ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คำถามวิจัย และ วิธีการเขียนคำถามวิจัย

คำถามวิจัย

บทนำ

การทำวิจัยโดยเฉพาะการทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นักวิจัยต้องเริ่มจากการเขียน คำถามวิจัย ไม่ใช่เขียน วัตถุประสงค์ของการวิจัย และไม่ใช่่การเขียนสมมุติฐานของการวิจัย (Hypothesis)

ในขณะที่ วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) หมายถึง เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในการทำวิจัย และ สมมุติฐานของการวิจัย (Hypothesis) หมายถึง การคาดเดาคำตอบ การคาดหมายคำตอบที่จะเกิดขึ้น และการทดสอบทางสถิติเพื่อยืนยันคำตอบ หรือยีนยันสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แต่คำถามวิจัยไม่ได้หมายถึงแบบนั้น

ความหมายของคำถามวิจัย

คำถามวิจัย (Research Questions) หมายถึง การตั้งคำถามในเรื่องเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย ว่าในปัญหาวิจัยดังกล่าว มีคำถามที่นักวิจัยสงสัยอยากได้คำตอบอะไรบ้าง คำถามวิจัยเป็นคำถามที่มีฐานคิดมาจากความรู้ทั่วไป ความรู้ทางทางทฤษฎี และรายงานผลการวิจัยที่มีมาก่อนหน้านั้น รวมทั้งคำถามที่มาจากประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง คำถามวิจัยมิใช่การตั้งคำถามคาดเดาอย่างเลื่อนลอยสะเปะสะปะ

คำถามวิจัย (Research Questions) แบ่งออกเป็นสองส่วนสำคัญคือ

1. คำถามวิจัยหลัก (Central Question)
2. คำถามวิจัยย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคำถามหลัก (Associated subquestions)

คำถามวิจัยหลัก (Central Question)

คำถามวิจัยหลัก เป็นคำถามระดับกว้างที่กล่าวถึงประเด็นหลักของเรื่อง เป็นการถามเพื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้ความจริงอันเป็นแกนหลักของปรากฏการณ์ (phenomenon) ที่ศึกษา หรือของแนวคิด (concept) ที่ทำการศึกษา

คำถามวิจัยหลัก

คำถามวิจัยหลัก มักเป็นคำถามเกี่ยวกับ รูปแบบ ระบบ องค์ประกอบ บทบาทหน้าที่ ความสัมพันธ์ ปัจจัยสำคัญ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี กระบวนการ ผลกระทบ ปัญหา สาเหตุ

การวิจัยควรตั้งคำถามวิจัยหลัก ควรมีประมาณ 2-3 คำถาม











วิธีการเขียนคำถามวิจัย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค