ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จงทำในสิ่งที่ใช่ !!

จงทำในสิ่งที่ใช่ !!

เดินผ่านเห็นร้าน Otoya แล้วคิดถึงลูกศิษย์คนหนึ่ง

แรกเริ่มเธอเดินมาบอกเราว่า..เธอจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง การสื่อสารของละครโทรทัศน์เรื่องนางทาส

เราถามว่าทำไมจึงเลือกทำเรื่องนี้ เธอบอกว่า เธอชอบดูละครมาก ประทับใจละครเรื่องนางทาสมาก

ซักถามความรู้กันอยู่พักหนึ่งพบว่า เธอชอบแบบละคร ชอบความเป็นดรามา แต่พอซักถามในมิติของการสื่อสาร เธอว่าเธอไม่ได้สนใจแบบนี้
ไม่ได้สนใจทั้งกระบวนการสื่อสารการผลิต เนื้อหา ความหมาย การเมือง หรือวัฒนธรรมใดๆ ที่ส่งผ่านการสื่อสารเลย

เราถามย้ำอีกครั้ง อยากวิจัยละครโทรทัศน์จริงๆ หรือ? แล้วเธอมีมุมมองเกี่ยวกับการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับละครเรื่องนี้อย่างไร? เธอเริ่มไม่แน่ใจ และหาคำตอบไม่ได้ !!

เราถามว่า ปัจจุบันเธอทำงานอะไร? เธอตอบว่า Otoya Restuarant เราถาม แล้วเธอมองเห็นอะไรในร้าน Otoya บ้าง? เธอว่า เห็นอาหารญี่ปุ่นชนิดต่างๆ มากมาย เห็นลูกค้า เห็นการบริการ..แล้วเห็นอะไรอีก? เห็นภาชนะ จานชาม ตะเกียบ ที่นั่งทานอาหาร..แล้วเห็นอะไรอีก? เห็นบรรยากาศในร้าน การพูดจาของพนักงาน เห็นป้ายชื่อร้าน เห็นโลโก้ เห็นกระดาษรองอาหาร..ดีละ เธอเริ่มเห็นละ !!

แล้วเธอเห็นร้านอาหารญี่ปุ่น Brand อื่นมั๊ย? เห็นร้าน Fuji ร้าน Zen..เราถามต่อว่า แล้วเธอคิดว่าร้าน Otoya มีความแตกต่างจากร้าน Fuji และร้าน Zen อย่างไร?

ตอนนี้เธอพอจะมองเห็นถึง Communication ซ่อนตัวอยู่ในสิ่งที่เธอพูดมาทั้งหมดหรือยัง?

แม้เธอจะตอบคำถามไม่ได้ทั้งหมด แต่คำถามเหล่านี้กระตุ้นให้เธอเกิดความสนใจ ดวงตาเปล่งประกาย บังเกิดรอยยิ้มอย่างภูมิใจ..

เราถามว่า ทำงานที่ Otoya กี่ปีแล้ว? 5ปี เราจึงว่า..ประสบการณ์ชีวิตที่ร้านอาหารญี่ปุ่น 5 ปี นี่แหละคือสิ่งที่มีคุณค่า !! นี่แหละคือชีวิตเธอ นี่แหละคือตัวเธอ !!

จงเป็นตัวของตัวเอง
Be yourself !!

 ไม่ต้องวิ่งไปไขว่คว้าหาจากที่ไหนหรอก สิ่งที่เธอมีนี่แหละมีค่าสุดแล้ว !!

ในที่สุดเธอก็ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับ การสื่อสารของร้านอาหารญี่ปุ่น Otoya

3 ปีผ่านไป แน่นอนว่า เธอจบปริญญาโทนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตแล้ว เธอเข้ารับพระราชทานปริญญาบัติแล้ว 

แน่นอนว่า..เธอกำลังเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ร้านอาหารญี่ปุ่น Otoya งานที่เธอคุ้นเคย งานที่เธอถนัด งานที่เธอทำเสมือนมันเป็นชีวิตของเธอ !!

เธอไม่จำต้องไปนับหนึ่งใหม่ในเส้นทางละครโทรทัศน์เหมือนกับที่เธอเคยคิดจะทำวิทยานิพนธ์

ทุกวันนี้เธอไม่ต้องเดินออกมาจากชีวิตของเธอ แต่เธอกำลังเดินไปบนเส้นทางที่เธอสามารถใช้ศักยภาพของเธอได้อย่างเต็มที่ ทั้งจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทั้งความรู้ระดับปริญญาโทที่เธอได้เรียนไปพร้อมกับการทำงาน เธอทำงานอย่างมั่นใจ..เธอได้พัฒนาชีวิตของเธอ ตามวิถีทางของเธอ

เรามั่นใจว่า..ชีวิตของเธอจะต้องดีขึ้น เธอจะสามารถเดินไปพบกับความสำเร็จในชีวิตขิงเธอได้ิย่างแน่นอน

เรา..คือ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

เธอ..คือ นักศึกษาผู้ได้รับคำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์

เธอ..ชื่อ วิมล สิทธิ มหาบัณฑิตด้านนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นที่ 4

Be yourself !!
จงเคารพนับถือตัวเอง !!
จงเป็นตัวของตัวเอง !!
จงทำในสิ่งที่ใช่ !!

..แล้วท่านจะพบกับความสำเร็จ
..แล้วท่านจะพบกับความสุขในชีวิต

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
17 เมษายน 2557

20.42 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค