ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2016

Mobile Journalism and Backpack Journalism

เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การสื่อข่าวด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และ การสื่อข่าวแบบนักเดินทาง (Mobile Journalism and Backpack Journalism) บรรยายระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ New Gen Reporter ที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วันที่ 28 กันยายน 2559 วิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โทรศัพท์มือถือ 081-446-69-51 คลิ๊กเพื่ออ่านเอกสาร >>

Mobile Journalism and Backpack Journalism

เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การสื่อข่าวด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และ การสื่อข่าวแบบนักเดินทาง Mobile Journalism and Backpack Journalism บรรยายในระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ New Gen Reporter ที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วันที่ 28 กันยายน 2559 คลิ๊กเพื่ออ่านเอกสาร >>

ปรากฏการณ์ "ทศกัณฑ์แคะขนมครก" การวิพากษ์เพื่อการพัฒนา

ปรากฏการณ์ "ทศกัณฑ์แคะขนมครก" การวิพากษ์เพื่อการพัฒนา ............................................................................................. ถ้านักนิเทศศาสตร์อยากจะกระโดดลงไปร่วมวงกับ "ประเด็นเรื่องทศกัณฑ์" ขอให้ใช้ความรู้ที่เรียนมาในการ "วิพากษ์" อย่างมีเหตุผลและมีความรู้สนับสนุน .. อย่าเพียงแค่เอามันในอารมณ์ ใช้วาทกรรมเคยชิน ในแนวที่ว่า..ทำลายวัฒนธรรม เสื่อมเสียวัฒนธรรม ทำลายคุณค่า หรือในแนวก่นด่าอีกฝ่ายหนึ่งว่า..ไดโนเสาร์ เต่าล้านปี หลงยุค .. นักนิเทศศาสตร์ควรมองให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ "ทศกัณฑ์แคะขนมครก" นี้ เป็น "ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างของสังคม" และเป็น "ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม" ระหว่างคนสองฝ่ายในสังคม .. โดยแต่ละฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเอง ฝ่ายหนึ่งมุ่งเน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรม การคงคุณค่าของวัฒนธรรมตามขนบดั้งเดิม อีกฝ่ายหนึ่งมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ ดัดแปลง ต่อยอด และการใช้ประโยชน์วัฒนธรรม .. หากพิจารณาให้ดี ขจัดอคติออกไปจากใจ เราจะเห็นว่าทั้งสองฝ่าย ต่างมี "เจตนาดี" ด้ว

การเตรียมตัว 8 ด้านเพื่อเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

การเตรียมตัว 8 ด้านเพื่อเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ........................................................................ หากต้องการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย คุณต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม 8 ด้าน ดังต่อไปนี้ หนึ่ง ต้องแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเป็น (inquiry) ต้องมีความรู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งจากหนังสือ ตำรา บทความ รายงานผลการวิจัย บุคคลผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากสื่อออนไลน์ สื่ออินเทอร์เน็ต สอง ต้องคิดเป็น (thinking) ต้องมีการพัฒนาทักษะการคิด คิดแก้ปัญหาได้ คิดวิเคราะห์ได้ คิดสังเคราะห์ได้ คิดออกแบบสร้างสรรค์งานได้ คิดพัฒนางานได้ สาม ต้องทำวิจัยเป็น (research) ต้องมีประสบการณ์การทำวิจัย หากยังไม่เคยทำวิจัย ให้สมัครขอเข้าไปช่วยเหลือเป็นผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการใดโครงการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เราต้องการเป็นอาจารย์ สี่ ต้องมีความรู้ทางวิชาการในสาขาวิชานั้น (academic) ต้องศึกษาหาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ในสาขาวิชานั้นให้มากที่สุด ห้า ต้องปฏิบัติเป็น (practice) มีประสบการณ์การปฏิบัติในสาขาว

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น