ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสื่อสารในยุคดิจิทัลและออนไลน์ "ความคิดเดินทางไวกว่าแสง"

ข้าวสาร ข่าวสาร การสื่อสาร..การสื่อสารในโลกออนไลน์ ข้อมูลข่าวสารเดินทางไวกว่าแสง



การสื่อสารในโลกออนไลน์ "ความคิดของมนุษย์" คือ "สาร" ที่เดินทางไวกว่าแสง


         ไม่กี่ชั่วโมงให้หลังนับตั้งแต่ "คนค้นคน" โพสต์เฟสบุ๊กนำเสนอข้อมูลเรื่อง ข้าวเน่า ข้าวมีสารพิษอันตราย
และระบุชื่อโรงสีที่ทำการผลติและกระจายข้าวพิษออกสู่ตลาด เพื่อเตือนให้ผู้บริโภคระมัดระวัง
และหลีกเลี่ยงการบริโภคข้าวที่อาจมีสารพิษเจือปน

         ไม่เพียงแค่ชื่อโรงสีข้าว แต่คนค้นคนยังได้ระบุชื่อพันธ์ข้าวปทุมธานี และระบุยี่ห้อข้าวหลายยี่ห้อ
รวมทั้งข้าวยี่ห้อตราฉัตรรวมอยู่ด้วย

         ผู้บริหารซีพีตระหนักดีถึง ความสำคัญของ คุณค่าของแบรนด์ (brand equity) ความเชื่อถือที่มีต่อแบรนด์ (brand credibility) และ ภาพลักษณ์ของแบรนด์ (brand image) จึงลุกขึ้นมาทำการสื่อสาร เพื่อต่อสู้ป้องกันแบรนด์ ข้าวตราฉัตรอย่างรวดเร็ว

         โดย
         1. โพสต์เฟสบุ๊กข้อมูลเชิงตอบโต้ (defensive information)
         2. เปิดแถลงข่าวโดยผู้บริหารระดับสูง
         3. เชิญบุคคลที่เป็นที่มาของข่าว (คนค้นคน) ไปพิสูจน์ความจริง
         4. เชิญตัวแทนผู้บริโภคไปพิสูจน์ความจริง


         ในทัศนะของผู้เขียนบทความ เห็นว่า สารที่มนุษย์ทำการสื่อสารอยู่ในโลกออนไลน์ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ "ข้อมูลข่าวสาร" (information) แต่ สาร ที่สื่อสารในโลกออนไลน์ คือ "ความคิด" ของมนุษย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ "จิต" ของมนุษย์ ในทางศาสนาและวิทยาศาสตร์ เราเชื่อและยอมรับกันว่า จิตมนุษย์เดินทางเร็วกว่าแสง เมื่อมนุษย์นำ "ความคิด" มาทำการสื่อสารผ่านโลกของออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นเครือข่าย เป็นข่ายใยที่เชื่อมต่อกัน (connectivity) กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก จึงกลายเป็นเครื่องมือในการขยายศักยภาพของมนุษย์ในการสื่อสาร ตามแนวคิดของ มาร์แชล แม็คลูฮัน นักทฤษฎีสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ว่า media is the extension of  man


         อันที่จริง จิตของมนุษย์ที่ทำการสืื่อสารกันเองระหว่างมนุษย์ด้วยกันก็เร็วกว่าแสงอยู่แล้ว เพียงแค่คิด เพียงแค่ส่งกระแสจิต จิตก็เดินทางไปไดเไกลหลายร้อยปีแสงแล้ว เมื่อมนุษย์มาทำการสื่อสารกันอยู่ในโลกการสื่อสารออนไลน์ จึงทำให้การเดินทางของ "สาร" ที่ประกอบด้วย "ความคิด" และ "จิต" เดินทางอย่างรวดเร็วอย่างสูงยิ่งยวด

         ในทัศนะทางการสื่อสาร จึงไม่แปลกใจที่ CP และ ข้าวตราฉัตร ออกมาทำการสื่อสารตอบโต้อย่างรวดเร็ว ในยามที่เริ่มจะเกิดสภาวะวิกฤติเกี่ยวกับความเชื่อถือศรัทธาที่มีต่อแบรนด์ข้าวตราฉัตร

         เพราะนี่คือ การสื่อสารในโลกยุคใหม่ ที่ "ความคิด และ จิต" ที่เป็น "สาร" ในกระบวนการสื่อสาร เดินทางเร็วดว่าแสง
ดังนั้น หากจะทำการสื่อสารในสภาวะวิกฤติ "ความคิด" ของผู้บริหารแบรนด์ "ต้องเร็วกว่าแสง" ด้วยเช่นกัน

         นี่คือ ที่มาของการสื่อสารเพื่อป้องกันเชิงรุก (proactive defensive communication) อันยอดเยี่ยมของซีพี
อันเป็นสิ่งยืนยันถึง แนวคิด ความเร็วของการสื่ือสารทางจิต และ การสื่อสารความคิด ที่รวดเร็วเกินกว่าจะคาดถึง

         เรากำลังอยู่ในโลกของ การสื่อสารดิจิทัล และ การสื่อสารออนไลน์ ที่ "ข่าวสารเดินทางไวกว่าแสง"


         รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
         11 กรกฎาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค