ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สื่อมวลชนควรทำบทบาทหน้าที่อะไรในศตวรรษที่ 21

สื่อมวลชนควรทำบทบาทหน้าที่อะไรในศตวรรษที่ 21
..................
ศตวรรษที่ 21 ยุคดิจิทัล ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร สาระ ความรู้ ความบันเทิง ได้จาก sources บนสื่อออนไลน์จากทุกมุมโลก พวกเขาสามารถแสวงหาข้อมูลข่าวสารได้เอง เรียนรู้ได้เอง ในเกือบทุกเรื่อง
...
แต่ประชาชนก็ยังมีความต้องการ "สื่อมวลชน" อยู่ดี

เพราะสื่อมวลชนมี skills หลายอย่างที่มากกว่า ทั้ง skills ด้านการเสาะหา การคัดสรร การนำเสนอ มี sources เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายมากกว่า มี specialists ที่สามารถติดต่อมาให้ความรู้เฉพาะด้านได้มากกว่า
...
บางเรื่องสื่อมวลชนมี literacy มากกว่า ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ literacy เรื่องนักการเมือง ความคิดของนักการเมือง กลวิธี กลอุบาย เล่ห์เหลี่ยม ผลประโยชน์ทับซ้อน คารม การหว่านล้อม การโน้มน้าวใจ ความจริง ความเท็จ ของนักการเมือง
...
คำถามคือ ในศตวรรษที่ 21 นี้ สื่อมวลชนควรทำหน้าที่อะไร มากกว่าระหว่าง 7 ป. ต่อไปนี้

1. ปกป้อง (จากภยันตรายภัยธรรมชาติ อาชญากรรม สุขภาพ) (Surveillannce) 

บทบาทหน้าที่นี้ สำนักข่าวต่างประเทศไม่เพียงแค่รายงานข่าว แต่ยังทำเป็น surveillance video เพื่อเตือนภัยและให้ประชาชน share ออกไปบนโลกออนไลน์ได้ง่าย
...
2. ประสานความคิด (Correlation) รวบรวม แลกเปลี่ยน สร้างความเข้าใจร่วมกัน ขจัดความแตกแยก สร้างความสามัคคี สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อการพัฒนา
...
3. ประสานความร่วมมือ (Mobilze) ระดมกำลังช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม
...
4. ประโลมใจ (Entertain) ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด คลายเหงา สร้างความหวัง สร้างกำลังใจ อิ่มเอมใจ
...
5. ปลุกเร้าการพัฒนา (Encourage) ให้ประชาชนลุกขึ้นมาพัฒนาชีวิตตนเอง ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองให้ดีขึ้น
...
6. ปลูกสร้างความรู้เท่าทัน (Literacy) ช่วยตรวจสอบความจริง สืบสาวราวเรื่อง ตีแผ่ความคิด สร้างความเข้าใจ สร้างความรู้ สร้างความรู้เท่าทัน สร้างความตื่นตัวในการแสวงหาความรู้และความจริง
...
7. ปลูกฝังจิตสำนึก (Conscious) ปลูกสร้าง หล่อหลอม จิตสำนึกของคนในชาติ ให้มีความตระหนักในคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ
...
ภายหลังเหตุการณ์วิกฤติที่ถ้ำหลวง อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นที่ประจักษ์ว่าสื่อมวลชนทำบทบาทหน้าที่ได้ดียิ่งในข้อ 1-2-3

ภายหลังการฉายละครเรื่องสายโลหิต ละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ละครเรื่องหนึ่งด้าวฟ้าเดียว สื่อมวลชนทำหน้าที่ได้ดีในข้อ 4 และ ข้อ 7 ด้านการปลุกสำนึกทางประวัติศาสตร์

แม้กระทั่งละครเรื่อง เมีย 2018 ก็ทำหน้าที่ได้ดีในข้อ 4
...
แต่ในยุคสมัยที่เป็น globalization และ digitalization ประชาชนเกิดความสับสนทางจิตสำนึก สับสนทางการให้คุณค่า สับสนทางการให้ความหมายต่อสิ่งต่าง ๆ

จนไม่รู้ว่าจะยึดถือสิ่งใดเป็นแก่นสารของชีวิต

จะเล่นเกม จะประกวดร้องเพลง จะอินในละคร จะเล่นแอพ Tik Tok ประโลมใจไปวัน ๆ เท่านั้น จะได้หรือ?
..........
ยุคสมัยนี้แหละ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ ผู้คนกำลังสับสน ผู้คนกำลังไร้ทิศทาง เป็นจังหวะเวลาที่ดีที่สุด เป็นโอกาสที่ดีที่สุด ที่สื่อมวลชนจะลุกขึ้นมา ใช้ Skills ของตนเอง ใช้ Experiences ของตนเองในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
...
ลุกขึ้นมาทำบทบาทหน้าที่ในข้อ 5-6-7 ให้เข้มแข็ง คือ การปลุกเร้าการพัฒนา ปลูกสร้างความรู้เท่าทัน และปลูกฝังจิตสำนึก
...
สื่อมวลชนควรสร้างความตระหนักในความเป็นมนุษย์ ความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งเอาการเอางาน ความขยัน ความอดทน ความกล้าหาญ ความเสียสละ ความสำนึกในประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของตนเอง ความสำนึกในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
...
อบรมบ่มเพาะ ด้านคุณธรรม ความซื่อสัตย์ การเคารพเหตุผล การเคารพความจริง การยึดมั่นในความมีเกียรติ
...
ปลูกสร้างจิตสำนึกอันเข้มแข็งในเรื่องเหตุผล (rational) ความมีเกียรติ (honor) ความมีศรัทธา (faith) คุณค่า (value) ความหมาย (meaning) คุณธรรม (vertue) สร้างจิตสำนึกในรากเหง้าประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ของตนเอง
...
โลก Globalization พยายามทำให้เราเหมือนกันไปหมด เพื่อให้เป็นลูกค้าของระบบทุนนิยม แต่ประเทศเล็ก ๆ อย่างเราจึงต้องลุกขึ้นมาปกปักรักษาความเป็น Uniqueness ของเราไว้
...
เราต้องมีสำนึกรู้ในทิศทาง (sense of direction) ว่าเราคือใคร เรากำลังทำอะไร และเรากำลังจะไปไหน
...
ลดการให้ความสำคัญกับ "ชื่อเสียง" (famous) หันมาให้ความสำคัญกับ "คุณค่า" (value)
...
ลดการให้ความสำคัญกับบุคคล "ผู้มีชื่อเสียง" ที่เรียกว่า "Big name" หรือ celebrity หันมาให้ความสำคัญกับบุคคลที่สร้างคุณค่าที่แท้จริงที่เรียกว่า "Big man"
...
เหล่านี้ต่างหาก คือ พันธกิจและบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของสื่อมวลชนในยุคนี้
..........
กล่าวโดยสรุปคือ ในยุคศตวรรษที่ 21 สื่อมวลชนควรหันมาทำบทบาทหน้าที่ในการสร้างและการเสริมคุณค่าให้กับมนุษย์และสังคมให้มากที่สุด

รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกในความเป็นชาติพันธุ์ของตนเองให้มากที่สุดด้วยเช่นกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค