ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประเด็นข่าวข้ามสื่อ..จาก Social media สู่ Mass media เรดิโอนิวส์แอนด์ทอล์ก และ ทีวีทอล์ก

ประเด็นข่าวข้ามสื่อ..จาก Social media สู่ Mass media เรดิโอนิวส์แอนด์ทอล์ก และ ทีวีทอล์ก

ประเด็นข่าวที่ Hot Hit แพร่หลาย ไลค์หลักพัน แชร์สนั่นนับร้อย ในสื่อโซเชียลมีเดีย

มีพลังดึงดูดให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์เอาเล่นข่าว ขยายข่าว และขายข่าว จนกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการเสนอข่าวประจำวัน คือ ข่าวที่มาจากการเปิดประเด็นของเฟซบุ๊ก Sanook, Nation, Astv, Post Today, Khaosod, Thairath, Prachachart

ประเด็นที่ได้รับความสนใจจากผู้คนในโลกโซเชียลมีเดียมาก มีอยู่ 12 ประเด็นคือ
(1) คนดัง ดารา ศิลปิน - ส่วนใหญ่มุ่งประเด็น ความร่ำรวย มีแฟน มีกิ๊ก ตั้งท้อง แต่งงาน เลิกกับแฟน หย่าร้าง โชว์กางเกงในจีสตริง คลิปหลุดดารา
(2) นม (สตรี) - ทำอะไรเกี่ยวกับนม เช่น ดาราอัพไซส์ ภาพหลุดเปลือยอก ดาราถูกแอบถ่ายหน้าอก คลิปหลุด
(3) คนทำสวย - ตัดกราม ฉีดโบท็อกซ์ ทำหน้าเรียว ลดความอ้วน
(4) คนที่ทำอะไรแปลกแตกต่างจากบรรทัดฐานทางสังคม แตกต่างทางวัฒนธรรม - เช่น ฝรั่งขายผัดไทย
(5) อาชญากรรมโหดๆ -เช่น คนจีนฆ่าพ่อแม่ตัวเอง ตัดหัวแช่ตู้เย็น แล่เนื้อมากิน
(6) เรื่องชั่วๆ เช่น พ่อข่มขืนลูกสาวของตัวเอง
(7) คนที่ทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ - เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตจริง เช่น จบ ป4 เป็นเจ้าของธุรกิจแสนล้าน
(8) วีรบุรุษ - คนไทยโหยหาวีรบุรุษ โหยหาคนกล้าหาญ เสียสละ เพื่อเอามาชดเชยความรู้สึกตัวเองที่ไม่เคยกล้าหาญเสียสละด้วยตนเอง จึงต้องหาตัวแทน รวมทั้งคนทำความดีเป็นเรื่องแปลกเพราะมีน้อยกว่าคนทำชั่ว
(9) โชคลาภ - ชะตาชีวิตพลิกผัน ทายบอลโลกถูกได้ 10 ล้านเพียงคนเดียว ในขณะที่คนอีกหลายล้านคนแห้ว ไม่ได้สตางค์สักบาท ที่ชอบมากที่สุดคือ หวย ถูกหวยรวย 30 ล้าน รวยแค่ 2-3 คน แต่จนไปอีก 10 ล้านครอบครัว
(10) วินาศภัย ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ดินสไลด์ โคลนถล่ม ไฟไหม้
(11) อุบัติเหตุ - รถไฟตกราฃ รถพ่วงชนรถยนต์ รถสิบล้อชนมอเตอร์ไซค์ รถไหลตกตึก รถเมล์พุ่งชนร้านเซเว่น
(12) เรื่องสะเทือนอารมณ์ - เด็กนักเรียนหญิงป้อนข้าวแม่เลี้ยงแม่คนเดียว ชาวเขา 4 ขวบอยู่บ้านคนเดียวมา 4 ปี ยายวัยชราอายุ 80 ปีขาพิการถูกลูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว สามเณรร้องไห้หน้าห้องขังเพราะสงสารโยมแม่


7 สิงหาคม 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค