ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กระบวนทัศน์นิเทศศาสตร์ในศตวรรษที่ 21

กระบวนทัศน์นิเทศศาสตร์ในศตวรรษที่ 21
..............................................................
วิชานิเทศศาสตร์ในยุคศตวรรษที่ 21 ควรจะเป็นมากกว่ากว่าวิชาที่สอนเรื่อง "การสื่อสาร" การทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการสื่อสาร วิธีการสื่อสาร ให้เกิดความชำนาญ เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปแสวงหาประโยชน์ในรูปทรัพย์สินเงินทอง ตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ ความสำเร็จ และความสุขส่วนตัว

แต่ควรจะพัฒนากระบวนทัศน์ 3 กระบวนทัศน์หลัก ได้แก่

1. กระบวนทัศน์ในการมีอยู่ของวิชานิเทศศาสตร์ (Science Being Approach) เป็นการตั้งคำถามกับตนเองว่า เรามีศาสตร์ว่าด้วยนิเทศศาสตร์เกิดขึ้นมาทำไมบนโลกนี้ มันมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น ๆ อย่างไร มันมีคุณค่าต่อมนุษยชาติอย่างไร

วิชานิเทศศาสตร์ควรมีความคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ (1) มิติทางเศรษฐกิจ (2) มิติทางการเมือง (3) มิติทางสังคม (4) มิติทางวัฒนธรรม และ (5) มิติทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพื่อรับรู้ ตระหนัก มีส่วนร่วมรับผิดชอบ มีส่วนร่วมดำเนินการ มีส่วนร่วมผูกพันตนกับสภาพแวดล้อมนั้น และช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์ พัฒนา ให้สิ่งเหล่านั้นดีขึ้น ทำให้ชีวิตมนุษย์มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีคุณค่ามากขึ้น

นักนิเทศศาสตร์ควรคิดได้ว่า การเปิดเครื่องปรับอากาศหรือการสตาร์ทรถยนต์เปิดแอร์นอนเล่นเพียงชั่วโมงเดียว สามารถทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลายได้

2. กระบวนทัศน์ว่าด้วยวิธีการสร้างสรรค์พัฒนาความคิดและความเชี่ยวชาญของมนุษย์ (Human Being Approach) เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเชิงรูปธรรมของประเด็นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยนัยนี้ การสื่อสารควรมีจุดมุ่งหมายครอบคลุมไปถึงเรื่อง "นวัตกรรมด้านการสื่อสาร" ทั้งด้านการสร้างสรรค์ (creation) การออกแบบ (design) การพัฒนา (developing) การประยุกต์ใช้ (apply) การปรับปรุงแก้ไข (improvement) การสร้างสรรค์ใหม่ (re-creation) เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น

มิติในการพัฒนาดังกล่าวนี้ ควรมองให้ครบทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับตนเอง ระดับองค์กร และระดับสังคม

3. กระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยี (Technological Approach) วิชานิเทศศาสตร์ ต้องอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสรรค์ ออกแบบ พัฒนา ประยุกต์ใช้ ปรับปรุงแก้ไข สร้างสรรค์ใหม่ สร้างนวัตกรรมได้

ผู้เรียนทุกคนจึงควรศึกษาให้รู้จัก รู้จักใช้ รู้เท่าทัน ออกแบบพัฒนาระบบได้ เทคโนโลยีการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ผู้เรียนจึงต้องรู้ให้เท่ารู้ให้ทัน หากพูดถึงยุคปัจจุบันเราคงต้องเรียนรู้ เทคโนโลยีการสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) เทคโนโลยีการสื่อสารแบบมัลติสกรีน (Multi-screen) เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านจอโทรศัทพ์สมาร์ทโฟน (Smart device) แอพพลิเคชั่น (Application) โซเชียลมีเดีย (Social media) การหลอมรวมสื่อ (Convergence media) การบูรณาการสื่อ (Integration of media) และยังหมายรวมไปถึงระบบ Bar code ระบบ QR code ระบบ Tracking system ระบบ Logistic ที่นักนิเทศศาสตร์ควรรู้จักและใช้ให้เป็น

.........
นักนิเทศศาสตร์ ครูอาจารย์ นิสิต นักศึกษา อย่ามัวสนุกอยู่ในกรอบอันจำกัดทางทฤษฎีเท่าที่มีอยู่ แต่ควรมองหาทางออกจากทฤษฎีที่หลากหลาย ประสบการณ์อันกว้างขวาง โดยเฉพาะ "การสร้างสรรค์ใหม่" และ "การจินตนาการใหม่" ที่ไร้กรอบจำกัด ปราศจากความเคร่งครัดเรื่องระเบียบวิธี


อย่ามัวสนุกอยู่ในกรอบอันจำกัด อย่ามัวทำตัวเป็นหนูถีบจักร ซึ่งคุณจะไม่มีวันเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางอันไกลโพ้น

อย่ามัวแข่งมอเตอร์ไซค์ไต่ถัง ที่แม้คุณจะมีประสบการณ์ยาวนานเพียงใด มีทักษะความชำนาญมากเพียงใด แต่คุณก็ไม่มีวันปีนป่ายไปถึงยอดเขาเอฟเวอร์เรสท์ (เป็นเพียงคำอุปมา มิได้มีเจตนาดูหมิ่นอาชีพ)

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
12 ธันวาคม 2559
9.59 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค