การสื่อสารเรื่องความปลอดภัย ตอนที่ 2 การสื่อสารเชิงสัญญะเรื่องความปลอดภัย
.................................................................................................................
อุปกรณ์ดับเพลิง..หัวจ่ายน้ำ สายพานท่อน้ำ และเครื่องดับเพลิง ที่ติดอยู่ข้างผนัง เป็นมากกว่าเครื่องมือในการดับไฟเมื่อมีเหตุการณ์เพลิงไหม้ สิ่งที่เป็นมากกว่าคือมันเป็น "การสื่อสาร" ชนิดหนึ่ง มันเป็นการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกความปลอดภัย (Communication for Human Safety)
.....................
เรามาดูกันว่าการสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยของมนุษย์เป็นอย่างไร
1. การมีอยู่ของชุดอุปกรณ์ดับเพลิง มันเป็นวัตถุทางกายภาพที่เราจับต้องได้ ใช้งานได้จริง (Tangible devices) เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์สามารถนำมันไปใช้เพื่อการดับเพลิงได้จริงๆ นี่เรากำลังพูดถึง "อรรถประโยชน์ในเชิงการใช้สอย" ของวัตถุ
.....................
2. ชุดอุปกรณ์ดับเพลิง ที่ติดอยู่ที่ฝาผนังยังทำหน้าที่ "สื่อสาร" ให้บุคคลผู้พบเห็น เกิดความรู้สึกอุ่นใจ รู้สึกมั่นใจ ว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้ขึ้น อย่างน้อยที่สุด เรายังมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการสะกัดกั้นเพลิงและทำให้ไฟที่กำลังลุกไหม้ดับลง และตัวเขาก็จะปลอดภัยจากอันตราย นี่คือ "ความรู้สึกปลอดภัย" ที่เกิดขึ้นในจิตใจ นับตั้งแต่เหตุการณ์ไฟไหม้ยังไม่ได้เกิดขึ้นเลย อันเป็นมาจากการที่บุคคลได้ "พบเห็น" ชุดอุปกรณ์ดับเพลิงติดตั้งอยู่ในสถานที่นั้น ตรงกันข้ามกับองค์กรบางแห่งที่ไม่มีชุดอุปกรณ์ดับเพลิงติดตั้งอยู่ให้เห็นในสายตา
.....................
3. การสื่อสารถึงการมีอยู่ของชุดอุปกรณ์ดับเพลิง นอกจากการติดตั้งชุดอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ในจุดใดจุดหนึ่งแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องยังควรจะต้องทำการสื่อสาร โดยการแจ้งข้อมูลข่าวสารถึงการมีอยู่ของชุดอุปกรณ์ดับเพลิงให้บุคลากรหรือบุคคลอื่นๆที่เข้ามาติดต่องานทราบว่า ชุดอุปกรณ์ดับเพลิงดังกล่าวนี้ ติดตั้งอยู่ที่ใด สามารถนำมาใช้ได้อย่างไร โดยการจัดทำสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น ป้ายประกาศ เอกสารแผ่นพับ ติดไว้ตามจุดต่างๆ ถ้าเป็นในโรงแรมอาจวางไว้ใกล้หัวเตียง หรือติดไว้ใกล้ประตูทางออก
.....................
4. การสื่อสารถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง เป็นการอธิบายวิธีการใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัย เมื่อเกิดเหตุการวิกฤติผู้คนจะอยู่ในอาการตกใจ หยิบอุปกรณ์ดับเพลิงมาได้แต่ใช้ไม่เป็นก็ไม่เกิดประโยชน์ จึงควรจัดทำเอกสารคู่มือวิธีการใช้โดยย่อติดไว้ใกล้ๆ ที่ตั้งชุดอุปกรณ์ดับเพลิง หรือถ้าเป็นโรงแรมอาจทำเป็นคู่มือวางไว้ใกล้หัวเตียง
.....................
5. ถังดับเพลิง เป็นการสื่อสารเชิงสัญญะ ตัวมันเป็นตัวหมาย (signifier) เมื่อเราเห็นถังดับเพลิง เราจะนึกถึงความหมาย (Signified) โดยนึกถึง ไฟไหม้ เหตุการณ์ไฟไหม้ นึกถึงภาพเรากำลังใช้ถังดับเพลิงฉีดดับไฟที่กำลังลุกไหม้
.....................
6. หัวจ่ายน้ำและสายผ้าใบต่อท่อน้ำ เป็นการสื่อสารเชิงสัญญะ ตัวมันเป็นตัวหมาย (signifier) เมื่อเราเห็นหัวจ่ายน้ำและสายผ้าใบต่อท่อน้ำ เราจะนึกถึงความหมาย (Signified) ที่พ่วงติดมากับตัวหมายราวกับเป็นฝาแฝดกัน นั่นคือเราจะหวลนึกไปถึงเหตุการณ์ไฟไหม้ขนาดใหญ่ เช่นไฟไหม้อาคาร เรานึกถึงพนักงานดับเพลิงกำลังถือสายดับเพลิงฉีดน้ำไปยังเพลิงที่ลุกไหม้ในอาคาร แน่นอนว่าภาพเหล่านี้บางคนมีประสบการณ์ตรงได้เห็นมากับตาตนเอง ในขณะที่คนจำนวนมากเห็นภาพเหล่านี้จากสื่อมวลชน ทั้ง ข่าวโทรทัศน์ สารคดี ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์
.....................
7. หากวิเคราะห์ตามทฤษฎีสัญวิทยาของเพียซ เราจะวิเคราะห์ได้ว่า
Icon = ภาพชุดอุปกรณ์ดับเพลิง หัวจ่ายน้ำ สายผ้าใบ และถังดับเพลิง ซึ่งในอนาคตอาจสื่อสารด้วยภาพเค้าโครงของวัตถุแต่ผู้คนโดยทั่วไปอาศัยประสบการณ์ตีความได้ว่ามันคืออุปกรณ์ดับเพลิง
Index = เหตการณ์เพลิงไหม้
Symbol = ความสามารถในการดับเพลิงที่ลุกไหม้ เท่ากับ ความรู้สึกปลอดภัย
.....................
8. ชุดอุปกรณ์ดับเพลิง และรูปภาพชุดอุปกรณ์ดับเพลิง เป็นการสื่อสารเชิงสัญญะที่สื่อสารถึง เหตุการณ์วิกฤติ เหตุเพลิงไหม้ การดับเพลิง และความรู้สึกปลอดภัยในการมีอยู่ของชุดอุปกรณ์ดับเพลิง
.....................
โดยสรุป การสือสารในเรื่องนี้แบ่งออกเป็นสองนัย
นัยที่หนึ่ง ชุดอุปกรณ์ดับเพลิง เป็นวัตถุทางกายภาพที่มีประโยชน์ใช้สอยได้จริง
นัยที่สอง ชุดอุปกรณ์ดับเพลิง เป็นการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้แก่ผู้พบเห็น
........................................
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ.
11-12-2014
.....................
หมายเหตุ หากท่านต้องการนำบทความไปใช้ ท่านสามารถอ้างอิงได้ตามแหล่งที่อยู่ของบทความตามลิ้งก์นี้ หากท่านได้ระบุการอ้างอิงแล้วท่านไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากผู้เขียนอีกแต่อย่างใด
http://nattawatt.blogspot.com/2014/12/2.html
.................................................................................................................
อุปกรณ์ดับเพลิง..หัวจ่ายน้ำ สายพานท่อน้ำ และเครื่องดับเพลิง ที่ติดอยู่ข้างผนัง เป็นมากกว่าเครื่องมือในการดับไฟเมื่อมีเหตุการณ์เพลิงไหม้ สิ่งที่เป็นมากกว่าคือมันเป็น "การสื่อสาร" ชนิดหนึ่ง มันเป็นการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกความปลอดภัย (Communication for Human Safety)
.....................
เรามาดูกันว่าการสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยของมนุษย์เป็นอย่างไร
1. การมีอยู่ของชุดอุปกรณ์ดับเพลิง มันเป็นวัตถุทางกายภาพที่เราจับต้องได้ ใช้งานได้จริง (Tangible devices) เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์สามารถนำมันไปใช้เพื่อการดับเพลิงได้จริงๆ นี่เรากำลังพูดถึง "อรรถประโยชน์ในเชิงการใช้สอย" ของวัตถุ
.....................
2. ชุดอุปกรณ์ดับเพลิง ที่ติดอยู่ที่ฝาผนังยังทำหน้าที่ "สื่อสาร" ให้บุคคลผู้พบเห็น เกิดความรู้สึกอุ่นใจ รู้สึกมั่นใจ ว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้ขึ้น อย่างน้อยที่สุด เรายังมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการสะกัดกั้นเพลิงและทำให้ไฟที่กำลังลุกไหม้ดับลง และตัวเขาก็จะปลอดภัยจากอันตราย นี่คือ "ความรู้สึกปลอดภัย" ที่เกิดขึ้นในจิตใจ นับตั้งแต่เหตุการณ์ไฟไหม้ยังไม่ได้เกิดขึ้นเลย อันเป็นมาจากการที่บุคคลได้ "พบเห็น" ชุดอุปกรณ์ดับเพลิงติดตั้งอยู่ในสถานที่นั้น ตรงกันข้ามกับองค์กรบางแห่งที่ไม่มีชุดอุปกรณ์ดับเพลิงติดตั้งอยู่ให้เห็นในสายตา
.....................
3. การสื่อสารถึงการมีอยู่ของชุดอุปกรณ์ดับเพลิง นอกจากการติดตั้งชุดอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ในจุดใดจุดหนึ่งแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องยังควรจะต้องทำการสื่อสาร โดยการแจ้งข้อมูลข่าวสารถึงการมีอยู่ของชุดอุปกรณ์ดับเพลิงให้บุคลากรหรือบุคคลอื่นๆที่เข้ามาติดต่องานทราบว่า ชุดอุปกรณ์ดับเพลิงดังกล่าวนี้ ติดตั้งอยู่ที่ใด สามารถนำมาใช้ได้อย่างไร โดยการจัดทำสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น ป้ายประกาศ เอกสารแผ่นพับ ติดไว้ตามจุดต่างๆ ถ้าเป็นในโรงแรมอาจวางไว้ใกล้หัวเตียง หรือติดไว้ใกล้ประตูทางออก
.....................
4. การสื่อสารถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง เป็นการอธิบายวิธีการใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัย เมื่อเกิดเหตุการวิกฤติผู้คนจะอยู่ในอาการตกใจ หยิบอุปกรณ์ดับเพลิงมาได้แต่ใช้ไม่เป็นก็ไม่เกิดประโยชน์ จึงควรจัดทำเอกสารคู่มือวิธีการใช้โดยย่อติดไว้ใกล้ๆ ที่ตั้งชุดอุปกรณ์ดับเพลิง หรือถ้าเป็นโรงแรมอาจทำเป็นคู่มือวางไว้ใกล้หัวเตียง
.....................
5. ถังดับเพลิง เป็นการสื่อสารเชิงสัญญะ ตัวมันเป็นตัวหมาย (signifier) เมื่อเราเห็นถังดับเพลิง เราจะนึกถึงความหมาย (Signified) โดยนึกถึง ไฟไหม้ เหตุการณ์ไฟไหม้ นึกถึงภาพเรากำลังใช้ถังดับเพลิงฉีดดับไฟที่กำลังลุกไหม้
.....................
6. หัวจ่ายน้ำและสายผ้าใบต่อท่อน้ำ เป็นการสื่อสารเชิงสัญญะ ตัวมันเป็นตัวหมาย (signifier) เมื่อเราเห็นหัวจ่ายน้ำและสายผ้าใบต่อท่อน้ำ เราจะนึกถึงความหมาย (Signified) ที่พ่วงติดมากับตัวหมายราวกับเป็นฝาแฝดกัน นั่นคือเราจะหวลนึกไปถึงเหตุการณ์ไฟไหม้ขนาดใหญ่ เช่นไฟไหม้อาคาร เรานึกถึงพนักงานดับเพลิงกำลังถือสายดับเพลิงฉีดน้ำไปยังเพลิงที่ลุกไหม้ในอาคาร แน่นอนว่าภาพเหล่านี้บางคนมีประสบการณ์ตรงได้เห็นมากับตาตนเอง ในขณะที่คนจำนวนมากเห็นภาพเหล่านี้จากสื่อมวลชน ทั้ง ข่าวโทรทัศน์ สารคดี ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์
.....................
7. หากวิเคราะห์ตามทฤษฎีสัญวิทยาของเพียซ เราจะวิเคราะห์ได้ว่า
Icon = ภาพชุดอุปกรณ์ดับเพลิง หัวจ่ายน้ำ สายผ้าใบ และถังดับเพลิง ซึ่งในอนาคตอาจสื่อสารด้วยภาพเค้าโครงของวัตถุแต่ผู้คนโดยทั่วไปอาศัยประสบการณ์ตีความได้ว่ามันคืออุปกรณ์ดับเพลิง
Index = เหตการณ์เพลิงไหม้
Symbol = ความสามารถในการดับเพลิงที่ลุกไหม้ เท่ากับ ความรู้สึกปลอดภัย
.....................
8. ชุดอุปกรณ์ดับเพลิง และรูปภาพชุดอุปกรณ์ดับเพลิง เป็นการสื่อสารเชิงสัญญะที่สื่อสารถึง เหตุการณ์วิกฤติ เหตุเพลิงไหม้ การดับเพลิง และความรู้สึกปลอดภัยในการมีอยู่ของชุดอุปกรณ์ดับเพลิง
.....................
โดยสรุป การสือสารในเรื่องนี้แบ่งออกเป็นสองนัย
นัยที่หนึ่ง ชุดอุปกรณ์ดับเพลิง เป็นวัตถุทางกายภาพที่มีประโยชน์ใช้สอยได้จริง
นัยที่สอง ชุดอุปกรณ์ดับเพลิง เป็นการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้แก่ผู้พบเห็น
........................................
รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ.
11-12-2014
.....................
หมายเหตุ หากท่านต้องการนำบทความไปใช้ ท่านสามารถอ้างอิงได้ตามแหล่งที่อยู่ของบทความตามลิ้งก์นี้ หากท่านได้ระบุการอ้างอิงแล้วท่านไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากผู้เขียนอีกแต่อย่างใด
http://nattawatt.blogspot.com/2014/12/2.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น