ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ข้าวอินทรีย์ ตอนที่ 2 คนไทยทุกคน "ควรกินข้าวและกินข้าวให้เป็น"เพราะการกินข้าวเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเรา

คนไทยเรากินข้าวเป็นอาหารหลัก 3 มื้อมานานหลายร้อยปี นับตั้งแต่กระแสเรื่อง ความงาม กลายมาเป็นกระแสหลักแห่งความสนใจของคนไทย คนไทยกลังรูปร่างไม่สวย กลัวรูปร่างไม่ผอมเพรียวบางเหมือนนางแบบ นักวิชาการ นักโภชนาการ เจ้าของธุรกิจความงามบริษัทผู้ขายอาหารเสริม ้สริมอาหาร จึงพยายามคิดค้นวิการต่างประเทศทุกวิถีทาง "เพื่อให้คนไทยสวย" และ "เพื่อให้คนไทยหุ่นดี" แต่บรรดาวิธีการที่ท่านทั้งหลายช่วยกันคิดค้นมาบอกผู้คน กลับส่งผลกระทบต่อความคิดและวิถีปฏิบัติของคนที่มีต่อ "การกินข้าว"

วิธีการหนึ่งที่คิดค้นขึ้นมาใช้คือ การควบคุมอาหาร การลดอาหาร โดยเฉพาะอาหารจำพวก "ไขมัน" และ "แป้ง" ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ ผมไม่ได้ต้องการพูดโต้แย้งในประเด็นทางวิทยาศาสตร์ว่าแป้งเป็นสารอาหารกลุ่มคาโบรไฮเดรทที่เข้าไปในร่างกายแล้วจะมีการเปลี่ยนเป็นน้ำตาล เมื่อสะสมมากๆ เข้าแล้วในที่สุดจะทำให้อ้วน เพราะนั่นมันคงเป็นความจริงที่เขาพิสูจน์กันมาแล้ว ในทางวิทยาศาสตร์ผมเชื่อว่ามันถูกต้องแล้วตามนั้น 

แต่ในทางการพูดจาสื่อสารกับคนทั่วไป โดยเฉพาะคนที่หวาดผวาความอ้วน หวาดกลัวความไม่สวย ผมคิดว่ามันมีประเด็นที่ต้องพิจารณากันหน่อย เมื่อได้ข้อสรุปวาการรับประทานอาหารจำพวกแป้งมากเกินไปประกอบกับการไม่ออกกำลังกายมากพอ จะทำให้อ้วน ผู้คนก็มาคิดตามคิดต่อกันว่า แล้วเรากินอาหารจำพวกแป้งนี้มาจากไหน คิดไปคิดมาก็เลยได้ข้อสรุปในทางลบว่า "เพราะกินข้าว" มากไปนี่เองเป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำตาลาสะสมเกิดไขมันสะสม เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้ก็เลยคิดทางแก้ปัญหาเอาแบบง่ายๆ ตรงๆ ว่า "งั้นเราก็เลิกกินข้าว" หรือ "ลดกินข้าว" หรือ "หาอย่างอื่นมากินแทนข้าว" ไปเลยดีกว่า การสร้างข้อสรุปแบบนี้น่าคิดว่า มันถูกต้องหรือเปล่า

บังเอิญผมไปได้พบข้อมูลเกี่ยวสทรอาหารที่เราควรบริโภคต่อวันมาดังภาพนี้ครับ


ที่มา ฉลากข้างถุงขนมปังของผู้ผลิตขนมปังยี่ห้อหนึ่ง วันที่พบ 14 สิงหาคม 2556

ก่อนอื่นผมมีข้อตกลงเบื้องต้นก่อนนะครับว่า ข้อมูลนี้ถูกต้องเชื่อถือได้ เพราะผมเชื่อถือในแบรนด์ยักษ์ใหญ่ของเขา เชื่อว่าเขาต้องมีผลการวิเคราะห์วิจัยมายืนยันแล้วครับ

จากข้อมูลดังรูปภาพที่ผมนำมาแสดงนี้ แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของการบริโภคอาหารในแต่ละวันของคนเรา เขาแนะนำให้บริโภคอาหารจำพวก "ข้าว-แป้ง" ในสัดส่วนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งครับ อันดับสองรองลงมาเป็นอาหารจำพวก "ผักและผลไม้" อันดับสามตามมาเป็น "นม" และ "เนื้อสัตว์" และอันดับสี่อัดับสุดท้ายคือ "น้ำมัน น้ำตาล เกลือ" ควรบริโภควันละน้อยๆ เพื่อสุขภาพที่ดี

พูดกันเฉพาะเรื่อง "ข้าว" ท่านว่าให้รับประทานวันละ 8-12 ทัพพี ผมคิดระดับสูงสุด 12 ทัพพี ทานข้าววันละ 3 มื้อๆ ละ 4 ทัพพี กำลังพอดี กำลังพอเหมาะพอสม คำแนะนำนี้ ไม่ได้บอกให้ "งดกินข้าว" ท่านไม่ได้บอกให้ "ลดกินข้าว" แต่ท่านบอกให้ "กินข้าวในปริมาณที่เหมาะสม" ครับ

ผมจึงเห็นว่า การพูดจาสื่อสารกันทั้งแบบปากต่อปาก สื่อสารผ่านตัวหนังสือในนิตยสารโดยเฉพาะนิตยสารสำหรับผู้หญิงและนิตยสารสำหรับเด็กวัยรุ่น รายการโทรทัศน์เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ ที่พยายามสื่อทั้งโดยตั้งใจ ทั้งโดยไม่ตั้งใจ ไปในทำนองว่า "ระวังนะ อย่ากินข้าวมาก เดี๋ยวอ้วน" ผมเห็นว่า การสื่อสารแบบนี้ไม่ค่อยถูกต้องเท่าไกร่นัก เป็นการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง เพราะถ้าหากจะสื่อสารให้ "ตรง" ปราศจากอคติ ปราศจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนแล้ว  ท่านควรจะสื่อสารว่า "ทุกคนควรกินข้าว" ครับ เพียงแต่ควรจะสื่อสารเพิ่มเติมอีกหน่อยว่า "ทุกคนควรกินข้าว และ "ควรกินข้าวในปริมาณที่เหมาะสม" กับความต้องการของร่างกายครับ

สิ่อมวลชนประเภทเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม รวมทั้งสิ่อออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดีย เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบ ของธุรกิจที่ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก็ควรพูดจาสื่อสารกับผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปให้ถูกต้องด้วยครับ เกี่ยวกับเรื่อง "การกินข้าว" น่ะครับ การกินข้าวเป็นเรื่องปกติ การกินข้าวเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมครับ

อีกประเด็นหนึ่ง เรื่องการกินข้าวในปริมาณที่เหมาะสม ความเหมาะสมยังมีหลาบแบบครับ 
ก. เหมาะสมกับร่างกายของคนปกติที่ทำงานแบบทั่วไป
ข. เหมาะสมกับร่างกายของคนที่ต้องใช้แรงงานเ็นพิเศษ
ค. เหมาะสมกับผู้ป่วย
ง. เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพ
จ. เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการเน้นเรื่องความสวยความงามเป็นพิเศษ

แต่ไม่ว่าอย่างไร ผมยังคงยืนยันว่า เราควรสื่อสารให้ทุกคน "กินข้าว" ครับ เรากินข้าวกันมาหลายร้อยปีแล้วครับ แล้วเราเคยพิสูจน์ได้มั๊ยครับว่า การที่คนเราเจ็บป่วย การที่คนเราตาย มีสาเหตุมาจาก "การกินข้าว" ที่เคยเห็นมีแต่ "กินอย่างอื่นที่ไม่ใช่ข้าว" มากเกินไป เช่น กินเนื้อสัตว์มากเกินไป กินไขมันมากเกินไป กินเนื้อสัตว์ดิบๆสุกๆ กินเนื้อสัตว์ปิ้งย่างรมควัน ปิ้งย่างเกาหลีที่มากเกินไป หรือไม่สะอาด ตั้งแต่เกิดมาผมยังไม่เคยๆด้ยินข่าว คนกิน "ข้าวปิ้งย่าง" เช่น ข้าวจี่ ป่วยตายเจ็บตายเลยครับ

ประเด็นของการกินข้าวจึงไม่ใช่แค่เรื่อง "การกิน" แต่ยังเกี่ยวข้องกับ "การสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการกินข้าว" กับผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปให้เข้าใจอย่างถูกต้อง โดยมุ่งสื่อสารให้ประชาชนผูบริโภค "กินข้าวให้เป็น" ด้วยประเด็นการสื่อสารดังนี้คือ
1. คนทุกคนควรกินข้าว (คนปกติทั่วไป)
2. ข้าวไม่ใช่ตัวปัญหาหรือสาเหตุแห่งโรค
3. ควรกินข้าวให้เหมาะสม ทั้งเรื่องปริมาณที่กิน ความต้องการของร่างกาย และสภาพร่างกายของแต่ละคน
4. ควรกินข้าวที่ปลอดภัย ปราศจากสารพิษปนเปื้อน ปราศจากสารเคมี
5. ควรกินข้าวที่มีสารอาหารมาก มีคุณค่าอาหารมากๆ เช่น ข้าวอินทรีย์ ข้าวก่ำ ข้าวกล้อง ข้าวหอม ข้าวไรซ์เบอรรี่
6. ควรกินข้าวที่มีคุณค่าเพิ่ม (added value) นอกจากกินเพื่ออิ่มแล้ว ยังกินข้าวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค กินข้าวเพื้อต่อต้านโรค กินข้าวเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ กินข้าวเพื่อเสริมสร้างคุณประโยชน์เฉพาะด้าน เช่น ข้าวที่มีสารช่วยความจำ มีสารช่วยบำรุงประสาท บำรุงเลือด 
7. การกินข้าวสามารถป้องกันความอ้วนได้ ถ้ากินข้าวเป็น กินข้าวถูกวิธี จะช่วยเรื่องการป้องกันความอ้วน การส่งเสริมความสวยความงามได้อีกด้วย

"การกินข้าวเป็นวัฒนธรรม" นอกจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง "การกินข้าวให้เป็น" แล้ว เรายังควรสื่อสารให้ผู้คนเกิดความตระหนักด้วยว่า "การกินข้าว" ไม่ใช่เรื่องโดดๆ ไม่เกี่ยวกับใคร แต่ "การกินข้าวเป็นวิถีชีวิต" และ "การกินข้าวเป็นวัฒนธรรม" มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับภาคส่วนอื่นๆไล่เรียงไปตามลำดับ 

"ปลายน้ำ" คือ คนซื้อข้าว คนกินข้าว ตรงนี้ถือเป็นส่วนปลายน้ำ ย้อนกลับไปตรง "กลางน้ำ" 
"กลางน้ำ" คือ พ่อค้าข้าว โรงสี รถบรรทุก น้ำมัน การขนส่ง โลจิสติกส์ ตลาด ร้านค้า มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต โมเดิร์นเทรด ดีพาทเม้นท์สโตร์ ย้อนกลับไปถึง "ต้นน้ำ"
"ต้นน้ำ"  คือ คน ได้แก่ ชาวนา เกษตรกร คนรับจ้างดำนา คนรับจ้างเกี่ยวข้าว ทรัพยากรการผลิต ทุ่งนา ที่ดิน วัวควาย รถอีแต๋น รถไถนา รถเกี่ยวข้าว  ปุ๋ย ยา น้ำมันเติมรถไถ

คนไทยทุกคน เกษตรกร พ่อค้าข้าว คนซื้อข้าว คนกินข้าว นักวิชาการ นักการเมือง นักข่าว นักสื่อสารมวลชน นักสื่อสารออนไลน์ นักสื่อสารโซเชียลมีเดีย เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบ..ควรพูดจาสื่อสารเรื่อง "ข้าว และ การกินข้าว" ให้ถูกต้อง (right message) เกิดคุณประโยชน์ (benefit message) และเกิดคุณค่า (value message)

ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ต้องไม่ลืมในการสื่อสารคือ เราควรจะต้องพูดจาสื่อสารให้คนไทยเรา "ควรกินข้าว" และ "กินข้าวเป็น"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค