ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อย่าราดหมึกดำบนผ้าขาว

อย่าราดหมึกดำบนผ้าขาว
......................................
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับแนวคิดการปลูกฝังหลักการที่ดีให้แก่เด็กเล็ก

แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับการสอดแทรก ตอกย้ำ แนวคิดด้านลบ และ ประเด็นด้านลบ ใส่ในระบบความคิดและความทรงจำของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก อนุบาล ถึง ประถมสี่ (อายุ 10 ขวบ)

ประเด็นที่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยที่จะเอาไปยัดเยียดปลูกฝังในระบบความคิดของเด็กคือ ประเด็นการทุจริตคอร์รัปชัน

การทุจริตคอร์รัปชัน เป็นความคิดและการกระทำของคนที่บรรลุนิติภาวะ แต่มีความบกพร่องด้านศีลธรรม และมโนธรรมสำนึก เป็นการกระทำของคนที่โตแล้ว รู้ผิดรู้ชอบแล้ว แต่ยังฝ่าฝืนกระทำผิด ทางกฎหมายถือว่ามีความผิดชั่ว

แน่นอนว่าสมควรลงโทษให้เหมาะสมเพื่อป้องกันยับยั้งการกระทำผิดต่อไป

แต่การป้องกันแก้ไข ไม่ใช่เอาข้อบกพร่องของตนเอง ความผิดชั่วของตัวเอง ไปให้เด็กรับรู้ แบกรับปัญหา เมื่อตัวเองไร้ความสามารถแก้ไขการกระทำผิดชั่วของพวกตัวเองได้ จึงผลักภาระให้เด็ก จะถูกต้องหรือ

ประเด็นเนื้อหาการทุจริตคอร์รับชั่น เป็นเรื่องราวด้านลบ คีย์แมสเสจที่ใช้ในการรณรงค์ในกลุ่มเด็ก "การโกง" "การทุจริต" "โตไปไม่โกง" เป็นประเด็นด้านลบ

ยิ่งตอกย้ำประเด็นด้านลบ ยิ่งเป็นผลเสียแก่เด็ก ยิ่งนำเสนอกลวิธีการโกงรูปแบบต่าง ๆ ให้เด็กรับรู้ ยิ่งเป็นผลเสียแก่เด็ก

การนำเสนอเรื่องราวว่า ถ้าพ่อโกง ลูกจะอับอาย ไม่กล้าไปโรงเรียน ไปโรงเรียนโดนเพื่อนล้อเลียด ขับไล่ออกจากกลุ่ม ไม่ให้มีที่ยืนในสังคม เป็นผลร้ายแก่เด็กอย่างยิ่ง

ประเด็นที่ควรนำเสนอและปลูกใงในระบบความคิดของเด็ก คือ หลักคุณธรรม หลักคิดที่ดีงาม ข้อประพฤติปฏิบัติอันดีงาม ซึ่งเป็นเนื้อหาด้านบวก

การตอกย้ำเรื่องราวด้านบวกให้แก่ระบบความคิดของเด็กเป็นผลดีทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อเด็กมากกว่า

แม้วันนี้ยังแก้ปัญหาการทุจริตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองยังไม่ได้ ก็ต้องก้มหน้าก้มตาแก้ปัญหาต่อไป อย่าผลักภาระให้เด็ก

ภาพที่สะเทือนใจที่สุด คือ เด็กอนุบาลสอง อนุบาลสามถูกบังคับ ถูกชักจูง ให้ร้องเพลงโตไปไม่โกง ที่หน้าเสาธงทุกเช้า

เด็กยังไม่รู้จักว่า "โกง" คืออะไร เด็กยังโกงไม่เป็น มีแต่พวกคุณที่โต ๆ แล้วนั่นแหละ "โกงเป็น" เด็กยังมีจิตใจสะอาดบริสุทธิ์ โปรด "อย่าเอาหมึกดำไปราดผ้าขาว"

นักนิเทศศาสตร์ นักการสื่อสาร นักรณรงค์ นักประชาสัมพันธ์ โปรดคิดไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนทำการสื่อสาร

ผู้นำ นักบริหาร นักการเมือง อาจไม่คิดถึงประเด็นเหล่านี้เพราะเขาไม่ได้เรียนด้านนี้ แต่สำหรับคุณผ฿วิชาชีพด้านการสื่อสารต้องคิด

การสื่อสาร ทำให้รับรู้ รู้จัก จดจำ นำไปใช้
การสื่อสาร ทำให้เกิดการปลูกฝังความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ โลกทัศน์

เราควรปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม มากกว่าสิ่งที่เลวร้าย
เราควรปลูกฝังอบรมคุณธรรมให้แก่เด็กมากกว่าอธรรม

Key message "โตไปไม่โกง" คือ วาทกรรมที่ให้ "เด็ก" ส่งเสียงท่องจำ ท่ามกลางการโกงทุกหนแห่ง

ความหมายที่ได้รับรู้จากเนื้อหาที่พยายามสอนให้เด็กเชื่อ มันช่างขัดแย้งกับภาพที่เด็กเห็นรอบ ๆ ตัว อย่างสิ้นเชิง

การกระทำมีอิทธิพลต่อความเชื่อมากกว่าคำพูดเสมอ

หากต้องการแก้ปัญหาจริง ๆ เริ่มต้นที่ตัวเองก่อนดีไหม?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค