ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเตรียมตัว 8 ด้านเพื่อเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

การเตรียมตัว 8 ด้านเพื่อเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
........................................................................

หากต้องการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย คุณต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม 8 ด้าน ดังต่อไปนี้

หนึ่ง ต้องแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเป็น (inquiry) ต้องมีความรู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งจากหนังสือ ตำรา บทความ รายงานผลการวิจัย บุคคลผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากสื่อออนไลน์ สื่ออินเทอร์เน็ต

สอง ต้องคิดเป็น (thinking) ต้องมีการพัฒนาทักษะการคิด คิดแก้ปัญหาได้ คิดวิเคราะห์ได้ คิดสังเคราะห์ได้ คิดออกแบบสร้างสรรค์งานได้ คิดพัฒนางานได้

สาม ต้องทำวิจัยเป็น (research) ต้องมีประสบการณ์การทำวิจัย หากยังไม่เคยทำวิจัย ให้สมัครขอเข้าไปช่วยเหลือเป็นผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการใดโครงการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เราต้องการเป็นอาจารย์

สี่ ต้องมีความรู้ทางวิชาการในสาขาวิชานั้น (academic) ต้องศึกษาหาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ในสาขาวิชานั้นให้มากที่สุด

ห้า ต้องปฏิบัติเป็น (practice) มีประสบการณ์การปฏิบัติในสาขาวิชานั้นมาพอสมควร พอที่จะสอนคนอื่นได้

หก ต้องมีการพัฒนาตัวเองทุกด้านอยู่ตลอดเวลา (development) ต้องเรียนรู้ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ปรากฏการณฺ์

เจ็ด ต้องพัฒนาจิตใจตนเองอยู่เสมอ (heart-mind-spirit) ต้องพัฒนาจิตใจให้มีความรัก ความเมตตา ความเสียสละ ความเข้าใจ การให้อภัย มีจิตใจเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

แปด ต้องเข้มแข็งอดทน (tolerance) วิชาชีพอาจารย์ก็เหมือนงานอื่น ๆ ในสังคม ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์บีบคั้นจากปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ

(1) ปัญหาจากระบบงาน เช่น มาตรฐานทางวิชาการ คุณภาพทางวิชาการ

(2) การครองตนให้อยู่ในครลองตลอดเวลา เช่น ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณในวิชาชีพ จริยธรรมวิาชีพ

(3) การทำงานร่วมกับผู้อื่นที่เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาที่มีรัก โลภ โกรธ หลง ทำให้อาจารย์ต้องเผชิญกับสภาพที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรม อันเป็นผลมาจาก การแข่งขัน การชิงดีชิงเด่น การเอารัดเอาเปรียบ เล่ห์เหลี่ยม นิสัยใจคอ กิริยามารยาท

(4) การทำงานกับนักศึกษา ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคลสูงมาก คนเป็นอาจารย์ต้องรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ให้ได้ ต้องใช้ความเข้มแข็ง ความอดทนสูง

(5) ปัญหาการเงิน อาชีพอาจารย์ไม่ได้มีค่าตอบแทนสูงมากอย่างที่สังคมเข้าใจ ค่าตอบแทนอยู่ในระดับที่พออยู่ได้เท่านั้น หากต้องการมีครอบครัว มีบ้าน มีรถ มีเงินจับจ่ายใช้สอย มีเงินไปท่องเที่ยวในประเทศ ต่างประเทศ ต้องวางแผนการเงินอย่างดี อาจารย์จำนวนมากเผชิญปัญหาการเงินแต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง

หากต้องการเป็นอาจารย์ จงเตรียมตัวให้พร้อมทั้ง 8 ด้าน ถ้าเป็นไปได้ควรเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าสัก 2 ปี

รศ.ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ.
24 กันยายน 2559

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค