ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในโลกออนไลน์

ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในโลกออนไลน์
....................................................................................................
เครือข่ายที่เราเชื่อมโยงติดต่อสัมพันธ์กันอยู่บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็น "เครือข่ายสื่อสารเชิงสื่อ" (media network) ด้วยเพราะ "สื่อ" เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน ให้สามารถติดต่อกันได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนเราจะติดต่อและสื่อสารกันเสมอไป

นอกจากนี้ระบบล็อกการิธึมของคอมพิวเตอร์ที่เข้าของสื่อเช่นเฟซบุ๊กตั้งค่าไว้ จะเป็นตัวจำกัดและเป็นตัวกรองการสื่อสารให้สามารถเช้าถึงบุคคลอื่นได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจากตัวเลขที่เปิดเผยทราบว่าอยู่ในระดับที่น้อยมาก

ดังนัน การที่ผู้คนจะมีระดับความสัมพันธ์ใกล้ชิด สนิทสนม เชื่อถือ ไว้วางใจกัน มีความรัก ความผูกพันต่อกัน ห่วงใยกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จึงต้องอาศัยปัจจัยอีกอย่างหนึ่งคือ "การทำการสื่อสาร" (communicating)

โดยการส่งข่าวสาร รับรู้ ตอบสนอง โต้ตอบ นำเสนอ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน อย่างสม่ำเสมอ

ในเบื้องต้นอาจตั้งสมมุติฐานได้ว่า "ตัวแปรอิสระ" ที่มีผลต่อตัวแปรตาม "ระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในโลกออนไลน์" ประกอบด้วย 4 ตัวแปรหลัก ได้แก่

(1) ความถี่ในการทำการสื่อสารระหว่างคู่ของการสื่อสาร (frequency) อันส่งผลให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิด

(2) ความถี่ในการแสดงความรู้สึกร่วม/อารมณ์ร่วมผ่านการแสดงความคิดเห็นหรือคอมเม้นท์ (mutual communication) อันส่งผลให้เกิดความรู้สึกร่วมทางอารมณ์ ในลักษณะความเข้าใจ ใจถึงใจ หัวอกเดียวกัน

(3) ระดับความรู้สึกผูกพันระหว่างคู่สนทนา (engagement) อันส่งผลให้เกิดความรู้สึกสนิทสนม ห่วงใย รักใคร่ชอบพอ

(4) ระดับความพึงพอใจจากการสื่อสารระหว่างคู้สนทนา (satisfaction) อันส่งผลให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขใจ ชอบพอ ยินดี ภักดี

หมายเหตุ การตั้งสมมุติฐานนี้ยังต้องการทฤษฎีมาสนับสนุนการกล่าวอ้าง ในที่นี้จึงเป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้น

ลำพังเครือข่ายการสื่อสารเชิงสื่ออย่างเดียว ไม่อาจสร้างความรู้สึกสัมพันธ์แน่นแฟ้นได้ ไม่อาจสร้างความรู้สึกห่วงหาอาทรได้ หากปราศจากการทำการสื่อสารที่สร้าง ความรู้สึกใกล้ชิด ความเข้าใจ ความรู้สึกสนิทสนม และความพึงพอใจ

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
12 ธันวาคม 2559

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค