ความคาดหวังและการรอคอย
............................................
กรณีที่เป็นบุคคลที่มิได้มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิด สนิทสนมกันมาก ๆ ไม่ได้มีความรัก ความผูกพัน ความห่วงใย เฉกเช่น คนรัก คนในครอบครัว คนในที่ทำงาน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนพนักงาน
..
เราจะมิได้รอคอย มิได้คาดหวังการสื่อสารจากเขา เขากำลังทำอะไรอยู่ ไม่สำคัญนัก ไม่สำคัญเท่ากับ เขาไปทำสิ่งนั้นมาแล้วจนสำเร็จ ผู้คนอยากได้รับฟังความสำเร็จของเขามากกว่า
..
แต่กับบางคนที่เรามีความคาดหวัง กำลังรอคอยความสำเร็จจากเขา เรากลับอยากรับฟังเรื่องราวของเขาอยู่เสมอ อยากรู้ว่าตอนนี้เขากำลังทำอะไร คืบหน้าไปแค่ไหน ได้ผลดีอย่างไร จะก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับเรา และผู้อื่นอย่างไร และเรายังรอคอยที่เขาจะกลับมาเล่า ความสำเร็จของเขาให้ฟัง
..
ตัวอย่างเช่น หัวหน้าครอบครัวผู้กล้าหาญของเรา ออกเดินทางออกจากบ้าน ไปขุดทองในหุบเขาแมคเคนนา ภรรยาและลูก อยากได้ยินข่าวสารจากเขาทุกวัน
..
ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์กำลังทำการศึกษาค้นคว้าทดลอง ผลิตยาชนิดใหม่ ที่สามารถรักษาโรคร้ายแรงได้สำเร็จ ผู้คนอยากรู้ความคืบหน้าและความสำเร็จ อย่างใจจดใจจ่อ
..
การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ จากร้ายให้กลายเป็นดี เพื่อทำให้ผู้คนมีรายได้ดี มีชีวิตที่ดีขึ้น ประชาชนต่างคาดหวัง และต่างรอคอยที่จะเห็นผลการดำเนินงาน
..
ประชาชนต่างรอคอยการสื่อสารจากรัฐบาล รอฟังข้อมูลข่าวสาร การดำเนินงาน ความคืบหน้า ความเปลี่ยนแปลง ผลกระทบ และผลดีที่เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม ทุกวัน หรือแทบจะทุกลมหายใจทีเดียว
..
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในเรื่องเศรษฐกิจจากรัฐบาล ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างยิ่ง ต่อการสร้างความหวัง กำลังใจ และความหมายในการมีชีวิตอยู่ของผู้คน
ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น