเกษตร การขึ้นภาษี Vat เป็น 9% การแจกบัตรคนจน
4. เพื่อโยนหินถามทาง (Test the water) เพื่อทดสอบว่าผู้คนคิดอย่างไร หากจะมีการทำเรื่องนั้นขึ้นมาจริง ๆ
5. เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ชวนให้ชอบ ชวนให้เชียร์ ชวนให้สนับสนุน โดยมีทิศทางที่ต้องการให้เป็นไปแบบนั้นอย่างชัดเจน โดยใช้วิธีการทุกรูปแบบเพื่อให้บังเกิดผล
6. เพื่อให้ร่วมมือและทำตาม (Cooperation) โดยการสร้างความเข้าใจ (understanding) ความพึงพอใจ (satisfaction) การยอมรับ (accept) ในแนวคิด นโยบาย แนวทาง มาตรการ อย่างใดอย่างหนึ่งร่วมมือในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ลงทะเบียนคนจน เลิกปลูกข้าวหรือลดพื้นที่ปลูกข้าว หันไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น ข้าวโพด
7. เพื่อให้การสนับสนุน (Support) เช่น บริจาคเงินเข้าพรรคการเมือง ช่วยหาเสีียง
8. เพื่อสร้างความนิยม (Popularity) เพื่อให้ประชาชนเกิดความนิยม ศรัทธา ในบุคคล พรรคการเมือง องค์กรทางการเมือง รัฐบาล
9. เพื่อให้ใช้สิทธิเลือกฝ่ายตนเอง (Vote) เพื่อให้ตัดสินใจลงคะแนน เลือกฝ่ายตนเอง
10. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ (Image building) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านต่าง ๆ เช่น ความน่าเชื่อถือ ความทันสมัย ความไวต่อสถานการณ์ ความชาญฉลาดในการปฏิบัติ
..
ผมกำลังเขียนตำรา "ทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง" ว่าด้วย ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร ผลของการสื่อสาร และกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง สำหรับหลักสูตรปริญญาโทนิเทศศาสตร์ สาขาการสื่อสารทางการเมือง
..
ท่านที่สนใจติดตามอ่านได้ในอนาคตอันใกล้ ในเอกสารการสอนชุดวิชา ทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
..
ถ้าสนใจมากกว่านั้น สมัครเข้ามาเรียนปริญญาโทสื่อสารทางการเมือง ได้ทันที ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ
..
ผมกำลังเขียนตำรา "ทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง" ว่าด้วย ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร ผลของการสื่อสาร และกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง สำหรับหลักสูตรปริญญาโทนิเทศศาสตร์ สาขาการสื่อสารทางการเมือง
..
ท่านที่สนใจติดตามอ่านได้ในอนาคตอันใกล้ ในเอกสารการสอนชุดวิชา ทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
..
ถ้าสนใจมากกว่านั้น สมัครเข้ามาเรียนปริญญาโทสื่อสารทางการเมือง ได้ทันที ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ
9 ตุลาคม 2560
20 เมษายน 2560
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น