การสื่อสารเพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
27 พฤษภาคม 2557
ความหมายของการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วม
หมายถึง กระบวนการที่ให้บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เข้าไปมีอำนาจและเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน
กระบวนการตัดสินใจ การใช้ทรัพยากร การดำเนินการตามกระบวนการ การบริหารจัดการ
การควบคุม การประเมินผล การร่วมรับผิดชอบ การได้รับการแบ่งปันประโยชน์
และการได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการ ในแผนงาน โครงการ และกิจกรรมใด ๆ อันเกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อบุคคลมีส่วนได้ส่วนเสีย
นั้น (ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน http://nattawatt.blogspot.com/2014/06/blog-post_166.html)
กระบวนการมีส่วนร่วม
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ คือ
ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุของปัญหา
ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน
โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินงาน นับตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือ การค้นหาสาเหตุของปัญหา
กระบวนการในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการสื่อสาร
(communication) และเทคโนโลยีการสื่อสาร (communication
technology) เป็นเครื่องมือในการทำงาน (tools) โดยการสื่อสารเพื่อการค้นหาหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผลข้อมูล
รวมรวมข้อมูล แสดงข้อมูล นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา (problems) และสาเหตุของปัญหา (causes)
ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น
เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน
โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน
ในด้านการสื่อสารต้องให้ต้องให้เจ้าหน้าที่
พนักงาน และประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์
กิจกรรมการปฏิบัติ แผนการปฏิบัติ ในการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อน ผลักดัน กระตุ้นเร้า
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาในท้องถิ่น
ขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมในการลงทุนและการปฏิบัติงาน
ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน
โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุน
การลงทุนมิได้หมายความว่าต้องลงเป็นเงินเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการลงแรง
การลงทรัพยากร วัตถุดิบ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ แม้กระทั่งการมีส่วนร่วมด้วยการใช้ความรู้
ใช้ประสบการณ์ ใช้ความชำนาญของตนเอง การมีส่วนร่วมยังต้องให้เจ้าหน้าที่ พนักงาน
และประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน
โดยมีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามความเหมาะสม
ในด้านการสื่อสารต้องให้ต้องให้เจ้าหน้าที่
พนักงาน และประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร ดังนี้คือ
1.การกำหนดกลยุทธ์และวิธีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการสร้างกล
ยุทธ์การสื่อสาร
เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผู้รับสารและผู้มีส่วนร่วม ในประเด็นต่อไปนี้
(1) การสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจ (Awareness)
(2) การสร้างความสนใจ (Interesting)
(3) การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Change attitude)
(4) การสร้างการยอมรับ (Acceptance)
(5) การสร้างความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
(6) การสร้างเสริมแรงจูงใจ (Reinforcement)
(7) การกระตุ้นเร้าพฤติกรรม (Change behavior)
(8) การสร้างความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียว (Solidarity)
(9) การสร้างความผูกพัน (Engagement)
(10) การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Sense of ownership)
(11) การสร้างความภาคภูมิใจ (Self-esteem)
(12) การเสริมพลัง (Empowerment)
2. การกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านการสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดยมีการมอบหมายบทบาทหน้าที่ในการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ
ความสนใจ ความชอบ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งเจ้าหน้าที่ พนักงาน และประชาชน ในลักษณะต่าง
ๆ ดังนี้
1) การเป็นผู้สร้างสรรค์
(creative man) การเป็นคนเขียนเนื้อเรื่อง การเป็นคนเขียนบท
2) การเป็นผู้นำเสนอ
(presenter) การเป็นผู้พูด ผู้นำเสนอ ผู้สาธิต
การเป็นผู้นำในการสื่อสาร การเป็นผู้แสดงความคิดเห็น
3) การเป็นผู้ผลิต (producer) บันทึกภาพ บันทึกเสียง
ถ่ายทำ ตัดต่อ
4) การเป็นนักสื่อสาร
(communicators) ในบทบาทและวาระโอกาสต่าง ๆ เช่น
การเป็นผู้เจรจาต่อรอง การเป็นผู้ไกล่เกลี่ย การเป็นผู้ประนีประนอม
5) การเป็นนักประชาสัมพันธ์
(PR practioner) ในบทบาทและวาระโอกาสต่าง ๆ เช่น
การเป็นผู้เจรจาต่อรอง การเป็นผู้ไกล่เกลี่ย การเป็นผู้ประนีประนอม
6) การเป็นนักจัดการ
(manager) เช่น นักวางแผน นักจัดหางบประมาณ นักออกแบบ ควบคุม
ติดตาม แก้ไขปัญหา สนับสนุน อำนวยความสะดวก ในการสื่อสาร
3. กลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วม
1) สร้างสื่อ (media)
2) สร้างพื้นที่สาธารณะ
(public sphere)
3) เปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นและใช้ประโยชน์จากสื่อและพื้นที่สาธารณะ
(media utilization)
4) ใช้พลังของเครือข่ายการสื่อสารออนไลน์
(Social Network)
5) สร้างบทบาท (Role)
ให้แก่สมาชิก รับผิดชอบในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
ขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผลงาน ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น
เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผลงาน
ในด้านการสื่อสารต้องให้ต้องให้เจ้าหน้าที่
พนักงาน และประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามผลการสื่อสาร ประเมินผลการสื่อสาร
โดยพิจารณา
1. ผลลัพธ์ (outputs)
ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการสื่อสาร
2. ผลผลิต (outcomes)
ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการสื่อสาร
3. ผลกระทบ (impacts)
ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการสื่อสาร
4. ผลสืบเนื่อง (consequences)
เกิดขึ้นหลังจากมีการสื่อสาร
โดยนำมาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่กำหนดไว้
พิจารณาว่าผลการดำเนินงานสามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสารมากน้อยเพียงใด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น