ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โลกของไลน์ LINE: How is it different from LIE?

โลกของไลน์

LINE: How is it different from LIE?

LINE เป็นช่องทางการสื่อสารเฉพาะกลุ่มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในห้วงเวลานี้

LINE ส่งข่าวสาร บริหารข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว

LINE นอกจากจะมีคุณความดีดังกล่าวแล้ว มันยังเป็นช่องทางที่เป็นบ่อเกิดของ LIE ได้อย่างเลวร้ายที่สุดเช่นกัน

RUMORS ทั้งหลายก็มีที่มาจาก LINE แล้วนำมาขยายต่อใน LINE และใน FACEBOOK และยังขยายต่อไปยังโลกความจริงที่มนุษย์ดำรงอยู่ เอามาพูดจากัน เอามาเป็นประเด็นในการสนทนาในชีวิตประจำวันอย่างสนุกสนานบันเทิง


NO REFERENCE IN LINE

LINE ข่าวสารใน LINE ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข่าวสาร เพียงแค่มีคน "บอกมา" และ "บอกต่อ" ก็น่าเชื่อถือเพียงพอแล้ว 

ผู้คนก็พร้อมจะส่งข่าวสารต่อไปได้ทันที

โดยหาจำต้องสอบถามว่าใครเป็น SOURCE ใครเป็น FIRST SENDER

โดยหาจำต้องตรวจสอบว่า SOURCE หรือ SENDER เป็นแหล่งข้อมูลเชิง Primary source หรือ Secondary source 

 โดยหาจำต้องตรวจสอบว่า SOURCE หรือ SENDER นั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

โดยหาจำต้องตรวจสอบว่าข้อมูลข่าวสาร MESSAGE ที่ SOURCE หรือ SENDER ส่งมานั้น..มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด 

และหาจำต้องค้นหาความจริง ว่าข้อมูลข่าวสารนั้น CAN TRUST ได้หรือไม่


RESPONSIBILITY OR NOT !!

LINE ไม่ต้องรับผิดชอบ..ผู้ส่งข่าวสารใน LINE อ้างว่าได้ข้อมูลข่าวสารมาจาก LINE 

LINE ที่เป็นเพียงสื่อหรือช่องทางการสื่อสาร (CHANNEL) ได้ช่วยทำหน้าที่ ENDORSE ข้อมูลข่าวสารนั้น อย่างน้อยที่สุด ผู้ที่เล่น LINE ก็ไม่ได้ "พูดเอาเอง" แต่ได้ข้อมูลมาจาก LINE

โดยไม่ต้องตรวจสอบ ยืนยันความจริงว่าข้อมูลข่าวสารนั้นเป็น TRUTH or LIE

LINE ช่องทางการสื่อสาร ที่ข่าวสารมาจากไหนก็ไม่รู้

LINE บางทีข้อมูลข่าวสารนั้นอาจจะถูกส่งมาจากฟากฟ้า..ส่งมายังโลกมนุษย์

LINE บางทีข้อมูลข่าวสารนั้นอาจจะถูกส่งมาจากผู้รอบรู้ที่มองไม่เห็น.ส่งมายังโลกมนุษย์

LINE จึงเป็นได้ทั้ง SOURCE - SENDER - MESSAGE - CHANNEL

LINE จึงเป็นได้ทั้ง LINE และ LIE ในเวลาเดียวกัน

ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
26 พฤษภาคม 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค