ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นวัตกรรม ตอนที่ 2 การสร้างนวัตกรรม

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม

ปัจจัยที่ทำให้องค์กรเกิดการสร้างนวัตกรรมมีหลายปัจจัย ปัจจัยที่เป็นแรงกระตุ้นและก่อให้เกิดความต้องการให้องค์กรต้องมีการเรียนรู้และมีการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องมีหลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้ได้เป็นแรงขับให้องค์กรสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นแรงขับและท้าทายให้องค์กรสร้างความคิดใหม่  (new idea) สร้างเป้าหมายใหม่ (new goals) ขององค์กรขึ้นมา ส่วนใหญ่แล้วการสร้างความคิดใหม่และการสร้างนวัตกรรมใหม่ มักจะมุ่งตอบสนองเป้าหมายในการสร้างความเติบโต ในการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ปัจจัยที่เป็นแรงขับให้เกิดการสร้างนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.12-14)
          1. การอุบัติขึ้นของเทคโนโลยี (Emerging technologies)
          2. ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน (Competitor actions)
          3. ความคิดใหม่ที่ได้จากลูกค้า หุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ และพนักงาน (New ideas from Strategic partners, and Employees)
          4. การอุบัติขึ้นของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (Emerging changes in the external environment)

          การอุบัติขึ้นของเทคโนโลยี (Emerging technologies) เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่มีศักยภาพมากที่สุดในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดความคิดใหม่ เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งนวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ (innovative products) นวัตกรรมการบริการ (innovative services) นวัตกรรมเชิงกระบวนการ (innovative process) นวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ (innovative strategy) แต่เดิมมาการสร้างนวัตกรรมมักเกิดขึ้นในห้องทดลองเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การสร้างนวัตกรรมทำได้ทุกที่ ทุกคน ทุกกลุ่มบุคคล ทุกองค์กร แหล่งของการสร้างนวัตกรรม เช่น มหาวิทยาลัย นักวิจัย กลุ่มนักศึกษา สตาร์ทอัพ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยี 
          ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน (Competitor actions) ความเคลื่อนไหวด้านการสร้างนวัตกรรมของคู่แข่งขันเป็นแรงกดดันให้องค์กรต้องเรียนรู้ ปรับตัว กลายเป็นคู่เทียบในการพัฒนา (benchmark) ทั้งการทำโครงการ การสร้างการริเริ่ม บางองค์กรใช้วิธีการเลียนแบบคู่แข่งขันเพื่อลดความเสี่ยง บางองค์กรใช้วิธีการเป็นผู้นำตลาดในการสร้างนวัตกรรมใหม่
          ความคิดใหม่ที่ได้จากลูกค้า หุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ และพนักงาน (New ideas from Strategic partners, and Employees) ในอดีตที่ผ่านมา นวัตกรรมจะถูกพัฒนามาจากความคิดของนักออกแบบและวิศวกรในองค์กรเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันความซับซ้อนของเทคโนโลยี การแบ่งส่วนตลาดออกไปหลากหลาย ความเป็นองค์กรสมัยใหม่ กลายเป็นสิ่งที่สร้างความรู้สึกผูกพันให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรให้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างนวัตกรรม ช่วยทำให้องค์กรสำรวจข้อมูลข่าวสารได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มศักยภาพ (capabilities) ในการเข้าใจความต้องการของตลาด ความรู้สึกผูกพันของพนักงาน ซับพลายเออร์ ลูกค้า และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและองค์กร ได้กลายมาเป็นปัจจัยสร้างโอกาสในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมขององค์กร ในการให้ข้อมูล การให้คำแนะนำ การสร้างความร่วมมือ ในการสร้างนวัตกรรม ลูกค้าในความหมายดังกล่าวข้างต้นนี้ หมายรวมถึงประชาชนที่เป็นผู้รับบริการ ประชาชนที่เป็นผู้ได้รับผลจาการปฏิบัติงานของรัฐบาล องค์กรทางการเมือง พรรคการเมือง นักการเมือง และสื่อ/สื่อมวลชน
          การอุบัติขึ้นของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (Emerging changes in the external environment) สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กรมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นแรงขับให้เกิดการสร้างนวัตกรรม สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กรเกิดจากความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ รวมทั้งเกิดจากการสิ่งแวดล้อมของสภาพเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง องค์กรจำเป็นต้องต่อสู่ฝ่าฟันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ของตนเองขึ้นมา องค์กรจึงจำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมให้กับผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการขององค์กร

หลักการพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรม
การสร้างนวัตกรรมมีหลักการพื้นฐาน ดังต่อไปนี้ (West, 1992: 204 อ้างถึงใน ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน https://nattawatt.blogspot.com/)
1. การสร้างนวัตกรรม นวัตกรรมที่สร้างต้องสอดคล้องต้องกันอย่างมากที่สุดระหว่างองค์กรและตำแหน่งทางการตลาด
2. การสร้างนวัตกรรมนั้นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
3. การสร้างนวัตกรรมนั้นต้องสอดคล้องกับการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารขององค์กร
4. การสร้างนวัตกรรมนั้นต้องมีการกำหนดทิศทางอย่างเป็นรูปธรรมชองกฎเกณฑ์ด้านสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ในขั้นตอนเริ่มแรกลงมือสร้างนวัตกรรม
5. การสร้างนวัตกรรมนั้นต้องมีวิธีการที่เหมาะสมในการทดสอบความต้องการของตลาดที่มีต่อผลิตภัณฑ์นั้น
6. การสร้างนวัตกรรมที่เป็นผลิตภัณฑ์นั้นต้องคำนึงถึงหลักการว่า ผู้สร้างนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จจะต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมนั้น ให้เป็นสิ่งที่เป็นผลรวมของ คุณประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ (customer benefits) ทั้งเชิงเทคนิคและไม่ใช่เชิงเทคนิค รวมทั้งด้านทัศนคติของลูกค้าอีกด้วย
7. การสร้างนวัตกรรม นวัตกรรมที่สร้างต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรมขององค์กร เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรมขององค์กรเป็นสิ่งที่กำหนดว่าองค์กรต้องการบรรลุผลสำเร็จในเรื่องอะไร ซึ่งโดยหลักการแล้วการสร้างนวัตกรรมขึ้นมานั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายดังนี้คือ
7.1 เพื่อสร้างการเจริญเติบโต (Growth)
          7.2 เพื่อสร้างผลกำไร (Profit)
          7.3 เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและธุรกิจ (Survival)

หลักการเฉพาะในการสร้างนวัตกรรม
การสร้างนวัตกรรมมีหลักการเฉพาะที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ (West, 1992: 204 อ้างถึงใน ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน https://nattawatt.blogspot.com/)
1. คิดเชิงกลยุทธ์ (Think strategic) การสร้างนวัตกรรมต้องเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ที่ต้องมีการวิเคราะห์และประเมินระหว่างความต้องการของตลาดกับทรัพยากรขององค์กร ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมไปตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การสร้างนวัตกรรมผู้บริหารธุรกิจและผู้บริหารองค์กรจึงต้องหาวิธีการสร้างความลงตัวระหว่างทรัพยากรขององค์กรกับความต้องการของตลาด เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการแข่งขันและการพัฒนาเพื่อสร้างความเจริญเติบโตขององค์กร สิ่งสำคัญคือ องค์กรจะต้องคิดเชิงกลยุทธ์ ในการบริหารจัดการปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้องค์กรเป็นผู้ควบคุมสภาพแวดล้อมและการแข่งขัน มากกว่าที่จะปล่อยให้มันควบคุมองค์กร
สิ่งที่องค์กรและพนักงานจะต้องระลึกไว้เสมอคือ “จงลงมือควบคุมการเดินทางไปสู่สุดหมายปลายทางขององค์กรตัวเอง หากคุณไม่ควบคุมมัน จะมีบางคนเข้ามาควบคุมแทน”
2. คิดต่าง (Think different) ไม่มีองค์กรใดสร้างความสำเร็จได้จากการเลียนแบบคู่แข่งขัน การสร้างนวัตกรรมต้องไม่ใช่แค่การผลิตสินค้าหรือบริการที่ดีเยี่ยมเท่านั้น แต่ผู้บริหารและทีมงานสร้างนวัตกรรมต้องคิดทำในสิ่งที่แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่
วิธีการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมตามที่ เดอร์ โบโน (De Bono) อธิบายไว้คือ การคิดของมนุษย์ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (West, 1992: 205)
1) ขั้นตอนที่หนึ่ง การคิดเพื่อสร้างความเข้าใจ (understanding) โดยการใช้การตั้งทำถามว่า “ทำไม” (Why) อันเป็นสิ่งที่โบโนเรียกว่า ระยะทำไม (Why phase)
2) ขั้นตอนที่สอง การคิดเพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหา (problem solving) เมื่อได้เข้าใจแล้วว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้น ขั้นต่อมาคือการพยายามประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ไปแก้ไขปัญหา โดยการใช้การตั้งทำถามว่า “ทำไม” (Why not) อันเป็นสิ่งที่โบโนเรียกว่า ระยะทำไมไม่ (Why not phase)
3) ขั้นตอนที่สอง การเกิดความรู้เชิงปัญญา (wisdom) เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะอย่างหนึ่ง เป็นการคิดที่ทำให้มนุษย์ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ (possible solutions) อันเป็นสิ่งที่โบโนเรียกว่า ระยะเพราะว่า (Because phase)
การคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม องค์กรจะต้องไม่คิดไหลไปตามกระแส ไม่คิดไหลไปตามฝูงชนที่พากันแห่ไปในทิศทางเดียวกัน แต่ควรจะต้องคิดในทิศทางที่แตกต่างจากกระแส และนำเสนอสิ่งใหม่แก่ตลาด องค์กรจะต้องมุ่งเน้นแนวคิดและบทบาทของการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurism) มากกว่าการเป็นเพียงผู้ตอบสนอง (reaction)
สิ่งที่องค์กรและพนักงานจะต้องระลึกไว้เสมอคือ “การสร้างความประหลาดใจ (surprise) คือ ปัจจัยสำคัญในการสร้างการโจมตีตลาดที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด”
3. คิดถึงคุณประโยชน์ของลูกค้า (Think customer benefit) นักออกแบบนวัตกรรมต้องคิดว่า อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ (wants) อะไรคือคุณประโยชน์ที่แท้จริงที่องค์กรสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่หรือบริการใหม่ให้แก่ลูกค้า คุณประโยชน์ที่องค์กรจะนำเสนอนั้นสามารถก่อให้เกิดประสิทธิผลแก่ลูกค้าจริงหรือไม่ องค์กรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงให้กับผลิตภัณฑ์นั้นจริงหรือไม่ ลูกค้าสามารถรับรู้ถึงคุณค่าใหม่ที่สร้างขึ้นนี้หรือไม่ ต้องมีการนิยามความต้องการของลูกค้าในทุกมิติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ประเด็นทางเทคนิค การสนับสนุน การบริการ ราคา
สิ่งที่องค์กรและพนักงานจะต้องระลึกไว้เสมอคือ “มีเพียงลูกค้าเท่านั้นที่เป็นคนจ่ายค่าจ้างให้กับคุณ”
4. คิดถึงรายละเอียด (Think customer benefit) การใส่รายละเอียดลงในแผนงานเป็นหลักสำคัญของการสร้างนวัตกรรมที่มีประสิทธิผล องค์กรจะต้องแปลงคุณประโยชน์ที่ลูกค้าต้องการ ให้กลายเป็นแนวคิดของนวัตกรรม (innovative concept) ที่มีประสิทธิผล ต้องนิยามองค์ประกอบแต่ละส่วนในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ลูกค้า ต้องแสดงศักยภาพเชิงการทดลองในระดับสูง ต้องมีการคิดถึงกระแสเงินสดและต้นทุนที่จะใช้จ่าย ผู้ออกแบบและผู้บริหารจัดการนวัตกรรมต้องพยายามจำกัดความไม่แน่ใจในความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการสร้างนวัตกรรม โดยสร้างต้นแบบที่เฉพาะเจาะจงขึ้นมาก่อน เพื่อทดสอบทางวิศวกรรม เพื่อประเมินปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย และเพื่อหาทางแก้ไขไว้ล่วงหน้า
สิ่งที่องค์กรและพนักงานจะต้องระลึกไว้เสมอคือ “การเดินทางที่รวดเร็วที่สุด เป็นผลมาจากการที่เรารู้เส้นทาง และรายละเอียดของการเดินทางมากที่สุด”
5. คิดถึงสภาพภายใน (Think internal) การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องยากและซับซ้อนแต่เป็นเรื่องที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จมากที่สุด องค์กรและพนักงานในองค์กรจะต้องใช้ความพากเพียรวิริยะอุตสาหะในการทำงาน พยายามสร้างเสริมจุดแข็งที่มีอยู่ในองค์กร การเน้นปัจจัยภายในองค์กรจะช่วยป้องกันการเกิดความสูญเสียที่เป็นบทเรียนราคาแพง อันเกิดจากความผิดพลาดในการสร้างผลิตภัณฑ์ ลูกค้า เทคโนโลยี ตลาด ในส่วนที่คนในองค์กรไม่มีความเข้าใจเพียงพอ การให้ความสนใจจริงจังกับทรัพยากรภายในองค์กรอันเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารจัดการผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรม การประเมินสถานการณ์ การคาดการณ์วัตถุประสงค์ การวางการลงทุนให้ตรงจุดว่าควรจะลงทุนในจุดใดจึงจะเหมาะสม ควรมองถึงผลต่อการขายสินค้าได้ในระยะยางมากกว่าระยะสั้น มองไปที่ความเติบโตขององค์กรโดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่องค์กรและพนักงานจะต้องระลึกไว้เสมอคือ “ถ้าคุณไม่มีข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขัน อย่าคิดไปแข่งขัน”
6. คิดเชิงความรู้ (Think knowledge) การคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม องค์กรจะต้องมีความฉลาดรอบรู้ในการสร้างความรู้ การหาความรู้ และการใช้ความรู้ ความรู้ที่สร้างสมขึ้นมาในองค์กร ความรู้ในตัวของพนักงาน จะต้องถูกนำมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลติภัณฑ์หรือบริการขององค์กร สร้างแรงจูงใจในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง สร้างสามารถเชิงการแข่งขัน สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันขององค์กร องค์กรควรเน้นการพัฒนาความรู้ในองค์กร โดยตัดสินใจว่าข้อมูลข่าวสารแบบใดเป็นสิ่งที่เอื้อต่อการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ก่อให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และข้อมูลข่าวสารนั้นช่วยสร้างบรรยากาศภายในองค์กรให้เกิดความกระหายใคร่รู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้แต่ละด้านในระดับสูงสุด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจาก การคัดเลือกพนักงาน การใช้ข้อมูลข่าวสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การฝึกอบรม การสร้างแรงจูงใจ
สิ่งที่องค์กรและพนักงานจะต้องระลึกไว้เสมอคือ “ความรู้ โดยตัวของมันเองคืออำนาจ” (Knowledge itself is power)
7. คิดถึงพนักงาน (Think people) บริษัทที่ได้ชัยชนะจะพยายามใช้ความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้ามากกว่าการแข่งขัน ความรู้เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้พนักงานกลายเป็นปัจจัยการแข่งขันด้านการพัฒนาในอนาคต การยึดกุมพนักงานและครองใจพนักงานที่มีศักยภาพ ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล การสร้างความกระตือรือร้นในการสร้างนวัตกรรม
สิ่งที่องค์กรและพนักงานจะต้องระลึกไว้เสมอคือ “การต่อสู้ส่วนใหญ่ เป็นการเอาชนะในห้วงความคิดของพนักงานเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำ และมันเป็นปัจจัยเดียวที่จะทำให้สินค้าอยู่ได้ในตลาด”
8. คิดทำให้เป็นขนาดเล็ก (Think thin) การคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมต้องอาศัยความรู้เพิ่มขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ต้องเร็วขึ้นและเร็วกว่าคู่แข่งขัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เข้าใจลูกค้า ผลิตมูลค่าเพิ่มที่เหนือกว่า จะทำให้องค์กรสามารถเป็นผู้นำในตลาด การประชุม การพบปะกลายเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรต้องยอมจ่าย ยอมจัดให้มีความสะดวกสบาย ต้องมีบรรยากาศที่ดี เพราะเป็นที่สร้างนวัตกรรม องค์กรต้องเข้าใกล้ชิดตลาดให้มากขึ้น ต้องมีการแบ่งปันความรู้ แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร ต้องมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติมากกว่าการเฝ้าดูผลสะท้อนกลับ สิ่งเหล่านี้จะทำให้องค์กรเป็นผู้นำด้านวัตกรรม

สิ่งที่องค์กรและพนักงานจะต้องระลึกไว้เสมอคือ “องค์กรขนาดเล็ก เป็นองค์กรที่เรียบง่าย และองค์กรที่เรียบง่ายจะใช้เวลาน้อยกว่าในการบำรุงรักษาองค์กรเอาไว้ และช่วยให้การทำภารกิจประสบความสำเร็จ”

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค