ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิพากษ์อย่างเดียวไม่พอ

วิพากษ์เพียงอย่างเดียวไม่พอ
...........................................
ขณะที่เรากำลังวิพากษ์บริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศนี้ในประเด็นการครอบงำกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ ครอบงำระบบการไหลเวียนของเงินจากสาธารณะไปสู่กระเป๋าเงินของนายทุน

ในเวลาเดียวกันผู้บริหารระดับสูงของเขา ออกมาปลุกเร้าพนักงานของเขาเร่งรัดพัฒนายิ่งขึ้น โดยเขาแนะนำให้ "น้อมรับและรับฟัง" คำติเตียนของสังคม แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ก้มหน้าก้มตาทำงานของตนต่อไป ขอให้เอาชนะใจประชาชนด้วยผลงาน

มองดูภาพใหญ่เราจะเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้ กำลังสร้าง ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนา ใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่

1. การพัฒนาคน (Human) มีการพัฒนาความรู้ ความคิด การทำงานร่วมกัน การร่วมกันสร้างสรรค์ การแข่งขัน การสนับสนุน การส่งเสริม ให้คนในองค์กรมีสมรรถนะสูงขึ้น มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อให้คนเหล่านี้เป็นขุมกำลังสำคัญในการคิดค้น ประดิษฐ์ ผลิต ขายสินค้าที่เราพอใจ เก็บเงินใส่กระเป๋า

2. การพัฒนาระบบ (System) มีการพัฒนาระบบงาน แนวคิดในการทำงาน วิธีการทำงาน ระบบการผลิต ระบบการบริการ ระบบการประสานงาน ระบบการควบคุม ระบบการติดตาม ระบบการประเมินผล รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการทำงาน เทคโนโลยีการผลิต ทั้งเทคโนโลยีชีวภาพ ดิจิทัล การสื่อสาร ลอจิสติกส์ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ผลิตภาพ คุณภาพ ของกระบวนการทำงานและกระบวนการผลิตให้ดียิ่งขึ้น มีมาตรฐานสูงขึ้น
3. การพัฒนาสินค้า (Commodity) มีการออกแบบ การสร้างสรรค์ การพัฒนา ตัวสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการ ความอยากได้ ของผู้บริโภค สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต ค่านิยม รสนิยม ของคนในประเทศ จนทำให้ผู้คนในประเทศเกิดความพึงพอใจในสินค้าที่เขาหยิบยื่น นำเสนอขาย และนำเสนอการบริการ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเขากันทั้งประเทศ

มองดูที่ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือทรู 3G 4G Internet Online True vision

มองดูที่ Makro ผู้คน ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว พ่อค้าแม่ค้า ผู้ค้าปลีก ผู้ประกอบการต่างไปเป็นลูกค้าของเขา

มองดูที่ 7-ELeven นับหมื่นสาขาทั่วประเทศ มีคนเข้าไปซื้อสินค้าเขา "นาทีละกี่คน" มีคนอยากสมัครไปทำงานกับเขามากเท่าใด มีคำถามถึงเขาว่า "ทำไมแถวบ้านไม่มีเซเว่นบ้าง"

ทุกวันนี้ในประเทศไทย &-Eleven กลายเป็น "สัญญะ" สื่อความหมายถึง "ความทันสมัย และ ความเจริญ" ไปแล้ว

มองในมิติหนึ่ง นี่คือ การทำธุรกิจที่ครอบงำกิจการ ครอบงำวิถีชีวิตผู้คน

มองในอีกมิติหนึ่ง นี่คือ กระบวนการพัฒนาคน พัฒนาระบบ และพัฒนาสินค้า

ไม่มีความตั้งใจที่จะเชียร์ แต่ต้องการกระตุ้นให้คิด !!

ขณะที่เขากำลังพัฒนาคน พัฒนาระบบ และพัฒนาสินค้า แล้วลองถามตัวเองว่า "เรากำลังทำอะไร?"

สถาบันการศึกษากำลังทำอะไร? นิสิตนักศึกษากำลังทำอะไร? ผู้ประกอบการกำลังทำอะไร?

การวิพากษ์เป็นสิ่งดี ช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ แต่การวิพากษ์เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการสร้างความสำเร็จ การวิพากษ์เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนา แต่เราต้องการการลงมือพัฒนาอย่างจริงจัง

เราควรพัฒนาอะไรบ้าง ทุกคนคงรู้คำตอบดี

ขอเพียงแค่ "การเปลี่ยนแปลง" ทั้งเปลี่ยน "กระบวนทัศน์ในการคิด" และเปลี่ยน "กระบวนทัศน์ในการพัฒนา"

12 ธันวาคม 2559

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค