ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ใครเอาปัญหาข้าวไปเล่นการเล่นการเมือง ??


ใครเอาปัญหาข้าวไปเล่นการเล่นการเมือง

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถี..เล่นการเมืองหรือ ?
ปัญหาสารพิษตกค้างในข้าว..เป็นปัญหาการเมืองหรือ ?

ผู้บริโภคเสี่ยงอันตรายกินข้าวปนเปืื้อนสารพิษ..ผู้บริโภคเล่นการเมืองหรือ ?
ชาวนา ทำนา ปลูกข้าว ขายข้าวให้โรงสี..ชาวนาเล่นการเมืองหรือ ?
ชาวนาซื้อข้าวสารถุงจากโรงสีที่มีสารพิษเมทิล โบรไมด์ตกค้างมากิน..ชาวนาเล่นการเมืองหรือ ?

ใครเล่นการเมือง..ใครเอาปัญหาข้าว ไปเล่นการเมือง ??

         การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถี.ตรวจสารพิษตกค้างในข้าว และตรวจพบว่ามีข้าวสารบางยี่ห้อมีสารพิษตกค้างเกินระดับมาตรฐานจริง..ตกลงมูลนิธิสองแห่งนี้ "เล่นการเมืองด้วยหรือ ??
         การตักเตือนภัยสารพิผษตกค้างในข้่าวสาร เป็นประเด็นการเมือง หรือเป็นการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน อย่างไหนมีน้ำหนักกว่ากัน
          เมื่อตรวจ "พบปัญหา" แจ้งปัญหาให้ประชาชนทราบ แจ้งให้หน่วยงานรัฐทราบ เพื่อ "แก้ปัญหา" นายกรัฐมนตรีรับทราบปัญหา และดำเนินการทันทีสองเรื่อง
          1. สั่งกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการตรวจสอบแก้ไขปัญหา
          2. กระทรวงสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ อย. เร่งแก้ปัญหา ลงไปตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง 
          3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบพบข้าวสารมีสารพิษตกค้าง 94 ppm มากกว่าที่มูลนิธิฯ ตรวจพบ 67.4 ppm
          4. อธิบดีกรมวิชาการเกษตรสั่งลุยตรวจข้าวถุงทั้งหมดภายในประเทศ
          5. สื่อมวลชนเดินทางไปเยี่ยมชมกระบวนการผลิตข้่าวตราฉัตร ของซีพี วันที่ 17 กรกฎาคม 2556
          6. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยี่ยมชมกระบวนการผลิตข้่าวตราฉัตร ของซีพี วันที่ 18 กรกฎาคม 2556
          7. บริษัทผู้ผลิตข้าวถุงรายใหญ่อย่างข้าวหงษ์ทอง เคลื่อนไหวสนับสนุนให้ อย. กำหยดมาตรฐานของสารปนเปื้อนเมทิล โบรไมด์ในข้าวถุงต้องไม่เกิน 50 ppm ตามาตรฐาน codex
           8. เกิดข้อมูลใหม่ว่า FAO ออกกฎเตือนให้งดใช้สารเมทิล โบรไมด์มาร่วม 2 ปีแล้ว
           9. ผู้ประกอบการข้าวถุงหลายรายเลิกใช้สารเมทิล โบรไมด์ หันมาใช้ "สารฟอสฟีน" แทน
           10. ข้าวถุงหงษ์ทองไม่ได้ใช้สารเมทิล โบรไมด์มา 6 เดือนแล้ว ในขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นหลายรายยังใช้อยู่
            11. รัฐบาลผลักดันให้การประกอบกิขการข้าวสารถุง ต้องได้มาตรฐาน GMP ภายในวันที่ 1 มกราคม 2557
             12. สื่อมวลชนเกาะติดปัญหาสารพิษตกค้างในข้าวสาร นับตั้งแต่คุณสุทธิพงษ์ วุฒิธรรม โพสต์เฟสบุ๊ก เตือนประชาชนให้ระวังในการบริโภคข้าว เกาะติด รายงาน ปัญหา รายงานผลการเยี่ยมชม โรงงานผลิตข้าวตราฉัตร ของซีพี ขยายผลค้นหาข้อมูลข่าวสารมาเสนอให้ประชาชนทราบ
              13. ความตื่นตัวของประชาชน ความเอาใจใส่ของสื่อมวลชน เป็นพลังผลักดันทางอ้อมให้รัฐบาล ดำเนินการในสิ่งที่เป็นการแก้ปัญหาหลายเรื่อง 
               14. บริษัทผู้ประกอบการข้าวถุงตื่นตัว พัฒนากระบวนการผลิตให้มีมาตรฐานมากขึ้น

               ทั้งสิบสี่ข้อนี้ เป็นเรื่อง "การเล่นการเมือง" หรือ ?

               การทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชน ของบุคคล 4 ฝ่าย ไดแก่
               ก. ฝ่ายเอกชนอิสระ มูลนิธิ
               ข. บริษัทเอกชนผู้ประกอบการข้าวสารถุง
               ค. หน่วยงานภาครัฐ เช่น อย. กระทรวงสาธารณสุข กรมวิชาการเกษตร
               ง. รัฐบาล โดยผู้นำสูงสุด คือ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี

               ทั้งหมดนี้เป็น "การเล่นการเมือง" หรือ ?

               สังคมไทยวันนี้ มีคนบางคน คนบางกลุ่มมีความพยายาม "ตีสนิทกับชาวนา" โดยอ้างว่า มีการนำปัญหาข้าวไปเล่นการเมือง
                คิดตามท่านว่าแล้ว น่าจะมีมูลความจริง ว่ามีบางคน บางกลุ่มกำลัง เอาปัญหาข้าวไปผูกโยงกับเรื่องทางการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

                 รูปแบบที่ 1 "ตีสนิทชาวนา เอาชาวนามาเป็นพวก" ทำตัวเป็นมิตรแท้ของชาวนา รัก และเป็นห่วงชาวนา แล้วโจมตีว่า มีการนำปัญหาข้าวไปเล่นการเมือง ทำลายตลาดข้าว ทำร้ายชาวนาโดยความจริงแล้ว คนที่คิดและพูดแบบนี้ ชีวิตนี้ไม่เคยทำนา ไม่รู้จักแปลงนา ไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว เลยแม้แต่น้อย

                  รูปแบบที่ 2 สร้างปัญหาข้าวให้สับสน โดยเอาปัญหาสารพิษตกค้างในข้าวสาร ไปปะปนกับเรื่อง จำนำข้าว 15,000 บาท ยอมรับว่ามันเป็นผลสืบเนื่องจากการรับจำนำข้าว การเก็บสต็อกข้าว แต่มันคนละเรื่องกับ "กระบวนการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร" บรรจุถุง ที่ไม่ได้มาตรฐาน

                  รูปแบบที่ 3 "สถาปนาวีรบุรุษใหม่" ฉวยโอกาสโจมตีรัฐบาล โจมตีบุคคลที่เกี่ยวข้อง โจมตีทุกเรื่อง เพื่อสร้างสถานดารณ์ สร้างโอกาสในการสถาปนาตนเองเป็นวีรบุรุษขอาวนา รู้ดีทุกปัญหาที่เกี่ยวกับข้าว

                  ผมขอถามว่า 
                  1. ชาวนา "กินข้าว" หรือเปล่า ?
                  2. ชาวนามีโอกาสกินข้าวที่มีสารพิษเมทิล โบรไมด์ ตกค้างอยู่หรือเปล่า ?
                  3. ชาวนามีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ เลือกซื้อข้าวที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุดมากินหรือเปล่า ?
                    4. ชาวนามีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ ในการกำหนดตลาดข้าว ราคารับซื้อข้าว ราคาปุ๋ย ราคายากำจัดศัตรูพืช หรือเปล่า ?
                      5. ใครอยู่ในวงการทางการเมือง ใครมีอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าจะอำนาจในฐานะฝ่ายรัฐบาล ในฐานะฝ่ายค้าน ในฐานะฝ่ายแค้น ในฐานะฝ่ายรแเข้าร่วมรัฐบาล ในฐานะข้าราชการประจำที่มีอำนาจใกล้ชิดรัฐบาล 
                       คำถามโดยสรุป คือ ใครคือนักการเมือง ใครเล่นการเมือง กันแน่ ?

                        ผมมั่นใจว่า คุณสารี อ๋องสมหวัง ไม่เล่นการเมือง
                        ผมมั่นใจว่า คนในมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และมูลนิธิชีววิถี ไม่เล่นการเมือง
                        ผมมั่นใจว่า คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ คนค้นคน ไม่เล่นการเมือง
                        ผมมั่นใจว่า ชาวนา ที่ทำนาจริงๆ ไม่เล่นการเมือง

                        แล้วใครเล่นการเมือง ใครเอาปัญหาข้าว ไปเล่นการเมือง..??

                        ..คำตอบหาไม่ยากครับ
                        ..ท่านลองมองดูภาพที่ปรากฏ ณ เบื้องหน้าสิครับว่า

                        ..ใครอยู่แวดวงการเมืองบ้าง คนที่อยู่ในแวดวงการเมืองนั่นแหละ เอาปัญหาข้าว ไปเล่นการเมือง

                         "เลิกตีสนิทชาวนา เลิกทำตัวสนิทสนมกับชาว เลิกปลอมตัวเป็นชาวนา เลิกอ้างชาวนา"

                          เพื่อเล่นการเมืองเถอะครับ

                         ผมกราบขอร้องด้วยความเคารพ

                        รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
                        18 กรกฎาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค