ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เข็มทิศชีวิต..ช่วยให้เรา "คิด" อะไร??

เข็มทิศชีวิต..ช่วยให้เรา "คิด" อะไร??

เราเข้าข่ายข้อไหนบ้างหรือไม่??
.......................................
ถ้าวันนี้ เรามีเงินใช้ไม่พอ 

บริษัทไม่มั่นคง

แฟนไม่รัก ไม่ดูแล

คุยกับพ่อแม่ทีไรโกรธกันทุกที

กอดกับคนที่รัก ไม่แนบแน่น 

ชอบดึงคนไม่ดีเข้ามาในชีวิต

ก่อเรื่องผลักคนดีดีออกไป

ทำให้เงินหายไป

ไม่ยอมรับให้ตัวเองประสบความสำเร็จ 

ไม่กล้าเรียกค่าตัวที่เหมาะสมให้ตัวเอง

ทำให้เงินหรือความสำเร็จหายไปทุกครั้ง

คิดงานให้คนอื่นเก่งทำให้คนอื่นรวยแต่พอของตัวเองคิดไม่ออกทำไม่ได้

เบื่อแปลกแยกกับคนรอบตัว แปลกแยกกับงานกับสิ่งที่ตัวเองทำ 

ไม่เคยแหงนหน้ามองดูพระจันทร์

และที่สุด แปลกแยกกับตัวเองทนอยู่กับตัวเองไม่ได้ จนต้องหาอะไรให้ตัวเองทำวุ่นวายอยู่เสมอ เช่นเสพติด โทรศัพท์ เฟซบุค อินเตอร์เนต เกมส์ โซเชียลมีเดีย

จนไม่เคยได้ยินว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวคิดอะไรรู้สึกอย่างไร

ใช้เงินที่ตัวเองไม่มีจนเป็นหนี้บัตรเครดิต

ออกไปช่วยโลกจนลืมช่วยแก้ปัญหาของตัวเอง

พูดเรื่องคนอื่นเพราะไม่กล้าสะสางเรื่องตัวเอง

ไม่เคยดูลงไปที่ใจตัวเองว่ากำลังรู้สึกอย่างไร

มีความสุขหัวเราะครั้งสุดท้ายเต็มหัวใจเมื่อไร

เราต้องหยุดเพื่อทบทวนตัวเอง

เราสามารถเริ่มบริหารจัดการชีวิตความคิดความรู้สึกของเราโดยเริ่มที่ภายในตัวเราเองก่อน

เพราะทุกอย่างภายนอกเปลี่ยนตามคุณภาพภายใน

เปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายนอกด้วยการเปลี่ยนสภาพภายในใจ

สำหรับคนที่ยังไม่ได้หา หนังสือเข็มทิศความสุข_เข็มทิศชีวิตเล่ม6 และ เข็มทิศชีวิต 7 มาอ่าน ครูตัดตอนมาให้อ่านค่ะ
-----
ที่มา: เข็มทิศชีวิต โดย ฐิตินาถ ณ พัทลุง

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
8 กุมภาพันธ์ 2557
12.09 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค