ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คิดถึงคุณชายพีร์..พ้นจากวันนี้เราคงไม่ได้เจอกันอีกแล้ว

คิดถึงคุณชายพีร์..พ้นจากวันนี้เราคงไม่ได้เจอกันอีกแล้ว

งานนี้ต้องไม่พลาด..ยังไงๆ ก็ต้องไม่พลาด

กังวลใจไม่น้อย ดูข่าวพยากรณ์อากาศบอกว่า ค่ำนี้ฝนจะตกหนัก พายุลมรุนแรงมาก 
กลัวต้นไม้ใหญ่โค่นทับเสาไฟฟ้า ทำให้ไฟฟ้าดับ กลัวจริงๆ

เพราะวันนี้ เป็นตอนอวสานของ "สุภาพบุรุษจุฑาเทพซีรี่ส์" เวอร์ชั่น "คุณชายรณพีร์" ขวัญใจมหาชน


คิดไว้ว่าตอนเย็นอาจจะต้องออกไปหาซื้อเครื่องปั่นไฟสักเครื่อง 

ลองโทรศัพท์ไปถามที่ห้างโฮมโปรใกล้บ้านว่าจะซื้อรุ่นไหนดี 

พนักงานขายบอกว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็ต้องซื้อ Mitsubishi แต่เดี๋ยวนี้คนไม่นิยมแล้ว

ยี่ห้อที่มาแรงที่สุด คนนิยมมากคือ ยี่ห้อ Kwai-Thong 

เมื่อไม่เคลียร์ จึงถามย้ำไปว่ายี่ห้ออะไรนะ ?

พนักงานย้ำหนักแน่นชัดเจน "ยี่ห้อควายทอง" ครับพี่

คนนิยมมาก นิยมมาตั้งแต่ตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 2554

ขนาดกำลังไฟสัก 3,000 วัตต์ พอใช้ดูทีวีจอแบนขนาด 55 นิ้วได้

ราคาอยู่ที่ประมาณ 21,500 บาท..คิดอยู่นี่ว่าจะซื้อดีมั๊ย

สองจิตสองใจ เผื่อไฟมันดับขึ้นมาจริงๆ แล้วจะเสียใจเป็นที่สุด

เลยโทร.ไปจองไว้เครื่องนึงแล้วนะ เย็นๆ จะออกไปเอามา

คิดแล้วใจหาย สงสารคุณชายพีร์ มีจิตใจกล้าหาญ เสียสละ

ไปขับเครื่องบินรบแทนนายยอด ไม่งั้นก็ไม่ถูกยิงตกเกือบตายขนาดนี้หรอก

ยิ่งฟังจดหมายที่คุณชายพีร์เขียน บอกรักเพียงขวัญแล้ว สะเทือนใจที่สุด

แถมยังมาย้ำด้วยคำรำพันของเพียงขวัญว่า หากคุณชายพีร์ตายไป ขวัญจะอยู่ยังไง ฟังดูคล้ายๆ อังศุมาลิน กอดโกโบริที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย ร้องไห้จนโกโบริขาดใจตายไปต่อหน้าต่อตา

คิดๆ แล้ว อะไรมันก็ไม่แน่ไม่นอน

ซื้อเครื่องปั่นไฟดีกว่า..ถึงไฟฟ้าไม่ดับ ก็เก็บไว้ใช้ เผื่อน้ำจะท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 อีกก็ได้ใครจะไปรู้

เย็นนี้ ผมจะไปซื้อเครื่องปั่นไฟ ควายทอง (Kwai Thong)

เอาไว้ปั่นไฟ..ดู "คุณชายรณพีร์" ให้หายคิดถึง

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
7 กรกฎาคม 2556


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค