ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2016

อย่าราดหมึกดำบนผ้าขาว

อย่าราดหมึกดำบนผ้าขาว ...................................... ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับแนวคิดการปลูกฝังหลักการที่ดีให้แก่เด็กเล็ก แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับการสอดแทรก ตอกย้ำ แนวคิดด้านลบ และ ประเด็นด้านลบ ใส่ในระบบความคิดและความทรงจำของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก อนุบาล ถึง ประถมสี่ (อายุ 10 ขวบ) ประเด็นที่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยที่จะเอาไปยัดเยียดปลูกฝังในระบบความคิดของเด็กคือ ประเด็นการทุจริตคอร์รัปชัน การทุจริตคอร์รัปชัน เป็นความคิดและการกระทำของคนที่บรรลุนิติภาวะ แต่มีความบกพร่องด้านศีลธรรม และมโนธรรมสำนึก เป็นการกระทำของคนที่โตแล้ว รู้ผิดรู้ชอบแล้ว แต่ยังฝ่าฝืนกระทำผิด ทางกฎหมายถือว่ามีความผิดชั่ว แน่นอนว่าสมควรลงโทษให้เหมาะสมเพื่อป้องกันยับยั้งการกระทำผิดต่อไป แต่การป้องกันแก้ไข ไม่ใช่เอาข้อบกพร่องของตนเอง ความผิดชั่วของตัวเอง ไปให้เด็กรับรู้ แบกรับปัญหา เมื่อตัวเองไร้ความสามารถแก้ไขการกระทำผิดชั่วของพวกตัวเองได้ จึงผลักภาระให้เด็ก จะถูกต้องหรือ ประเด็นเนื้อหาการทุจริตคอร์รับชั่น เป็นเรื่องราวด้านลบ คีย์แมสเสจที่ใช้ในการรณรงค์ในกลุ่มเด็ก &q

การสร้างนวัตกรรม

ความหมายของนวัตกรรม นวัตกรรม (Innovation) เป็นการทำให้เกิดความคิดและนำความคิดไปทำให้เกิดรูปธรรม สิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ 1. ส่วนแรกคือ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มีลักษณะ เป็นนามธรรม 2. ส่วนที่สองคือ การประดิษฐ์คิดค้นเพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ (Invention) มีลักษณะรูปธรรม และ 3. ส่วนที่สามคือ การนำนวัตกรรมไปใช้ (Application) มีลักษณะรูปธรรม ออกซ์ฟอร์ดดิคชันนารีให้คำนิยามไว้ว่า “นวัตกรรม (Innovation) คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สิ่งหนึ่งเพื่อสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา”   (Making changes to something established by introducing something new) (The New Oxford Dictionary of English, 1998, p.942) O’Sullivan and Dooley เห็นพ้องกับการให้คำนิยามของออกซ์ฟอร์ดดิคชันนารี และพวกเขาได้ให้คำนิยามเชิงขยายความอีกว่า “นวัตกรรม คือ กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สิ่งหนึ่ง เพื่อที่จะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา โดยมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า” (David O’Sullivan and Lawrence Dooley, 2009, p.4) สิ่งที่พวกเขาเน้นคือ “การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า” โดยเขาเสนอ

เสบียงชีวิต 10 ประการ ที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จและความสุขในชีวิต

เสบียงชีวิต 10 ประการ .................................... สิ่งจำเป็นในชีวิต ที่เปรียบเสมือนเสบียงหล่อเลี้ยงชีวิต ที่เราทุกคนต้องมีไว้ เพื่อรับมือกับปัญหา เพื่อเอาชนะอุปสรรค เพื่อผลักดันชีวิตตนเองไปสู่ความสำเร็จของชีวิต และความสุขที่จะได้รับในชีวิต ประกอบด้วย ปัจจัย 10 ประการ ได้แก่ 1. ความหวัง - ต้องมีเสมอเพื่อให้ชีวิตเดินหน้าต่อไปได้ หมดความหวังเมื่อไหร่ชีวิตหมดทางไป 2. กำลังใจ - ต้องมีไว้ยามต้องการคนสนับสนุน 3. แรงบันดาลใจ - ต้องสร้างเพื่อจูงใจให้ขับเคลื่อนตัวเองไปสู่ความสำเร็จ 4. ความมุ่งมั่น - ต้องมีอย่างเข้มข้นเพื่อผลักดันตัวเองให้ขับเคลื่อนตัวเองไปสู่ความสำเร็จ 5. ความเข้มแข็ง - ต้องมีไว้ยากเผชิญหน้ากับปัญหา 6. ความเพียร - ต้องมีไว้ยามเผชิญอุปสรรค ความอ่อนล้า ความท้อแท้ 7. ความกล้าหาญ - ต้องมีไว้ยามเผชิญหน้ากับศัตรู และ ความกลัวทุกชนิดในโลก 8. ความรู้ - ต้องมีไว้เพื่อเอาชนะปัญหา และ เพื่อนำทางไปสู่ความสำเร็จ 9. ความสัมพันธ์ - ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคน 3 ประเภท (1) ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ (2) ผู้มีอำนาจมีบารมีมีศักยภาพ (3) ผู

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

คำว่าข่าว (NEWS) อาจจะถึงคราวล่มสลายในไม่ช้า

คำว่า "ข่าว" (NEWS) อาจจะถึงคราวล่มสลายในไม่ช้า*** ................................................................................... สิ่งที่กำลังจะล่มสลายไปเพราะ "พายุลูกมหาศาล" (Giant Storm) คือพายุ "ดิจิทัล" (Digital) โหมกระหน่ำจนอาจถึงคราวล่มสลาย ไม่ใช่แต่เฉพาะคำว่า "สื่อสิ่งพิมพ์" แต่มันอาจหมายรวมถึงคำว่า "ข่าว" (NEWS) ด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล จะทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารับรู้ เห็น สัมผัส จับต้อง บริโภค กลายเป็น "ข้อมูลข่าวสาร" (INFORMATION) ที่ถูกนำมาบรรจุไว้ในสิ่งที่เรียกว่า "ก้อนเนื้อหา" (CONTENT) ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) สังคมจะกลายเป็น "สังคมแห่งการสื่อสาร" คนในสังคมจะทำการสื่อสารกันอย่างกว้างขวาง ด้วยความถี่สูง มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ อย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด โดยไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเวลาตามเข็มนาฬิกา แต่จะขึ้นอยู่กับอารมณ์ ควมมรู้สึก ความต้องการ และความอากได้ของมนุษย์ ผู้คนในสังคมจะพากันทำการสื่อสารตลอดเวลา ทั้งการสร้าง การผลิต เผยแพร่ รับรู้ บริโภค