ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กับดักทางการสื่อสารในสื่อออนไลน์..บ่อเกิดแห่งความเสื่อมทรามทางศีลธรรมของมนุษย์และปัญหาอาชญากรรมทางเพศ

การวางกับดักทางการสื่อสารในสื่อออนไลน์..บ่อเกิดแห่งความเสื่อมทรามทางศีลธรรมของมนุษย์และปัญหาอาชญากรรมทางเพศ
.........................................................................


จัดเต็ม - "กระต่าย แม็กซิม" (ซ้าย) ในชุดโนบราสุดวาบหวิว ประชันกับ "เจมี่ บูเฮอร์"ที่แต่ง ชุดสุดเซ็กซี่ ระหว่างร่วมงาน Star"s Light Awards 2014 ที่ร้าน รูท 66 อาร์ซีเอ ถ.พระราม 9 เมื่อค่ำ วันที่ 18 ธ.ค.
(เครดิตภาพและพาดหัวข่าว โดย ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 19 ธันวาคม 2557 เวลา 09.15 น.)

..........................
คนในวงการธุรกิจ การตลาด การโฆษณา การสื่อสาร วงการบันเทิง ต่างทราบดีว่ายุคสมัยแห่ง Digital communication นี้ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการสื่อสาร ได้แก่ Connects - Contents - Control
..........................
1. Connects การทำให้ผู้คนหลายล้านคนในโลกออนไลน์ มา "ติดต่อ" และ "เชื่อมโยง" อยู่ในเครือข่ายการสื่อสารของตน มีความสำคัญที่สุด ทั้งที่เพื่อให้ "ข่าวสาร" (Information) ของตนนั้นสามารถ "เข้าถึง" (Reach) ประชาชนจำนวนมากมายมหาศาลในโลกออนไลน์
..........................
2. Contents การส่งข่าวสารไปยังประชาชนจำนวนมากนั้น สิ่งที่มีความสำคัญที่สุด คือ "เนื้อหาของสาร" (content) โดยจะต้องทำให้เนื้อหาของสารนั้นมีพลังอำนาจในการ จับความสนใจ (Attention) ดึงดูดความสนใจ (Interest) ให้ประชาชนหันเหมาเปิดรับ (Expose) สารที่ตนเองส่งมา
.....................................
3. Control เมื่อสามารถจับความสนใจและสร้างความสนใจให้แก่ประชาชนจำนวนมากได้แล้ว สิ่งที่นักธุรกิจ นักการตลาด นักโฆษณา และนักสื่อสาร จะต้องทำคือ "การควบคุม" หมายถึง การควบคุม 3 อย่างคือ
..........................
3.1 ควบคุมความสนใจของประชาชน ให้ติดตรึงคงอยู่ในประเด็นนั้นให้นานที่สุด จนกว่าจะบรรลุผลสำเร็จในเรื่องที่ต้องการ

3.2 ควบคุมความรู้สึกของประชาชน ทำให้เกิดความเพลิดเพลินใจ (Pleasure) ทำให้เกิดความสนุสนาน (Fun) ทำให้ความให้เกิดความพึงพอใจ (Satisfaction) ทำให้เกิดความสุขใจ (Happiness) ทำให้หนีจากโลกแห่งความจริง (Escape) ให้ลืมโลกความจริง คือ โลกที่เต็มไปด้วยกฏเกณฑ์ โลกที่เต็มไปด้วยคุณธรรม มโนธรรม โลกแห่งความเหนื่อยยาก โลกแห่งความขาดแคลน ที่จะมากำหนดความคิดและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ทำให้เกิดความคับข้องใจและไม่เป็นสุข
..........................
3.3 ควบคุมพฤติกรรมและทิศทางการปฏิบัติ เมื่อควบคุมให้ประชาชนอยู่ในโลกแห่งสนใจ โลกแห่งความเพลิดเพลินใจ และโลกความสุขได้แล้ว นักธุรกิจ นักการตลาด นักโฆษณา และนักสื่อสาร จะสอดใส่ "ข้อมูลข่าวสาร" ที่มีพลังอำนาจในการโน้มน้าวใจให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมตามที่ตนเองต้องการ เช่น
..........................
- การสนับสนุนความคิดด้วยการกดไลค์
- การตัดสินใจว่าบุคคลในข่าวนั้น ใครถูก ใครผิด ใครสมควรได้รับการยกย่อง ใครสมควรได้รับการประณาม
- การช่วยเผยแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร ด้วยการแชร์การส่งต่อข้อมูล
..........................
- การส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของความสนใจไปในวงกว้าง
- การตอบสนองข้อมูลข่าวสารด้วยการบอกต่อเพื่อสร้างการตลาดปากต่อปาก (Viral marketing)
..........................
- การเกิดการตระหนักรู้ในแบรนด์ (Brand Awareness) เกิดการจดจำ เกิดการระลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น บุคคล พระสงฆ์ สินค้า สถาบัน องค์กร
..........................
- การเกิดความรู้สึกประทับใจ (Impression) เกิดความรู้สึกชื่นชม (Admire) ให้การยกย่อง ต่อ บุคคล พระสงฆ์ สินค้า สถาบัน องค์กร
..........................
- การให้การสนับสนุน (Support/Sponsor) เมื่อทำให้ประชาชนเกิดความศรัทธา แล้วก็จะนำไปสู่การเชิญชวนให้ประชาชนให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ บุคคล พระสงฆ์ สินค้า สถาบัน องค์กร ทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่วยแรงกาย บริจาคเงิน
..........................
- การตอบสนองทางการสื่อสารเกี่ยวกับสินค้า ในรูปแบบต่างๆ เช่น ด้วยการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ (Online Buying) การนำคูปองไปซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า
..........................
- การตอบสนองทางการสื่อสารเกี่ยวกับการปฏิบัติ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ตามที่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารมา การไปบริจาคเลือด การไปช่วยทำกิจกรรม CSR
..........................
การที่จะเกิดผลสำเร็จทางการสื่อสารทั้ง 3 ขั้นตอนใหญ่ข้างต้นคือ Connects - Contents - Control ได้นั้น ปัจจัยแรกคือ Connects มีผู้สร้างไว้เรียบร้อยแล้วโดยเทคโนโลยีการสื่อสารออนไลน์  และสื่อโซเชียลมีเดีย
..........................
แต่ปัจจัยที่ นักธุรกิจ นักการตลาด นักโฆษณา และนักสื่อสาร จะต้องสร้างขึ้นมาเองคือ Contents เพื่อที่จะยึดกุมความสนใจของประชาชนเอาไว้ให้ได้ การแข่งขันกันสร้าง Contents จึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงที่สุดในยุคสมัยนี้ ทุกฝ่ายต่างสร้าง Contents ที่มีความแรง (Intensity) มีผลกระทบ (Impact) อย่างสูงต่อความสนใจของบุคคล โดยนำองค์ประกอบเรื่อง Human Interest มาใช้ในการสร้าง Contents
..........................
Human Interest ที่นักธุรกิจ นักการตลาด นักโฆษณา และนักสื่อสาร นำมาใช้ในการสร้าง Content ประกอบด้วย 5 S ดังนี้คือ
..........................
1. Sex เรื่องดึงดูดใจทางเพศ เช่น ภาพที่สื่อความหมายเรื่องเพศ ภาพที่สื่อความหมายเรื่องอารมณ์ทางเพศ
..........................
2. Surprise เรื่องแปลกประหลาด เช่น มนุษย์รู จิ้งจกนอนไขว่ห้าง
..........................
3. Sympathy เรื่องน่าสงสารเห็นใจ เรื่องสะเทือนใจ เช่น เรื่องครีเอทีพสาวค่ายแกรมมีถูกรถบรรทุกชนเสียชีวิต ทั้งๆ ที่เพิ่งแต่งงานมาได้เพียง 11 วัน
..........................
4. Suspense เรื่องลึกลับมีเงื่อนงำ เช่น คดีฆาตรกรรมนักท่องเที่ยวที่เกาะเต่า
..........................
5. Supra / Spectacular เรื่องทีมีความพิเศษ เรื่องที่มีความยิ่งใหญ่ เรื่องคนที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ เรื่องคนที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เรื่องคนที่มีความร่ำรวยอันยิ่งใหญ่ เช่น ข่าวดอน ธีระธาดา หอบเงิน 100 ล้านบาทแต่งงานกับสาวชาวเวียดนาม
..........................
การแข่งขันสร้าง Contents ทุกวันนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การใช้ ถ้อยคำ (words) รูปภาพ (picture) กราฟิก (graphic) สัญลักษณ์ (symbol) เท่านั้น แต่ยังสามารถนำ วัตถุ (Objects) มาสร้าง แม้กระทั่ง มนุษย์ (Human) ก็ถูกนำมาสร้าง contents
.........................
การนำมนุษย์ (Human) มาสร้าง contents ผู้สร้างจะเปลี่ยนความคิดและแปลงสภาพความเป็นมนุษย์ที่มีตัวตน มีเลือดเนื้อ ให้กลายเป็น "สินค้า" (Commodity) โดยพิจารณาว่าส่วนใดของมนุษย์ สามารถนำมาแปลงเป็น "สินค้าที่ขายได้" แล้วผู้สร้างก็คิดออกว่า สิ่งที่ขายได้คือ ความงาม ภาพดึงดูดทางเพศ และเรื่องอารมณ์ทางเพศ
.........................
ความงาม (Beauty) ความงามที่ขายได้ ได้แก่ รูปร่าง เรือนร่าง ส่วนสัด สีผิว เส้นผม
.........................
ภาพดึงดูดทางเพศ (Nude) เรื่องที่ขายได้ ได้แก่ ภาพอวัยวะมนุษย์ที่มีความอับอายต้องปกปิด ภาพของลับ ภาพของสงวนของเรือนร่างมนุษย์
.........................
เรื่องเร้าอารมณ์ทางเพศ (Eroticism) เรื่องที่ขายได้ ได้แก่ ภาพที่เร้าอารมณ์ เร้าความรู้สึกทางเพศ เร้าความต้องการทางเพศ
.........................
การแข่งขันสร้าง Contents เพื่อให้ตนเองประสบความสำเร็จ เพื่อให้ตนเองได้รับชัยชนะ ทำให้เกิดความพยายามใช้วิธีการต่างๆ ดังตัวอย่าง Contents มากมายที่ปรากฏในโลกออนไลน์มีลักษณะเช่นว่านี้
.........................
การแข่งขันสร้าง Contents เป็นไปอย่างไม่คำนึงถึงกฏเกณฑ์ทางศีลธรรม ไม่คำนึงถึงสำนึกทางมโนธรรม และไม่คำนึงถึงความรับผิดชอบทางสังคม
.........................
สิ่งเหล่านี้ค่อยสร้างความเสื่อมทรามทางศีลธรรม สร้างความเสื่อมทรามทางจิตใจของผู้คน ทำให้มองเห็นมนุษย์เป็น "วัตถุทางเพศ" มองเห็นมนุษย์เป็น "สินค้าทางเพศ" ทีสามารถ "ซื้อได้" สามารถ "จับจองได้" สามารถ "แย่งชิงมาเป็นเจ้าของได้" ไม่ว่ามันจะได้มาด้วยวิธีการที่สุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม ไม่ว่าจะถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมายก็ตาม ไม่ว่าจะถูกศีลธรรมหรือผิดศีลธรรมก็ตาม
.........................
เราจึงพบเห็นข่าว
- ครูพานักศึกษาไปมีความสัมพันธ์ทางเพศเพื่อแลกกับเกรด
- ครูข่มขืนลูกศิษย์
- พ่อข่มขืนลูกแท้ๆ
- ตาข่มขืนหลานแท้
- พ่อเลี้ยงข่มขืนลูกเลี้ยง
- เด็กนักเรียนมัธยมข่มขืนรุมโทรมเพื่อนร่วมห้องเรียน
- นักเรียนที่เป็นลูกเสือรุมข่มขืนเด็กหญิงที่เป็นเนตรนารี
.........................
การใช้ Human Interest ดังกล่าวมาสร้าง Contents เพื่อแย่งชิงความสนใจของประชาชน เรียกได้ว่าเป็น "การตกเบ็ดทางการสื่อสาร" หรือ "การใช้กลอุบายทางการสื่อสาร" หรือ "การวางกับดักทางการสื่อสาร" (Communicative Trap) เป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อมทรามทางศีลธรรมของมนุษย์ และเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาอาชญากรรมทางเพศ ที่กำลังเลวร้ายมากขึ้นทุกวัน จนสุดจะทานทน !!
.........................
บทความนี้เขียนขึ้นเพียงเพื่อจะถามว่า
- คุณเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนสร้างความเสื่อมทรามทางจิตใจมนุษย์ในสังคมนี้ด้วยหรือเปล่า?
- คุณเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนเพาะบ่มความชั่วร้ายให้มนุษย์ในสังคมนี้ด้วยหรือเปล่า??
- คุณเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนเพาะบ่มอาชญากรรมทางเพศขึ้นในสังคมด้วยหรือเปล่า???
.........................
ถ้าคุณได้ทำลงไปแล้ว..ขอให้ตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างใหญ่หลวงแก่เด็ก เยาวชน และพลเมืองของสังคมนี้ แล้วจงหยุดเสียเถอะ

ถ้าคุณคิดว่าจะทำ..ขอให้ตระหนัก และยับยั้งมันเสียตั้งแต่บัดนี้ !!

ถ้าคุณไม่ได้ทำและไม่คิดจะทำ..เราขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง และขอยกย่องว่าคุณเป็นคนดีของสังคมอย่างแท้จริง !!!
.........................
19 ธันวาคม 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค