ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2016

วิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์เส้นทางสู่ความสำเร็จในชีวิต

บทความเรื่อง "วิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์เส้นทางสู่ความสำเร็จในชีวิต" บทความนี้นำเสนอวิธีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลของตนเอง 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความรู้ 2. ด้านทักษะ 3. ด้านประสบการณ์ 4. ด้านความเชี่ยวชาญ เพื่อสังเคราะห์ให้ค้นพบว่า ตนเอง "ควรทำสิ่งใด" จึงจะประสบความสำเร็จในชีวิต เนื่องจากเป็นไฟล์ที่มีรูปภาพแทรก จึงจัดทำเป็น pdf file ขอเชิญทุกท่านอ่านเนื้อหาได้ตามไฟล์แนบตามลิ้งก์นี้ครับ คลิ๊กที่นี่ >> เพื่ออ่านบทความ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 30 พ.ค. 59

การนำเสนอไอเดียอย่างมีประสิทธิภาพ

การนำเสนอไอเดียอย่างมีประสิทธิภาพ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 16 พ.ค. 59 เมื่อคุณมีไอเดีย คุณย่อมมีความต้องการสื่อสารไอเดียของคุณให้บุคคลอื่นทั้งในองค์กรของคุณที่ประกอบด้วยเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง นอกองค์กร ไ้แก่ ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของคุณ และสาธารณชนทั่วไป เพื่อให้คนเหล่านั้นเกิดผลทางการสื่อสารดังต่อไปนี้ 1. รับรู้ไอเดียของคุณ 2. สนใจไอเดียของคุณ 3. ชอบไอเดียของคุณ 4. ยอมรับไอเดียคุณ 5. เกิดการตัดสินใดลงมือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดประโยชน์ต่อตัวคุณ เช่น - ขอให้นำไอเดียนี้มาใช้ในการทำงาน การแก้ปัญหา และการพัฒนางาน - ขอให้คุณพัฒนาไอเดียนี้ต่อไปให้เป็นรูปเป็นร่าง - ชวนคุณมาลงทุนร่วมกันเพื่อนำไอเดียนี้ไปพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการทางธุรกิจ - ขอซื้อไอเดียของคุณไปพัฒนาต่อเพื่อพัฒนาเป็นธุรกิจ - กล่าวยกย่องชื่นชมคุณ - ให้รางวัลแก่คุณ แม้คุณจะมีไอเดียล้ำเลิศขนาดไหน แต่ถ้าคุณไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้เกิดการยอมรับไอเดียได้ คุณก็ไม่ประสบความสำเร็จ การนำเสนอไอเดียของคุณให้ผู้อื่นยอมรับจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอประ

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 10 การสื่อสารเพื่อสร้างความสุข

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 10 การสื่อสารเพื่อสร้างความสุข (happiness) ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59 ความสุข ความสุข (Happiness) คือสิ่งที่มนุษย์ส่วนใหญ่ในโลกนี้ต่างแสวงหา การเกิดความสุขของมนุษย์แตกต่างกันไปตามการนิยาม การให้ความหมาย การให้คุณค่า การกำหนดความพึงพอใจ ที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ เมื่อมนุษย์ได้รับสิ่งที่ตนเองปรารถนาตามการนิยามคำว่าความสุขของตนเองแล้ว มนุษย์ก็จะเกิดความพึงพอใจและรู้สึกมีความสุข ตรงกันข้ามเมื่อมนุษย์ไม่ได้รับสิ่งที่คาดหวังตามการนิยามความสุขของตนเองแล้ว มนุษย์ก็จะเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจและเกิดความทุกข์ การรับรู้ สิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดความสุขหรือความทุกข์ เป็นผลมาจาก "การรับรู้" (perception) และ "การตีความหมาย" (interpretation) สิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับรู้ มนุษย์เกิดการรับรู้ผ่านช่องทางการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิธีการรับรู้ของมนุษย์ การรับรู้ของมนุษย์ยังแบ่งออกตามวิธีการรับรู้ ออกเป็น 3 วิธี ได้แก่ 1. การรับรู้ด้วยตนเอง เป็นการรับรู้โดยผู้รับสารมีประสบการณ์ตรง (direct experience)

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 9 การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัย

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 9 การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัย (safety feel) ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59 ความต้องการความปลอดภัย อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) นักปราชญ์ชาวอเมริกัน ผู้สร้างทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของมนุย์ (Hierarchy of needs) เพื่ออธิบายความรู้สึกนึกคิดและจิตใจมนุษย์ได้ดีที่สุด และยังคงความคลาสสิคมาจนถึงทุกวันนี้ เขาอธิบายว่า มนุษย์มีความต้องการตามลำดับขั้นจากระดับพื้นฐานจนไปถึงระดับสูง โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้น ขั้นแรกที่เป็นพื้นฐานมากที่สุด คือ ความต้องการปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ขั้นที่สอง คือ ความต้องการได้รับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ขั้นที่สาม คือ ความต้องการได้รับความรัก ขั้นที่สี่ คือ ความต้องการได้รับการยกย่อง ชื่นชม นับถือ ให้เกียรติ ตระหนักในคุณค่าของตนเอง และขั้นที่ห้า คือ ความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเองในระดับสูง ความต้องการขั้นที่สอง คือ ความต้องการได้รับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ในทัศนะของผมเห็นว่าควรจะหมายรวมถึง "ความรู้สึก" หรือ "ความรู้สึกได้ถึง"

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 8 การสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหา

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  ตอนที่ 8 การสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหา (prevention) ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59 คำโบราณที่ว่า "กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน" เป็นคำกล่าวที่มีค่ามาก ในฐานะที่สอนให้เราตระหนักในความสำคัญของการป้องกันปัญหา การป้องกันปัญหามีต้นทุนน้อยกว่าการแก้ไขปัญหา ปัญหาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว กับ ปัญหาใหม่ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักเป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งมนุษย์เราสามารถป้องกันได้ แต่มนุษยเรามักละเลยที่จะป้องกัน แล้วปล่อยให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นซ็ำ ๆ การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้คนมีความตระหนักในการป้องกันปัญหาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับปัญหาใหม่เป็นสิ่งที่ผู้คนอาจคาดไม่ถึง จึงจำเป็นต้องมีการคาดคะแน คาดการณ์ ทำนาย วิเคราะห์ไว้ล่วงหน้า แล้วหาทางป้องกัน เมื่อปัญหาใหม่เกิดขึ้นกับใครแล้ว ผู้ที่เคยมีประสบการณ์กับปัญหาใหม่นั้น ควรนำมาบอกกล่าวเล่าแจ้งเตือนให้คนอื่นระวังและป้องกันปัญหานั้น 8.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies) (1) ปัญหาเดิม ศึกษาข้อมูลรวบรวมปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว สรุปข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและ

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 7 การสื่อสารเพื่อแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 7 การสื่อสารเพื่อแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ (crisis management) ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59 สถานการณ์วิกฤติ (crisis situation) เป็นสถานการณ์ที่ยุ่งยาก ขัดข้อง วุ่นวาย มีปัญหา มีอุปสรรคขัดขวางสร้างความเสียหาย ซึ่งอาจเป็นความเสียหายทางกายภาพ วัตถุ สิ่งก่อสร้าง เครื่องยนต์กลไก หรือการสร้างความเสียหายทางจิตใจโดยสร้างความรู้สึกบีบคั้น กดดัน วิตกกังวล ตึงเครียด เศร้าโศรก เสียใจ ให้แก่บุคคลที่ตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ เช่น ผู้โดยสารเครื่องบินที่เครื่องยนต์ขัดข้องต้องลงจอดฉุกเฉิน ญาติของผู้โดยสารที่เครื่องบินตกเสียชีวิตหมดทั้งลำ บุคคลที่เป็นญาติของคนที่ถูกรถชนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ผู้ประสบภัยจากวาตภัย อุทกภัย การแก้ไขปัญหาวิกฤติต้องอาศัย "การบริหารจัดการ" และ "การสื่อสารในภาวะวิกฤติ" โดยใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ 7.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies) (1) ข้อมูลข่าวสารคือหัวใจสำคัญที่สุด ผู้มีอำนาจหน้าที่ต้องมีการรวมรวมข้อมูลข่าวสารให้ได้มากที่สุดได้แก่ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ วัน เวลา สถานที่ บุคคล สาเหต

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 6 การสื่อสารเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่  6 การสื่อสารเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด (correction) ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59 ความเข้าใจผิด (misunderstanding) เป็นบ่อเกิดของทัศนคติทางลบของผู้รับสารที่มีต่อองค์กร ผลิตภัณฑ์ และการดำเนินงานขององค์กร ความเข้าใจผิดนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การต่อต้าน การไม่ให้ความร่วมมือ การขัดขวางการดำเนินงาน ความเข้าใจผิดสร้างความเสียหายทุกด้านทั้งชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ความเชื่อถือ ยอดขาย รายได้ ผลกำไร ความร่วมมือ เมื่อเกิดความเข้าใจผิดขึ้น ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ซึ่งต้องดำเนินด้วยความเข้าใจและใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม 6.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies) (1) ความเข้าใจผิดเกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน (2) ความเข้าใจผิดส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อเรื่องนั้น (3) ความเข้าใจผิดถูกขยายขนาดของความเข้าใจผิด โดยการตอกย้ำโดยบุคคลอื่นที่มีอิทธิพลต่อผู้รับสาร (4) ระดับความรู้สึกที่มีต่อความเข้าใจผิดขึ้นอยู่กับเวลาน

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 5 การสื่อสารเพื่อระดมพลัง

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 5 การสื่อสารเพื่อระดมพลัง ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59 5. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อระดมพลัง (mobilization) การดำเนินกิจกรรมทางสังคม (social activities) ในบางเรื่องจำเป็นต้องอาศัยพลังของผู้คนจำนวนมากที่เป็นกลุ่มใหญ่มากหรือเป็นมวลชนจำนวนมาก (mass) งานจึงจะสำเร็จ เช่น การสร้างฝายทดน้ำ การสร้างโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร การบริจาคเงินเพื่อช่วยสนับสนุนการศึกษาของเด็กนักเรียนในชนบทที่ห่างไกล การบริจาคเงินหรือวัตถุสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย การที่จะให้คนจำนวนมากเห็นพ้อง เห็นด้วย และให้การสนับสนุน จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ซึ่งต้องมีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน 5.1 กลยุทธ์หลัก ( Core strategies) (1) ความเข้าใจผู้รับสาร เราต้องเข้าใจว่าผู้รับสารแบ่งออกเป็นอย่างน้อย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มที่สนใจเรื่องราวนี้ มีแนวโน้มเห็นด้วย มีโอกาสที่จะเห็นด้วย กลุ่มที่สอง กลุ่มที่มีความสนใจเรื่องราวนี้ แต่มีความคิดเห็นตรงกลาง ยังไม่เห็นด้วย ไม่สนับสนุน ไม่ต่อต้าน แต่ยังมีโอกาสที่จะสนับสนุนในภายหลัง กลุ่มที่ส

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 4 การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 4 การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ โดย ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน วันที่ 10 พ.ค. 59 4. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ (collaboration) การดำเนินงานของนิติบุคคลที่ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของคน 3 ฝ่าย นั่นคือ ฝ่ายแรกได้แก่ คณะกรรมการนิติบุคคล ทีมงานฝ่ายบริหารจัดการนิติบุคคล (คณะบุคคลหรือบริษัทที่นิติบุคคลจ้างมาช่วยบริหารจัดการ) และสมาชิกนิติบุคคลหรือผู้พักอาศัยในหมู่บ้านทุกคน ความร่วมมือลำดับแรกสุด คือ ความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการนิติบุคคล ตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง การร่วมแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน การร่วมกันตัดสินใจในเรื่องสำคัญ เช่นเรื่อง การเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง การซ่อมแซมสาธารณูปโภค ความร่วมมือลำดับที่สอง คือ ความร่วมมือของทีมงานฝ่ายบริหารจัดการนิติบุคคล ในการทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการนิติบุคคลในการ วางแผน การปฏิบัติงาน การควบคุมงาน การติดตามงาน การแก้ปัญหาให้สมาชิกนิติบุคคล การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ การควบคุมดูแลซัพพลายเออร์ต่าง ๆ เช่น ทีมงาน

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 3 การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเร้าพฤติกรรม

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 3  การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเร้าพฤติกรรม ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน  วันที่ 10 พ.ค. 59 3. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเร้าพฤติกรรม (to arouse behavior) การสื่อสารเรื่องราวเพื่อให้ผู้คนรับรู้ในวงกว้าง ครอบคลุม ทั่วถึง อาจไม่เพียงพอ ในบางกรณีเราต้องการให้ผู้รับสารเกิดการกระทำ หรือเกิดการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า การเกิดพฤติกรรม ตัวอย่างเช่น ต้องการให้สมาชิกนิติบุคคลหรือผู้พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรร ร่วมมือกันจ่ายค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง หรือร่วมมือกันคัดแยกขยะก่อนทิ้ง พฤติกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (wanted behavior) เป็นสิ่งที่สังคมต้องการให้เกิดขึ้น เช่น การชำระค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางตรงเวลาที่กำหนด การขับขี่รถยนต์ตามกฏจราจร การใช้สระว่ายน้ำอย่างถูกต้องตามระเบียบ การทิ้งขยะอย่างเป็นที่เป็นทาง ส่วนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ (unwanted behavior) เป็นสิ่งที่สังคมไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เช่น การไม่ชำระค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง หรือชำระล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด การฝ่าฝืนกฏจราจ

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 2 การสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 2 การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน  วันที่ 10 พ.ค. 59 2. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (to change attitude) การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของสมาชิกนิติบุคคลหรือผู้พักอาศัยในหมู่บ้าน บางเรื่องมีความจำเป็นมาก เช่น ทัศนคติต่อการจ่ายเงินค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง สมาชิกนิติบุคคลบางส่วนอาจมีทัศนคติว่าเป็นเรื่องที่ต้องเสียเงินโดยไม่อยากเสีย มีทัศนคติว่าไม่จำเป็นต้องจ่าย หรือถ้าจะจ่ายก็จะจ่ายให้ช้าที่สุด สมาชิกบางคนมีทัศนคติทางลบว่าไม่ใช่หน้าที่ที่จะต้องจ่าย 2.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies) (1) รู้จักวิธีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (persuasive communication) (2) การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (persuasive communication) การสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติของบุคคลอื่นและทัศนคติของบุคคลในสังคมโดยใช้การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ แบ่งออกเป็น 3 แนวทางหลัก (approaches) ตามทฤษฎีของอริสโตเติ้ล ได้แก่ ก. การโน้มน้าวใจโดยใช้เหตุผล (Logos) ข. การโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์ (Ethos) ค. การโน้มน้าวใจโดยใช้บุคคล (Pathos

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 1 การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ข่าวสารสำคัญในชีวิต

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 1 กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ข่าวสารสำคัญ (perception) โดย ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน วันที่ 9 พ.ค. 59 ข้อมูลข่าวสาร (information) เกิดขึ้นทุกวัน ทุกเวลา หลั่งไหลไปบนโลกนี้มากมายมหาศาล แต่มิใช่ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่มนุษย์เราต้องรับรู้ มนุษย์เรามีพื้นที่สมองจำกัด มีพันธกิจในชีวิตเฉพาะเจาะจงของตนเอง มีหน้าที่และความรับผิดชอบเฉพาะด้าน มนุษย์จึงควรเลือกเปิดรับ (expose) เลือกรับรู้ (perception) เลือกจดจำ (memory) แต่เฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง เป็นประโยชน์ นำไปประยุกต์ใช้ได้ กับพันธกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองเป็นหลัก การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างการรับรู้ในข้อมูลข่าวสารสำคัญ จึงต้องรู้จักวางกลยุทธ์และใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม 1. กลยทธ์หลัก (Core strategies) (1) วิเคราะห์ชีวิตตนเองเพื่อสร้างการตระหนักรู้ (awareness) ในตนเองว่า เราเป็นใคร เรามีความสัมพันธ์กับใคร เราเกิดมาบนโลกนี้ทำไม เราต้องการทำอะไร เราต้องการทำเพื่ออะไร สิ่งที่เราทำจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร (2) วิเคราะห์พันธกิจของตนเอง บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ ว

การสื่อสารในหมู่บ้านจัดสรร ตอนที่ 2 ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ประเภทของช่องทางการสื่อสารตามขนบธรรมเนียม ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) ในการติดต่อสื่อสารภายในหมู่บ้านจัดสรร แบ่งออกเป็น ประเภท ดังนี้คือ 1. ช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication channel) ช่องทางแบบนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นช่องทางการสื่อสารแบบ one to one ซึ่งสามารถใช้สื่อการพูดคุย โทรศัพท์ อีเมล์ แชททางไลน์ แชททางเฟซบุ๊ก 2. ช่องทางการสื่อสารแบบกลุ่ม (group communication channel) ช่องทางแบบนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นช่องทางการสื่อสารแบบ one to group ซึ่งสามารถใช้สื่ออีเมล์ แชททางไลน์ แชททางเฟซบุ๊ก การประชุมกลุ่มเล็ก 3. ช่องทางการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่มากหรือมวลชน (Large group or mass communication channel) ช่องทางแบบนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นช่องทางการสื่อสารแบบ one to mass ซึ่งสามารถใช้สื่ออีเมล์ ไลน์กลุ่ม เฟซบุ๊ก เฟซบุ๊กแฟนเพจ การประชุมกลุ่มใหญ่ เช่น การประชุมใหญ่สมาชิกนิติบุคคลประจำปี ประเภทของการสื่อสารสมัยใหม่ เมื่อเรายึดประเภทของสื่อและเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่เป็นตัวตั้ง เราอาจแบ่งการส

การสื่อสารในหมู่บ้านจัดสรร ตอนที่ 1 ข่าวสารที่ผู้พักอาศัยต้องการทราบ

ความจำเป็นที่ต้องมีการสื่อสารในหมู่บ้านจัดสรร ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 พ.ค. 59 หมู่บ้านจัดสรรที่มีขนาดตั้งแต่ 200 หลังคาเรือนขึ้นไป ผู้พักอาศัยย่อมไม่สามารถพบปะสื่อสารแบบเผชิญหน้ากันได้อย่างทั่วถึง จึงต้องอาศัย "สื่อ" เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ขณะเดียวกันการที่นิติบุคคลผู้ทำหน้าที่ในการบริหารงานหมู่บ้านจะแจ้งข่าวสารให้สมาชิกนิติบุคคลทราบทั้งหมู่บ้านอย่างทั่วถึงในคราวเดียว ย่อมไม่สามารถติดต่อสื่อสารแบบพบปะเผชิญหน้าได้ ยกเว้นแต่จะมีการจัดประชุมใหญ่สมาชิกนิติบุคคลซึ่งนาน ๆ จะจัดครั้งหนึ่ง ดังนั้น ฝ่ายบริหารนิติบุคคลจึงจำเป็นต้องอาศัย "สื่อ" เป็นเครื่องมือและช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ฝ่ายผู้พักอาศัยเองต่างมีความต้องการที่ทราบข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลง บริการสาธารณะ สาธารณูปโภค บริการด้านการรักษาความสะอาด บริการด้านการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบการดำเนินการโดยคณะกรรมการนิติบุคคลและฝ่ายบริหารจัดการนิติบุคคล หากปราศจาก "สื่อ" และ "

การบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม เรื่อง การจัดซื้อจัดจ้าง ตอนที่ 1 งานสวนและงานรักษาความสะอาด

วิธีการบริหารจัดการงานสวนและงานรักษาความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง ผู้เขียนเป็นกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง โดยเข้ามาเป็นกรรมการตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งจดทะเบียนนิติบุคคล ได้มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการบริการงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมาหลายปี ประกอบกับได้เคยศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ ศึกษาระดับปริญญาโทและทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการบริหารงานหมู่บ้านจัดสรรด้านการรักษาความปลอดภัย และศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการพัฒนาทรัพยากรชนบท รวมทั้งการศึกษาจากประสบการณ์การดำเนินงานของหมู่บ้านจัดสรรแห่งอื่นหลายแห่ง จนก่อเกิดเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับ "การบริการจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" จึงขอนำมาถ่ายทอดแก่ท่านที่สนใจ สำหรับบทความตอนนี้จะมุ่งเน้นการนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง จัดหา บุคคล คณะบุคคล บริษัท มาดำเนินงานสวนและงานรักษาความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง คณะกรรมการนิติบุคคลมีภาระหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือ การดูแลสภาพแวดล้อมและความสะอาดภายในบริเวณหมู่บ้านหรือบริเวณคอนโดมิเนียม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 งานหลักคือ งานแรก เป็นงานเกี่ยวกับงานสวน ซึ่งประกอบด