ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คนไทยหรือเปล่า? กับ Media Power

ผมพยายามไปสืบค้นดูว่า "อัตลักษณ์ของคนไทย" คือ สิ่งที่แสดงความเป็นตัวตนของคนไทย มันมีอะไรบ้าง ได้ข้อมูลสรุปมาว่า คนไทยนั้นมีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตร มีความโอบอ้อมอารี มีความสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีรอยยิ้มเสมอ รักสนุก รักความสะดวกสบาย
..
อีกด้านหนึ่ง คนไทยมักเก็บความรู้สึก ไม่ค่อยแสดงออก ไม่ค่อยเคารพกฏเกณฑ์ ไม่รักษาคำพูด ไม่รักษาเวลา ชอบทำอะไรตามใจ
..
แต่ก็ค้นไม่เจอว่าคนไทย "ความมีน้ำใจ" เป็นอัตลักษณ์พิเศษของคนไทย ในขณะที่คนชาติอื่น ๆ เช่น คนญี่ปุ่นก็มีความมีน้ำใจเช่นกัน
..
จึงเกิดความสงสัยว่า ทำไมคนไทยจึงชอบอ้างว่า คนไทยเป็นคนที่มีน้ำใจอยู่เสมอ จนถึงกับนำมาใช้อ้างอิงว่า "ถ้าเป็นคนไทยต้องมีน้ำใจ"
..
เมื่อคนไทยเผชิญหน้ากับบุคคลอื่น และเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นฝ่ายผิดในฐานที่ไม่ยอมเอื้อเฟื้อให้ตน จะพูดทวงถามถึงอัตลักษณ์ไทยว่า
.. "ไม่มีน้ำใจเลย..เป็นคนไทยหรือเปล่า?"
"เป็นคนไทยหรือเปล่า..ไม่มีน้ำใจเลย?"
..
แม้กระทั่งตามรูปการณ์แล้วตนเองน่าจะเป็นฝ่ายผิด เช่น กระทำผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง แทนที่จะยอมรับความผิดของตนเอง แต่กลับไปถามหา "น้ำใจ" จากอีกฝ่ายหนึ่ง และสรุปเอาเองว่า "ถ้าคนไหนไม่มีน้ำใจ ก็ไม่น่าจะเป็นคนไทย"
..
ดังเช่น กรณีความขัดแย้งระหว่างผู้ขับรถแท็กซี่กับผู้ขับรถวีออส ภาพจากกล้องติดรถยนต์เห็นเหตุการณ์ ที่เป็นข่าวแพร่หลายในโซเชียลมีเดียวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 รถยนต์วีออสขับปาดเข้ามาตรงคอสะพาน ตรงเส้นทึบ ซึ่งตามกฎหมายแล้วห้ามทำ รถแท็กซี่ที่แล่นมาทางตรง ไม่หักหลบให้ บีบแตรเตือน (หรืออาจหมายถึงการต่อว่าหรือด่าทอด้วยเสียงแตร) เกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น รถแท็กซี่ขับเลยไป รถวีออสเร่งเครื่องแซงมาจอดแล้ว ชายผู้ขับรถวีออสลงจากรถมาต่อว่าคนขับรถแท็กซี่ว่า "เป็นคนไทยหรือเปล่า ไม่มีน้ำใจเลย"
..
ประเด็นอยู่ตรงที่คำพูดถามหา "ความมีน้ำใจ" ที่ว่า "เป็นคนไทยหรือเปล่า ไม่มีน้ำใจเลย"
..
บทความนี้ไม่มีเจตนาที่จะตัดสินว่าใครผิด ใครถูก แต่ต้องการวิเคราะห์ว่า ทำไมคนไทยทั่วไปจึงมีความคิด ความเชื่อ มีทัศนคติว่า "ถ้าเป็นคนไทยต้องมีน้ำใจ" จนถึงกับมีคำพูดพร้อมใช้ (ready to speak) ว่า

"ไม่มีน้ำใจเลย เป็นคนไทยหรือเปล่า?"
..
เมื่อตรวจสอบทางแนวคิดทฤษฎีว่ามันไม่มีเรื่อง "ความมีน้ำใจ" ในอัตลักษณ์คนไทย แล้วคำนี้มันมาจากไหน?
..
เลยลองไปค้นข้อมูลในสื่อที่ผ่านมา พบว่า เคยมีบทเพลงชื่อ "คนไทยหรือเปล่า" ขับร้องโดย แอ๊ด คาราบาว ที่ใช้โฆษณาเบียร์ช้าง ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

"คนไหน คนไทย จะรู้ ได้ไง ถ้ามี น้ำใจ ละคนไทย แน่นอน
ใจกล้า ใจแกร่ง ใจสู้ กระฉ่อน เพื่อบ้านเกิด เมืองนอน เราสู้ตาย สู้ตาย

คนไหน คนไทย จะรู้ ได้ไงถ้ามี น้ำใจ ละคนไทย แน่นอน ใจกล้า ใจแกร่ง จนชาวโลก ยกย่อง ขอมอบ เหรียญทอง ให้คนไทย หัวใจช้าง

...กินแล้ว ภาค ภูมิ ใจ
...เบียร์ คนไทย ทำเอง"
..
ผมตั้งข้อสันนิษฐานว่า การโฆษณาเบียร์ช้างชุด "คนไทยหรือเปล่า" มีอิทธิพลต่อการรับรู้ การจดจำ และทัศนคติของคนไทย
..
รวมทั้งการโฆษณาเบียร์ช้างชุด "คนไทยหรือเปล่า" มีส่วนประกอบสร้างความจริงขึ้นมาชุดหนึ่งว่า "ถ้ามีน้ำใจคือคนไทยแน่นอน" หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า "ถ้าเป็นคนไทยต้องมีน้ำใจ"
..
ความจริงที่ประกอบสร้างขึ้นมาว่า "คนไทยต้องมีน้ำใจ" ได้แทรกซึมเข้าไปในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย และมักถูกนำมากล่าวอ้างเพื่อแสดงความเป็นเหตุเป็นผล
..
รวมทั้งเพื่อกล่าวอ้างถึงความชอบธรรมของตนเอง ที่จะสามารถกระทำความผิดบางอย่างได้ โดยอีกฝ่ายหนึ่งควรจะต้องมอบน้ำใจให้ ถ้าไม่อยากเกิดปัญหาก็ควรมอบน้ำใจให้ผู้อื่นก่อน เมื่อไม่มีน้ำใจให้จึงเกิดปัญหาตามมา โดยไม่ได้พิจารณาถึงการกระทำของตนเองว่าถูกหรือผิด และไม่ได้คิดเลยว่าตนเองเป็นผู้ที่ไม่เคารพกฏเกณฑ์ของสังคม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์เดิมของคนไทย
..
บางที ชุดความคิดแบบนี้ ควรจะบันทึกไว้ว่าเป็น "อัตลักษณ์ไทย" อีกประการหนึ่ง
..
สิ่งที่น่าคิดอีกประการหนึ่งคือ ใครที่คิดว่า การสื่อสารและการโฆษณาไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยสิ้นเชิง คงจะต้องทบทวนเสียใหม่
..
มันเหลือเชื่อจริง ๆ ว่า 10 ปีผ่านไป ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ เรื่อง คนไทยต้องมีน้ำใจ ที่ได้รับมาจากสารโฆษณาเบียร์ช้าง ยังคงตกค้างอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนไทยได้ยาวนานถึงเพียงนี้
..............................................
#คนไหนคนไทยจะรู้ได้ไง
#ถ้ามีน้ำใจละคนไทยแน่นอน
#คนไหนคนไทยจะรู้ได้ไง ถ้ามีน้ำใจละคนไทยแน่นอน



25 กรกฎาคม 2560

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค