ดอกเตอร์คืออะไร ??
เครดิตภาพ Rochester University
เมื่อผมบรรลุความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งคือ เรียนจบปริญญาเอกแล้ว..
ผมจะมีอิสรภาพในการทำในสิ่งที่ตัวเองรัก..ไม่ใช่เพราะคุณวุฒิที่เพิ่มขึ้นที่นิยมเรียกกันว่า..ดอกเตอร์..
แต่เพราะมีความเป็นอิสระด้านเวลาและความคิดมากขึ้น..
ผมเชื่อมาตลอดว่าดอกเตอร์เป็นแค่คำที่ใช้เรียกผู้เรียนหนังสือจบตามเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนดเท่านั้น
1. ความสามารถในการคิด
2. ความสามารถในการสร้างความรู้และใช้ความรู้
3. ความสามารถในการสร้างสรรค์และพัฒนา และ
4. ความสามารถในการควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักคุณธรรมจริยธรรมที่ดีของสังคมได้
ผมคิดว่า..ความสามารถ 4 ด้านนี้ต่างหาก คือเครื่องหมายของความสำเร็จของบุคคลในขั้นสูงมากกว่าคำเรียกคำเดียวว่าดอกเตอร์..
ดังเราจะเห็นดอกเตอร์ที่ไม่มีความสามารถ 4 ด้านที่ผมพูดถึงมากมายในมหาวิทยาลัยและในสังคมทุกวันนี้..
ที่อันตรายที่สุดคือ คนที่ไม่ได้มีความสามารถแบบนี้..กำลังเผยแพร่สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" และสิ่งที่เรียกว่า "แบบอย่าง" ซึ่งเป็นความรู้และแบบอย่างที่ผิดๆ ให้กับคนที่เกี่ยวข้อง..
ผ่านทางตำแหน่งหน้าที่ สถานภาพและบทบาท เช่น คณบดี อธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ผู้นำทางสังคม ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ ซึ่งมีอิทธิพลให้คนอื่นเชื่อถือและคล้อยตาม
ที่ตั้งคำถามนำไว้ตอนต้นว่าดอกเตอร์คืออะไร ??
ตามทัศนะของผมเห็นว่า..
ดอกเตอร์..คือ บุคคลที่มีโอกาสเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่งมีอำนาจในการสถาปนาบุคคลให้มีฐานะและมีชื่อเรียกว่า ดอกเตอร์ และได้ทำตามเงื่อนไขของการศึกษาอย่างครบถ้วนเท่านั้นเอง
การจบดอกเตอร์ ไม่สามารถยืนยันได้ว่าบุคคลผู้นั้นมีความรู้และความคิดถึงระดับที่สังคมคาดหมายได้
จนกว่าบุคคลนั้นจะได้กระทำให้เห็นเชิงประจักษ์ต่อหน้าชุมชน ต่อหน้าประชาชน และต่อหน้าสังคม
รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
15 กรกฎาคม 2556
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น