ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2019

การสร้างความมีชื่อเสียง (Celebrity Creating) กระบวนการและกลยุทธ์

การสร้างความมีชื่อเสียง (Celebrity Creating) การสร้างความมีชื่อเสียง: กระบวนการ และกลยุทธ์ การสร้างผู้มีชื่อเสียง การสร้างคนดัง การสร้างศิลปิน การสร้างดารา การสร้างนักแสดง การสร้างนักร้อง นักดนตรี นักศิลปะบันเทิง นักวิชาการ นักบริการ ผู้นำองค์กร ผู้นำสถาบัน ผู้นำในสถานการณ์ต่าง ๆ มีหลักการ มีกระบวนการสื่อสาร และกลยุทธ์การสื่อสาร ดังภาพที่ปรากฏตามไฟล์แนบนี้ .................................... เขียนและออกแบบโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน ท่านสามารถคลิกเพื่ออ่านสาระสำคัญได้ทันทีที่ลิ้งก์นี้ (Master) >>> https://drive.google.com/drive/u/8/folders/1LT7OexKpW18CGowUs6GR5euGhZ-Weu5l หมายเหตุ ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ข้อมูลในไฟล์ชื่อ "กระบวนการสร้างความมีชื่อเสียง master3" ซึ่งเป็นไฟล์ที่มีการตรวจแก้ไขคำผิดให้เรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว

ดิ้น วาทกรรมเพื่อการต่อสู้บนโลกโซเชียลมีเดีย

ดิ้น..วาทกรรมเพื่อการต่อสู้บนโลกโซเชียลมีเดีย ................. "ดิ้น" เป็นอีกคำหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการโต้ตอบกันบนโลกโซเชียล เวลาที่มีประเด็นปัญหาถกเเถียง หรือเกิดกระแสดราม่า เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ บุคคลที่ไม่เห็นด้วย หรือไม่พอใจ จะออกมาแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง และตอบโต้ ฝ่ายที่เห็นด้วยกับประเด็น จะใช้คำว่า "ดิ้น" มากล่าวเชิงเย้ยหยัน ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและออกมาโต้แย้ง ดูเหมือนว่า ฝ่ายที่เห็นด้วยกับประเด็น จะมีความมั่นใจเต็มที่ว่า ความคิดของผู้ตั้งประเด็นนั้นถูกต้อง และมั่นใจเต็มที่ว่า ความคิดเห็นของตนเองถูกต้อง จึงรู้สึกมั่นใจ รู้สึกว่าตนเองมีความชอบธรรมที่จะกล่าวหาว่า อีกฝ่ายกำลัง "ดิ้น" จนลืมไปว่า บางประเด็นตนเองก็กำลัง "ดิ้น" อยู่เช่นกัน วิธีการโต้ตอบกันของทั้งฝ่ายผู้ที่เห็นด้วย (pro) และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย (con) มี 8 วิธีคือ 1. อ้างเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical evidence) 2. อ้างเหตุผลตามความคิดเชิงเหตุผล (Rational) 3. อ้างเสียงส่วนใหญ่ (Majority) 4. อ้างจารีตประเพณี (Traditional) 5. อ้างศีลธรรม (Moral) 6. อ้า

คำถามวิจัย และ วิธีการเขียนคำถามวิจัย

คำถามวิจัย บทนำ การทำวิจัยโดยเฉพาะการทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นักวิจัยต้องเริ่มจากการเขียน คำถามวิจัย ไม่ใช่เขียน วัตถุประสงค์ของการวิจัย และไม่ใช่่การเขียนสมมุติฐานของการวิจัย (Hypothesis) ในขณะที่ วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) หมายถึง เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในการทำวิจัย และ สมมุติฐานของการวิจัย (Hypothesis) หมายถึง การคาดเดาคำตอบ การคาดหมายคำตอบที่จะเกิดขึ้น และการทดสอบทางสถิติเพื่อยืนยันคำตอบ หรือยีนยันสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แต่คำถามวิจัยไม่ได้หมายถึงแบบนั้น ความหมายของคำถามวิจัย คำถามวิจัย (Research Questions) หมายถึง การตั้งคำถามในเรื่องเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย ว่าในปัญหาวิจัยดังกล่าว มีคำถามที่นักวิจัยสงสัยอยากได้คำตอบอะไรบ้าง คำถามวิจัยเป็นคำถามที่มีฐานคิดมาจากความรู้ทั่วไป ความรู้ทางทางทฤษฎี และรายงานผลการวิจัยที่มีมาก่อนหน้านั้น รวมทั้งคำถามที่มาจากประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง คำถามวิจัยมิใช่การตั้งคำถามคาดเดาอย่างเลื่อนลอยสะเปะสะปะ คำถามวิจัย (Research Questions) แบ่งออกเป็นสองส่วนสำคัญคือ 1. คำถามวิจัยหลัก (Central Question) 2. คำ

วิธีการได้มาซึ่งอำนาจ ทรัพย์สมบัติ ความมั่งคั่ง และความสุข

วิธีการได้มาซึ่งอำนาจ ทรัพย์สมบัติ ความมั่งคั่ง และความสุข ............... ยุคโบราณ . 1. ฆ่าศัตรู (หากชัดเจนว่าเป็นศัตรู จำต้องฆ่าทิ้ง) . 2. กำจัดคู่แข่ง (คู่แข่งมีอยู่ในฝ่ายเดียวกันด้วย แม้เป็นฝ่ายเดียวกัน แม้เป็นพี่น้อง แม้เป็นเครือญาต แม้เป็นบิดาผู้ให้กำเนิด ก็ต้องกำจัด) . 3. สร้างขุมกำลังนักรบทหารฝ่ายตนเองที่เหนือกว่า 2-3 เท่า . 4. สร้างอาวุธของตนเองที่เหนือว่าฝ่ายศัตรูหรือคู่แข่ง 2-3 เท่า . 5. จิตใจที่แข็งแกร่ง กล้าหาญ . 6. จิตใจที่โหดเหี้ยม กล้าลงมือ . ยุคปัจจุบัน . 1. สร้างมิตร พันธมิตรคือความเข้มแข็ง . 2. ดึงศัตรูมาเป็นมิตร หรืออย่างน้อยไม่สร้างศัตรู . 3. สร้าง "ความรู้" ของตนเอง มีแนวคิดว่าความรู้ คือ competitive advantage ขุมกำลังของตนเองที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน 2-3 เท่า . 4. สร้าง "เทคโนโลยีและนวัตกรรม" ของตนเอง มีแนวคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรม คือ competitive advantage สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเองที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน 2-3 เท่า . 5. จิตใจที่กล้าหาญ

โทนของสารในการสื่อสารทางสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media Tone of Message)

โทนของสารในการสื่อสารทางสื่อโซเชียลมีเดีย Social Media โทนของสาร (Tone of message) ที่ใช้ในการสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ทางบวก 10 ประเภท ทางลบ 10 ประเภท ..... ทางบวก . 1. ความรัก (love) 2. ความเป็นมิตร มิตรภาพ (companionship) 3. ความกล้าหาญ (courage) 4. ความสงสาร (sympathy) 5. ความเมตตากรุณา (compassion) 6. ความมีจิตใจดีงาม (kindness) 7. ความปรารถนาดี (good wishes) 8. การให้กำลังใจ (moral support) 9. การยกย่อง (admire) 10. การให้เกียรติ (respect) ..... ทางลบ . 1. ความเกลียด (hate) 2.ความเป็นศัตรู (Hostility) 3. ความกลัว (fear) 4. ความใจดำ (heartless) 5. ความโหดร้ายทารุณ (cruelty) 6. ความโหดเหี้ยม (ruhlessness) 7. ความอาฆาตพยาบาท (malice) 8. การบั่นทอนจิตใจ (devastate) 9. การเย้ยหยัน (ridicule) 10. การดูถูก (insult)

เป้าหมายของการสื่อสารทางสื่อ (Social Media Usage Purposes)

เป้าหมายของการสื่อสารทางสื่อ (Social Media Usage Purposes) ..................................... เป้าหมายของการสื่อสาร (communication purposes) การใช้สื่อและสารในการสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ..... 1. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารทั่วไป (genreral inform) เช่น บ่ายนี้ฝนจะตกเป็นบริเวณกว้างของประเทศไทย . 2. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารตักเตือนภัย (surveilance) เช่น พายุขนาใดหญ่จะเข้าพรุ่งนี้ น้ำอาจท่วมฉับพลันขอให้เตรียมรับมือ . 3. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อถกเถียงอภิปราย เพื่อรวบรวมความคิดเห็น เพื่อประมวลความคิดเห็น เพื่อหามติสาธารณะ (correlation) . 4. เพื่อบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตตนเอง (life story telling) เกี่ยวกับ . 4.1 งาน (works) เช่น ทำคดี ว่าความ ทำข่าว ขายสินค้าออนไลน์ สักคิ้ว . 4.2 กิจกรรม (activities) เช่น ทำกับข้าว ตัดหญ้า ออกกำลังกาย ไปฟิตเนส ให้อาหารแมว อาบน้ำสุนัข เล่นกับแมว เลี้ยงกระต่าย เลี้ยงควาย เลี้ยงวัว . 4.3 กินและดื่ม (meals, food, drink) รายการอาหารมื้อเช้า กลางวัน เย็น ค่ำ ดึกที่ตนเองก

การเล่นประเด็นสารในสื่อโซเชียลมีเดีย

ประเด็นความขัดแย้งที่ทำงานได้ผลที่สุด ที่ถูกนำมาสร้างเป็น message ในการสื่อสารมวลชน และการสื่อสารทาง Social Media มิใช่ความขัดแย้งทางกายภาพ แต่เป็นความขัดแย้งทางจิตใจ โดยเฉพาะประเด็นต่อไปนี้ คือ 1. ความรู้สึกไม่เป็นธรรม 2. ความรู้สึกคับข้องใจ 3. ความรู้สึกคับแค้นใจ (frustation) 4. ความรู้สึกผิดทางมโนธรรม 5. ความรู้สึกไม่สมเหตุสมผล 6. ความสงสารเห็นใจ (sympathy) 7. ความเป็นความตายของชีวิต ..... คนที่มีไหวพริบ คนที่มีเซ้นส์ คนที่เชี่ยวชาญ คนที่ไวต่อสถานการณ์ เขาอ่านออกไว และเขาเล่นเป็น

สูตรการสื่อสารเพื่อสร้างชื่อเสียง

สูตรการสื่อสารเพื่อสร้างชื่อเสียง ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคม .... 1. สร้างช่องทางการสื่อสารของตนเอง 2. สร้างฐานความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน 3. ฝึกฝนทักษะเบื้องต้นในการสร้างสรรค์คำคมวาทกรรม 4. มีเหตุการณ์เกิดขึ้นซึ่งมีประเด็นอ่อนไหวทางสังคม 5. มีประเด็นที่นำไปสู่ความคิดเห็นขัดแย้งตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป 6. มีฐานความคิดของมวลชนในสังคม ที่สามารถคาดเดาประมาณการได้ว่า มีทิศทางไปในทิศทางใด 7. มี "จังหวะ" มี "ช่องโอกาส" เปิดช่อง ถ้าจัวหวะเปิดช่องไม่ชัด ต้องพยายามค้นหาจังหวะด้วยตนเอง 8. เลือกวางบทบาทตนเอง positioning ตนเอง โดยมากจะเลือก positioning  อยู่กับ - ฝ่ายกลุ่มคนที่สังคมรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม - ฝ่ายกลุ่มคนฐานราก คนจน แรงงาน - ฝ่ายกลุ่มคนชนชั้นกลางที่อ่อนไหว - ฝ่ายที่อยู่บนกระแสหลัก mainstream ของสังคม 9. สร้าง message ที่มี "คำคม" หรือ "วาทกรรม" ที่สร้างแรงดึงดูดความสนใจ เช่น ใช้คำแรง ๆ punch words ใช้คำที่สร้างภาพสร้างสีสัน colorful words โดยส่วนใหญ่จะเลือกอยู่ข้างประเด็นที่ส่งผลกระทบ บรรจุลงในสื่อที่มีอิมแพค เช่น caption, inf

ความคาดหวังและการรอคอย

ความคาดหวังและการรอคอย ............................................ กรณีที่เป็นบุคคลที่มิได้มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิด สนิทสนมกันมาก ๆ ไม่ได้มีความรัก ความผูกพัน ความห่วงใย เฉกเช่น คนรัก คนในครอบครัว คนในที่ทำงาน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนพนักงาน .. เราจะมิได้รอคอย มิได้คาดหวังการสื่อสารจากเขา เขากำลังทำอะไรอยู่ ไม่สำคัญนัก ไม่สำคัญเท่ากับ เขาไปทำสิ่งนั้นมาแล้วจนสำเร็จ ผู้คนอยากได้รับฟังความสำเร็จของเขามากกว่า .. แต่กับบางคนที่เรามีความคาดหวัง กำลังรอคอยความสำเร็จจากเขา เรากลับอยากรับฟังเรื่องราวของเขาอยู่เสมอ อยากรู้ว่าตอนนี้เขากำลังทำอะไร คืบหน้าไปแค่ไหน ได้ผลดีอย่างไร จะก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับเรา และผู้อื่นอย่างไร และเรายังรอคอยที่เขาจะกลับมาเล่า ความสำเร็จของเขาให้ฟัง .. ตัวอย่างเช่น หัวหน้าครอบครัวผู้กล้าหาญของเรา ออกเดินทางออกจากบ้าน ไปขุดทองในหุบเขาแมคเคนนา ภรรยาและลูก อยากได้ยินข่าวสารจากเขาทุกวัน .. ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์กำลังทำการศึกษาค้นคว้าทดลอง ผลิตยาชนิดใหม่ ที่สามารถรักษาโรคร้ายแรงได้สำเร็จ ผู้คนอยากรู้ความคืบหน้าและความสำเร็จ อย่างใจจดใจจ่อ .. การดำเนินนโยบายด

โฆษกทางการเมืองยุคใหม่

โฆษกทางการเมืองยุคใหม่ .................................. มันอาจหมดยุคที่โฆษกทางการเมืองจะต้อง "ห้าวเป้ง" เป็นหลักแล้ว มันอาจพัฒนามาถึงยุคที่ต้องใช้คุณสมบัติ "หญิงแกร่ง ชายเก่ง" ดูดีมีปัญญา ดังนี้ 1. บุคลิกภาพที่มั่นคงหนักแน่น 2. มีความน่าเชื่อถือสูง 3. มีความสามารถในการพูดจาอธิบายเรื่องราวยาก ๆ ให้เข้าใจง่าย 4. มีท่าทีที่นุ่มนวล เป็นมิตร มากขึ้น (มิใช่จ้องตา ถลึงตา เค้นเสียงกร้าวดุดัน) 5. มีเสน่ห์บางประการชวนให้ติดตามข้อมูลข่าวสาร เช่น จังหวะจะโคนในการพูด ความนิ่ง ความจริงจัง การพูดทิ้งประเด็นไว้ให้คิด การตอบโต้ที่ตรงประเด็นด้วยข้อมูลที่หนักแน่น (มิใช่เล่นกับอารมณ์เลื่อนลอยปราศจากข้อมูล) 6. มีความไว เร็ว ทันสถานการณ์ ทันเกม 7. จับประเด็นโดน จับประเด็นใหญ่ ไม่วิ่งไล่ตามกระแส 8. สามารถอ่านใจประชาชนได้ว่าในช่วงเวลานี้ ประชาชนต้องการรู้เรื่องอะไร ทั้งกลุ่มฐานราก กลุ่มชนชั้นกลาง กลุ่มนักธุรกิจ 9. มีทักษะการเปิดประเด็นที่แหลมคม เพื่อจุดมุ่งหมายการสื่อสารทางการเมืองบางประการ 10. มีไอเดียในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ผู้นำรัฐบาลและคณะรัฐบาล ... ยุคสมัยนี้ ผู้

การสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล รัฐบาลอ่อนประชาสัมพันธ์จริงหรือ?

การสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล รัฐบาลอ่อนประชาสัมพันธ์จริงหรือ? ............... คำพูดที่คุ้นเคย คำกล่าวที่คุ้นหู ในเวลาที่ ผู้คนไม่ค่อยจะพึงพอใจ ในการดำเนินงานของรัฐบาล มักจะบ่งชี้ไปที่ "รัฐบาลอ่อนประชาสัมพันธ์ !!" ... อย่าเพิ่งเชื่อคำกล่าวที่คุ้นเคย แต่จงพิจารณาจากข้อเท็จจริง ด้วยใจที่เปิดกว้าง มองรอบด้าน โดยไม่มีอคติ ... การสื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของรัฐบาล มีอยู่ 3 แนวทาง ... 1 สื่อสารประชาสัมพันธ์ "ก่อนลงมือทำ" ให้ผู้คนเข้าใจว่ากำลังจะทำอะไรในอีกไม่ช้านี้ แล้วลงมือทำ ต่อจากนั้นจึงค่อยนำผลงานมาสื่อสารประชาสัมพันธ์ 2 ลงมือทำไปก่อนรอให้เห็นเกิดผลงาน รอให้ผู้คนผลงานเกิดขึ้นเป็นชินเป็นอัน แล้วจึงค่อยสื่อสารประชาสัมพันธ์ 3 สื่อสารประชาสัมพันธ์ ไปพร้อมๆกับการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล บอกกล่าวว่าจะทำอะไร ลงมือทำ นำผลการดำเนินงานมานำเสนออย่างต่อเนื่อง ... ถ้าเป็นผู้คนทั่วไป เขามักสอนกันว่า อย่าพูดก่อนทำ จงลงมือทำให้เห็นผลงานเสียก่อนแล้วค่อยพูด ดังสุภาษิต "ระฆังอย่าดังเอง" ... แต่สำหรับการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ไม่อาบ รอให้เกิดผล