ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นายกฯ ยิ่งลักษณ์ : การเมือง จำนำข้าว และชาวนา

นายกฯ ยิ่งลักษณ์ จำนำข้าว และชาวนา

ความต่อไปนี้คือ Quote คำพูดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เผยแพร่ทางช่องทางสื่อสารในโลกออนไลน์ ที่พูดถึงประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ การเมือง-โครงการจำนำข้าว-ชาวนา-และการทำงานของรัฐบาล

วันที่ 31 มกราคม 2557

"ถนนข้างหน้าอย่างที่เรียนว่าอาจเป็นถนนที่ขรุขระและมีขวากหนาม บางครั้งการเดินบนถนนนี้ก็อาจจะรู้สึกเปล่าเปลี่ยวและอ้างว้าง แต่ก็เชื่อว่าบนเส้นทางที่มีถนนอยู่ไม่กี่เส้นและเส้นนี้เป็นเส้นที่ถูกวางไว้ตามระบอบประชาธิปไตย เชื่อว่าวันหนึ่งก็จะมีคนมาร่วมเดินบนถนนนี้ด้วยกัน"

วันที่ 31 มกราคม 2557

"ถ้าเรามองไม่เห็นทางออกและยังปิดทางออกของประเทศ ก็เหมือนกับหมอที่หากเห็นว่าคนไข้กำลังป่วยและไม่รักษา สุดท้ายคนไข้ก็ไม่สามารถฟื้นได้ แต่หากเราคิดว่าเราต้องช่วยกัน พยายามแก้ไขเต็มที่ อย่างน้อยคนคนหนึ่งอาจมีชีวิตรอดและสามารถประคับประคองให้มีชีวิตต่อไปได้
นั่นคือสิ่งที่ดิฉันกำลังจะบอกว่า ถ้าเรามองไปข้างหน้าแล้วไม่ให้เกิดการเลือกตั้ง แล้วเราจะเอาทางออกทางไหน ก็อยากขอร้องให้ขั้นตอนต่างๆ ตามข้อกฎหมาย โดยทุกภาคส่วนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องทำงานอย่างเต็มที่ในการรักษากติกาและกฎหมาย"



วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557

ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ และข้าวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยมาช้านาน เป็นทั้งพืชเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ชาวนากลับเป็นกลุ่มคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมและเหมาะสมมาโดยตลอด รัฐบาลชุดนี้จึงเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ชาวนาจะต้องได้รับความเป็นธรรม ผลผลิตต้องได้ราคา ผลกำไรต้องตกอยู่ในมืออย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ใช่ตกอยู่ในมือพ่อค้าคนกลาง โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจึงเป็นนโยบายเพื่อยกระดับรายได้ และสร้างความมั่นคงมั่งคั่งที่ยั่งยืน ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวก็ไม่ได้ผิดกับนโยบายสนับสนุนและอุดหนุนสินค้าเกษตรในต่างประเทศที่มีหลากหลายรูปแบบ ปรับใช้ตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ด้วยทุกคนตระหนักว่า ประเทศจะต้องดูแลผู้ที่ผลิตผลผลิตทางการเกษตรหลักของชาติให้มีชีวิตที่ดี มีรายได้ มีความสุข ปรัชญาแนวคิดที่มาเป็นนโยบายของรัฐบาลจึงเป็นที่ยอมรับของชาวนามาโดยตลอด และประสบความสำเร็จในการยกระดับรายได้ขยายโอกาสให้กับพี่น้องประชาชนในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ดิฉันและคณะรัฐมนตรีได้ทุ่มเทที่จะทำให้โครงการสำเร็จ

สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นสถานการณ์พิเศษ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในช่วง 3 – 4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรและการเลือกตั้ง ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลมีข้อจำกัดในการบริหารงาน ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา 181 ในขณะเดียวกันก็มีเกมการเมืองนอกระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และมีเป้าหมายเดียวคือล้มล้างรัฐบาล และช่วงชิงอำนาจทางการเมือง ดำเนินการขัดขวางการทำงานของรัฐบาลที่พยายามจะดูแลทุกข์สุขของประชาชนอย่างต่อเนื่อง แม้แต่โครงการจำนำข้าวที่เป็นที่ชื่นชอบของชาวนาทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการต่อสู้ทางการเมืองจะไปในทิศทางใด ดิฉันก็มิได้นิ่งนอนใจต่อความเดือดร้อนของพี่น้องชาวนา จึงได้เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สั่งการให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการจ่ายเงินให้กับชาวนา โดยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการจัดหาแหล่งเงินกู้ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมาย พร้อมๆกับที่กระทรวงพาณิชย์ก็อยู่ระหว่างการเปิดประมูลเพื่อเร่งระบายข้าว เพื่อนำเงินมาส่งมอบให้พี่น้องชาวนาตามที่มีภาระผูกพัน

รัฐบาลขอยืนยันว่า เรามีความเป็นห่วงพี่น้องชาวนาอย่างจริงใจ มิได้นิ่งนอนใจต่อความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น และดิฉันขอให้พี่น้องชาวนาโปรดเชื่อมั่นว่ารัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขปัญหา และเพื่อความเป็นสุขของพี่น้องชาวนา และความเป็นธรรมในสังคม


วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557

ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนจะต้องจ่ายเงินให้กับชาวนาอยู่แล้วค่ะ แต่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้ทำงานด้วยความยากลำบาก รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่ทอดทิ้งประชาชนที่เดือดร้อน ขณะนี้ได้สั่งการให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด เพื่อหาทางออกให้แก่ประชาชน ดิฉันจึงขอความเห็นใจจากชาวนาทุกคน รัฐบาลจะพยายามทำทุกวิถีทางในการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องชาวนาค่ะ

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557

"รัฐบาลชุดนี้ได้ยุบสภาแล้ว เพราะในแง่ของการทำงานนั้น รัฐบาลได้แสดงความรับผิดชอบ โดยให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ดังนั้น หลังจากที่มีการยุบสภาแล้ว คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่จะต้องปฏิบัติ ที่ว่าจะหานายกฯคนกลาง ก็ต้องถามว่านายกฯคนกลางเข้ามาทำงาน ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้จะมีกฎข้อไหนในการทำ อีกทั้ง ภายใต้การทำงานด้วย พ.ร.บ.ยุบสภานี้ก็ไม่มีอำนาจต่างจากที่ตนเข้ามาทำอยู่ระหว่างการเลือกตั้ง แต่ว่าถ้าจะเข้ามามีอำนาจมากกว่านี้ก็คงเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญเท่านั้นเอง วันนี้เราก็คงต้องช่วยกันรักษาประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่นอกเหนือจากหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คือ การรักษาประชาธิปไตยที่ต้องช่วยกันประคับประคองให้ผ่านวิกฤตต่าง ๆ ไปได้ โดยเฉพาะการรักษากลไกให้ระบอบประชาธิปไตยนั้นเดินไปได้"

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
8 กุมภาพันธ์ 2557
11.55 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค