ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2014

การสื่อสารเพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

การสื่อสารเพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการ พัฒนาท้องถิ่น 27 พฤษภาคม 2557 ความหมายของการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม หมายถึง กระบวนการที่ให้บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าไปมีอำนาจและเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน กระบวนการตัดสินใจ การใช้ทรัพยากร การดำเนินการตามกระบวนการ การบริหารจัดการ การควบคุม การประเมินผล การร่วมรับผิดชอบ การได้รับการแบ่งปันประโยชน์ และการได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการ ในแผนงาน โครงการ และกิจกรรมใด ๆ อันเกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อบุคคลมีส่วนได้ส่วนเสีย นั้น (ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน http://nattawatt.blogspot.com/ 2014/06/ blog-post_ 166. html ) กระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุของปัญหา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินงาน นับตั

โลกของไลน์ LINE: How is it different from LIE?

โลกของไลน์ LINE: How is it different from LIE? LINE เป็นช่องทางการสื่อสารเฉพาะกลุ่มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในห้วงเวลานี้ LINE ส่งข่าวสาร บริหารข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว LINE นอกจากจะมีคุณความดีดังกล่าวแล้ว มันยังเป็นช่องทางที่เป็นบ่อเกิดของ LIE ได้อย่างเลวร้ายที่สุดเช่นกัน RUMORS ทั้งหลายก็มีที่มาจาก LINE แล้วนำมาขยายต่อใน LINE และใน FACEBOOK และยังขยายต่อไปยังโลกความจริงที่มนุษย์ดำรงอยู่ เอามาพูดจากัน เอามาเป็นประเด็นในการสนทนาในชีวิตประจำวันอย่างสนุกสนานบันเทิง NO REFERENCE IN LINE LINE ข่าวสารใน LINE ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข่าวสาร เพียงแค่มีคน " บอกมา" และ " บอกต่อ" ก็น่าเชื่อถือเพียงพอแล้ว  ผู้คนก็พร้อมจะส่งข่าวสารต่อไปได้ทันที โดยหาจำต้องสอบถามว่าใครเป็น SOURCE ใครเป็น FIRST SENDER โดยหาจำต้องตรวจสอบว่า SOURCE หรือ SENDER เป็นแหล่งข้อมูลเชิง Primary source หรือ Secondary source    โดยหาจำต้องตรวจสอบว่า SOURCE หรือ SENDER นั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด โดยหาจำต้องตรวจสอบว่าข้อมูลข่าวสาร MESSAGE ที่ SOURCE หรือ SENDER ส่งม

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..การดวลดาบที่หน้า McDonalds

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..การดวลดาบที่หน้า McDonalds การต่อสู้ผ่านการสื่อสารเชิงสัญญะของกลุ่มการเมืองไทย 25 พ.ค. 57 กลุ่ม กวป. ชุมนุมต่อต้านกาีรัฐประหารที่ร้าน "แม็คโดนัล" ราชประสงค์ตามแนวทางที่ บก.ลายจุดเคยใช้มาก่อน การใช้ร้าน McDonald เป็นสถานที่ชุมนุม เป็นการสื่อสารเชิงสัญญะ เพื่อสื่อความหมายถึงแห่งการต่อต้านรัฐประหาร ร้าน McDonald นัยหนึ่ง หมายถึงตัวแทนแห่งโลกเสรีประชาธิปไตย หมายถึงเสรีภาพ ความมีอิสระเสรีในการใช้ชีวิต ในการบริโภค ความมีอิสระเสรีในการประกอบธุรกิจ โลกอุตสาหกรรม แต่อีกนัยหนึ่ง มันกลับหมายถึง ตัวแทนแห่งทุนนิยม และประเทศที่ใช้รับบทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา ที่มุ่งแข่งขัน เอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยกว่า เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวเอง โดยไม่คิดถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น เช่น ความไม่เท่าเทียม ความไม่เสมอภาค ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก รวมทั้งการส่งเสริมการบริโภคเชิงสัญญะที่เปล่าเปลือง ซึ่งถือเป็นการบริโภคคุณค่าเทียม มิใช่คุณค่าแท้ ไม่ทราบเจตนาของผู้ชุมนุมว่าเลือกสื่อสารในนัยแบบใดเป็นด้านหลัก?? อย่างไรก็ดี การต่อสู้เชิงสัญญะ สิ่งที

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..การต่อสู้ด้วยอาวุธกับการต่อสู้ด้วยการสื่อสาร

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..การต่อสู้ด้วยอาวุธกับการต่อสู้ด้วยการสื่อสาร ครั้นเมื่อทหารทำรัฐประหาร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ผู้คนในประเทศอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้กระทำรัฐประหาร กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้เห็นด้วยกับการรัฐประหาร กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร มาพิจารณาดูกันทีละกลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไม่มีปัญหาเพราะเป็นผู้ลงมือกระทำการ ย่อมเกิดจากเจตนาและความตั้งใจ จึงเกิดความพอใจ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร แต่เนื่องจากมีความเห็นด้วย จึงเกิดความพึงพอใจ ไม่มีการต่อต้่าน ตรงกันข้ามมีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับคณะ คสช. กลุ่มที่ 3  เป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร แต่เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร จึงเกิดความรู้สึกคัดค้าน ต่อต้าน จนไปถึงการแสดงออกซึ่งการคัดค้านต่อต้านด้วยวิธีการต่าง กลุ่มที่ 1 ผู้ทำรัฐประหารเป็น "ทหาร" ทหารใช้อาวุธทางกายภาพ (physical weapon)  อาวุธทางกายภาพนั้นมีเหนือกว่าหลายร้อยเท่า ทหาร 420,000 นาย อาวุธหนัก รถถัง รถฮัมวี่ เครื่องบินรบ F16 ปืนใหญ่ 1

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..การต่อสู้ด้วยอาวุธกับการต่อสู้ด้วยการสื่อสาร-การสื่อสารเชิงสัญญะทางการเมือง

รัฐประหาร 22 พ.ค. 57..การต่อสู้ด้วยอาวุธกับการต่อสู้ด้วยการสื่อสาร-การสื่อสารเชิงสัญญะทางการเมือง กลุ่ม กวป. ชุมนุมกันที่ร้าน "แม็คโดนัล" ราชประสงค์ตามแนวทาง บก.ลายจุดเคยใช้มาก่อน การใช้ร้าน McDonald เป็นสถานที่ชุมนุม เป็นการสื่อสารเชิงสัญญะ เพื่อสื่อความหมายถึงแห่งการต่อต้านรัฐประหาร ร้าน McDonald นัยหนึ่ง หมายถึงตัวแทนแห่งโลกเสรีประชาธิปไตย หมายถึงเสรีภาพ ความมีอิสระเสรีในการใช้ชีวิต ในการบริโภค ความมีอิสระเสรีในการประกอบธุรกิจ โลกอุตสาหกรรม แต่อีกนัยหนึ่ง มันกลับหมายถึง ตัวแทนแห่งทุนนิยม และประเทศที่ใช้รับบทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา ที่มุ่งแข่งขัน เอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยกว่า เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวเอง โดยไม่คิดถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น เช่น ความไม่เท่าเทียม ความไม่เสมอภาค ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก รวมทั้งการส่งเสริมการบริโภคเชิงสัญญะที่เปล่าเปลือง ซึ่งถือเป็นการบริโภคคุณค่าเทียม มิใช่คุณค่าแท้

การสื่อสารผ่านบทเพลงปลุกใจ

ตื่นรู้.. "จิตสำนึกตื่นพร้อมกัน  หน้าที่อันมิอาจรอ เร้าใจให้หาญศึก  คะนองคึกมิระย่อ เปลี่ยนแปลงประเทศหนอ ทหารก่อแนวทางธรรม" การทำหน้าที่อย่างแข็งขันของ "การสื่อสารผ่านบทเพลง" 38 เพลงที่มีเนื้อหาร่วมสมัย ในสไตล์ย้อนยุค..ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา 22-23 พฤษภา 2557 สะท้อนให้เห็นถึง..การใช้สื่อมวลชนของ คสช. เพื่อสร้าง "จิตสำนึกร่วมแห่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดี" (Collective Conscience) หรือ "ความรู้ผิดชอบ" (Moral Sense) ให้บังเกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อให้แปรเปลี่ยนเป็นความเชื่อถือและศรัทธา อันจะนำไปสู่ความร่วมมือ และให้การสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ หากไม่มีบทเพลงเหล่านี้ คสช.จะใช้สิ่งใดในการสื่อสารกับประชาชน? ยังแลไม่เห็นคำตอบ จึงกล่าวได้ว่า บทเพลงเหล่านี้ ช่างมีคุณค่ายิ่งนัก วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2557 01.09 น.