คิดแบบเก่าในสื่อใหม่ !!
...................................
Facebook เป็นดิจิทัลมีเดียที่ interactive ได้แบบเรียลไทม์ นักการเมืองที่เอาแต่โพสต์ข่าวสาร daily activities เพื่อ inform การทำงานของตนเองว่า แต่ละวันไปทำความดีอะไรมาบ้าง
.
โดยปราศจากการเข้ามาอ่าน ปราศจากการรับรู้ปัญหาและความต้องการ เข้ามาตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น แสดงมุมอง วิทัยทัศน์ของตนเอง ปราศจากแสดงการมีส่วนร่วม กับ audience ในเฟซบุ๊ก
.
แม้จะสื่อสารบน New media แต่รูปแบบการสื่อสาร ยังคงเป็นรูปแบบ Traditional media มาก ๆ เปรียบได้กับการใช้รถแห่ประกาศโฆษณาสินค้าในชนบท ที่เป็นการสื่อสารทางเดียว บางครั้งยังทำให้รู้สึกว่าเป็น propaganda มากกว่า
.
สะท้อนให้เห็น Mindset ว่ายังคงมีชุดความคิดการใช้สื่อและการสื่อสาร ใน paradigm แบบดั้งเดิม ที่ล้าสมัย
.
ผลที่เกิดขึ้นคือ ผู้รับสารจะ "อ่านผ่าน ๆ" และจะ "เลื่อนผ่าน" ไปอย่างรวดเร็ว ไม่ได้ทั้งการจดจำ ความประทับใจ ความพึงพอใจ ไม่สร้างความรู้สึกผูกพันทางจิตใจกับประชาชนผู้รับสาร
.
ที่สำคัญคือ ไม่ได้รับความชื่นชม และไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนผู้รับสารอย่างที่ตนเองคาดหมายไว้
.
อาจกล่าวได้ว่า เป็นการสื่อสารที่ล้มเหลว
.
เหตุผลหลักของควาใล้มเหลว คือ ไม่สร้างความรู้สึกร่วม ไม่สร้างความร่วมมือ ไม่สร้างความรู้สึกใกล้ชิดผูกพัน กับประชาชนผู้รับสาร ซึ่งทุกวันนี้พวกเขาเป็น active audience
.
อย่าเผลอไปคิดว่า นักการเมืองเป็น influencer ทีเดียว นักการเมืองไม่มีภาพลักษณ์เป็น celebrity ในสายตาประชาชน ที่ทำอะไรมักจะได้รับความสนใจเสมอ แต่นักการเมืองเป็น leader เป็น representative ในการแก้ปัญหา
.
ประเด็นสำคัญ ที่ห้ามลืมคือ โลกออนไลน์ มีอยู่จริง โลกออนไลน์ประกอบด้วยผู้คนหลายสิบล้านคน
ที่มีตัวตน มีลมหายใจ มีตวามร้สึก มีความคิด มีสติปัญญา ที่รับรู้ ตอบสนองได้ และพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์ตอบสนองตลอดเวลา
แม้ในยามที่นักการเมือง ท่านรัฐมนตรี ท่าน สส. ท่าน สว. กำลังหลัยอยู่ในเวลานี้ active audience จำนวนต่างต้องการมีส่วนร่วมในการสื่อสารกับท่าน
.
สิ่งที่นักการเมืองกำลังทำบนเฟซบุ๊กอยู่ในขณะนี้คือ การเอาเรื่องราวในโลกทางกายภาพที่ตนเองภูมิใจ มาบอกคนในโลกออนไลน์ โดยที่คนในโลกออนไลน์ส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นด้วยตัวเอง มันจึงขาดอารมณ์ร่วม ขาดความรู้สึกร่วมเป็นทุนอยู่แล้ว
.
การบอกกล่าว (inform) ด้วยรูปภาพ คำพูด วิดีโอ ถือเป็นการให้ข้อมูลฝ่ายเดียวเท่านั้น
.
แต่การสื่อสารทางการเมือง ต้องสร้างอารมณ์ร่วม สร้างความรู้สึกร่วม สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมในผลงาน และความสำเร็จนั้นด้วย จนแทบเหมือนกับผู้รับสารอยู่นเหตุการณ์นั้ด้วย นี่คือ แนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ที่จำเป็นมากในโลกออนไลน์
.
การใช้สื่อใหม่เพื่อการสื่อสารทางการเมือง ในยุคดิจิทัล ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ต้องเปลี่ยน mindset ใหม่ จึงจะเกิดผลสำเร็จในการสื่อสารทางการเมือง
หากคิดปรับตัวตอนนี้ นับว่ายังไม่สาย ปรับชุดความคิด ปรับกระบวนทัศน์ ปรับวิธีการสื่อสาร ให้มันใหม่ สมกับการใช้สื่อใหม่จริง ๆ
การใช้ chat bot และการใช้ AI เข้ามาช่วยในการสื่อสารทางการเมือง สำหรับ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. สว. กลายเป็นสิ่งที่ควรจะต้องทำโดยเร็ว
Chat bot ช่วยสร้างการตอบสนอง ช่วยหาข้อมูลมาบอกกล่าว ช่วยเก็บคำถามไว้ให้ รอฝ่ายท่านมาตอบ
ทั้งนี้จะต้องมี admin ที่เป็นมนุษย์มาเป็นตัวแทนของท่านในการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา เพราะผู้รับสารต้องการรับรู้ "ความมีตัวตน" ของท่าน ที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา แม้ในยามที่ท่านอยู่ยนเครื่องบิน ยามที่ท่านนอนหลับก็ตาม
.
เมื่ออาสาเข้ามาแล้ว ก็ต้องสู้ เรียนรู้ ปรับตัว อย่างรวดเร็ว ทันต่อเทคโนโลยี ทันต่อสถานการณ์ และทันต่อความต้องการของประชาชน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น