ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2014

จงทำในสิ่งที่ใช่ !!

จงทำในสิ่งที่ใช่ !! เดินผ่านเห็นร้าน Otoya แล้วคิดถึงลูกศิษย์คนหนึ่ง แรกเริ่มเธอเดินมาบอกเราว่า..เธอจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง การสื่อสารของละครโทรทัศน์เรื่องนางทาส เราถามว่าทำไมจึงเลือกทำเรื่องนี้ เธอบอกว่า เธอชอบดูละครมาก ประทับใจละครเรื่องนางทาสมาก ซักถามความรู้กันอยู่พักหนึ่งพบว่า เธอชอบแบบละคร ชอบความเป็นดรามา แต่พอซักถามในมิติของการสื่อสาร เธอว่าเธอไม่ได้สนใจแบบนี้ ไม่ได้สนใจทั้งกระบวนการสื่อสารการผลิต เนื้อหา ความหมาย การเมือง หรือวัฒนธรรมใดๆ ที่ส่งผ่านการสื่อสารเลย เราถามย้ำอีกครั้ง อยากวิจัยละครโทรทัศน์จริงๆ หรือ? แล้วเธอมีมุมมองเกี่ยวกับการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับละครเรื่องนี้อย่างไร? เธอเริ่มไม่แน่ใจ และหาคำตอบไม่ได้ !! เราถามว่า ปัจจุบันเธอทำงานอะไร? เธอตอบว่า Otoya Restuarant เราถาม แล้วเธอมองเห็นอะไรในร้าน Otoya บ้าง? เธอว่า เห็นอาหารญี่ปุ่นชนิดต่างๆ มากมาย เห็นลูกค้า เห็นการบริการ..แล้วเห็นอะไรอีก? เห็นภาชนะ จานชาม ตะเกียบ ที่นั่งทานอาหาร..แล้วเห็นอะไรอีก? เห็นบรรยากาศในร้าน การพูดจาของพนักงาน เห็นป้ายชื่อร้าน เห็นโลโก้ เห็นกระดาษรองอาหาร..ดีละ เธอเร

ความแตกต่างระหว่างข้ออ้างและเหตุผล

ความแตกต่างระหว่างข้ออ้างและเหตุผล "ข้ออ้าง" (excuse) เป็นการกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือความเชื่อ อันเป็นข้อสนับสนุนความคิดและการกระทำของตน เพื่อให้ได้มาในสิ่งซึ่งขาดหลักคุณธรรมหรือขาดความชอบธรรม หรือเพื่อให้พ้นจากความรับผิดใดๆ และการทั้งหมดหรือถึงแม้จะไม่ทั้งหมดแต่การส่วนใหญ่นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนรวม ส่วน.."เหตุผล" (reason) เป็นการกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือความเชื่อ อันเป็นข้อสนับสนุนความคิดและการกระทำของตน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและความชอบธรรม และการทั้งหมดหรือถึงแม้จะไม่ทั้งหมดแต่การส่วนใหญ่นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตน สรุปแล้ว ความแตกต่างระหว่างข้ออ้างกับเหตุผล อยู่ที่การมีหรือไม่มีเหตุผลด้านคุณธรรมและความชอบธรรม กับหลักแห่งประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ส่วนตน ตัวอย่างประกอบคำอธิบายในเรื่องดังกล่าว ใช้ได้กับการอ้างเหตุผลในการคงอยู่ในอำนาจของรัฐบาล และ การอ้างเหตุผลในการชุมนุมประท้วง ส่วนที่ว่า การกล่าวอ้างของฝ่ายใดจัดเป็น "ข้ออ้าง" หรือเป็น "เหตุผล

คนข่าวในยุคทีวีดิจิทัล

ยุคทีวีดิจิทัล..สถานีข่าวเกิดขึ้นมากมาย พร้อมๆ กัน นับสิบช่อง ซึ่งทำให้เกิดความต้องการใช้ "คนข่าว" หลายร้อยคน ทางหนึ่ง คือ คนข่าวมืออาชีพ ซื้อตัวมาจากช่องอื่น ยอมจ่ายแพงแต่คุ้มค่า ทางที่สอง คนข่าวปั้นเอง รับสมัครเด็กที่จบแล้ว ผ่านการอบรมมานิดหน่อย มีประสบการณ์เล็กน้อย มาฝึกให้เป็นคนข่าว ทางที่สาม คนข่าวใหม่แกะกล่อง เพิ่งจบ หรือใกล้จบ หรืออาจเคยมาฝึกงานตอนเรียนหนังสือเทอมสุดท้าย รับมาทำงานไปฝึกไป คราวนี้ละ..!! ประชาชนผู้ชมรายการทีวี จะได้เห็นปรากฏการณ์ คนข่าวสมัครเล่น คนข่าวหน้าใหม่ (young reporter) คนข่าวทำไปเรียนไป (on the job training) คนข่าวแบบลองผิดลองถูก (trial and error reporter) การดูข่าวโทรทัศน์ต่อจากนี้ไป..ผู้ชมต้องตั้งใจชมให้ดี มีสติในการเลือกที่จัเปิดรับ เลือกที่จะรับรู้ เลือกที่จะเชื่อ เลือกที่จะจดจำ เลือกที่จะนำไปใช้ เพราะไม่มั่นใจว่าข่าวที่กำลังดูอยู่นั้นเชื่อถือได้แค่ไหน !! อย่างไรก็ดี ผู้ชมยังฝากความหวังไว้กับ หัวหน้าโต๊ะข่าว บรรณาธิการข่าว และโปรดิวเซอร์ข่าว ที่จะทำหน้าที่เป็น "ครูฝึก" (trainer) เป็นผู้กลั่นกรองข่าวสาร