ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คนข่าวในยุคทีวีดิจิทัล

ยุคทีวีดิจิทัล..สถานีข่าวเกิดขึ้นมากมาย พร้อมๆ กัน นับสิบช่อง ซึ่งทำให้เกิดความต้องการใช้ "คนข่าว" หลายร้อยคน

ทางหนึ่ง คือ คนข่าวมืออาชีพ ซื้อตัวมาจากช่องอื่น ยอมจ่ายแพงแต่คุ้มค่า

ทางที่สอง คนข่าวปั้นเอง รับสมัครเด็กที่จบแล้ว ผ่านการอบรมมานิดหน่อย มีประสบการณ์เล็กน้อย มาฝึกให้เป็นคนข่าว

ทางที่สาม คนข่าวใหม่แกะกล่อง เพิ่งจบ หรือใกล้จบ หรืออาจเคยมาฝึกงานตอนเรียนหนังสือเทอมสุดท้าย รับมาทำงานไปฝึกไป

คราวนี้ละ..!! ประชาชนผู้ชมรายการทีวี จะได้เห็นปรากฏการณ์ คนข่าวสมัครเล่น คนข่าวหน้าใหม่ (young reporter) คนข่าวทำไปเรียนไป (on the job training) คนข่าวแบบลองผิดลองถูก (trial and error reporter)

การดูข่าวโทรทัศน์ต่อจากนี้ไป..ผู้ชมต้องตั้งใจชมให้ดี มีสติในการเลือกที่จัเปิดรับ เลือกที่จะรับรู้ เลือกที่จะเชื่อ เลือกที่จะจดจำ เลือกที่จะนำไปใช้

เพราะไม่มั่นใจว่าข่าวที่กำลังดูอยู่นั้นเชื่อถือได้แค่ไหน !!


อย่างไรก็ดี ผู้ชมยังฝากความหวังไว้กับ หัวหน้าโต๊ะข่าว บรรณาธิการข่าว และโปรดิวเซอร์ข่าว ที่จะทำหน้าที่เป็น "ครูฝึก" (trainer) เป็นผู้กลั่นกรองข่าวสาร (gatekeeper) ที่จะควบคุมการผลิตข่าวให้มีความเชื่อถือได้ เพื่อสร้างแบรนด์ (Brand) ทั้งแบรนด์ของของสถานีข่าว หรือแบรนด์ของรายการข่าว ที่มีความน่าเชื่อถือในสายตาของประชาชน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค