ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 5 การสื่อสารเพื่อระดมพลัง

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 5 การสื่อสารเพื่อระดมพลัง


ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
10 พ.ค. 59

5. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อระดมพลัง (mobilization)

การดำเนินกิจกรรมทางสังคม (social activities) ในบางเรื่องจำเป็นต้องอาศัยพลังของผู้คนจำนวนมากที่เป็นกลุ่มใหญ่มากหรือเป็นมวลชนจำนวนมาก (mass) งานจึงจะสำเร็จ เช่น การสร้างฝายทดน้ำ การสร้างโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร การบริจาคเงินเพื่อช่วยสนับสนุนการศึกษาของเด็กนักเรียนในชนบทที่ห่างไกล การบริจาคเงินหรือวัตถุสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย การที่จะให้คนจำนวนมากเห็นพ้อง เห็นด้วย และให้การสนับสนุน จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ซึ่งต้องมีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน

5.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies)

(1) ความเข้าใจผู้รับสาร เราต้องเข้าใจว่าผู้รับสารแบ่งออกเป็นอย่างน้อย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มที่สนใจเรื่องราวนี้ มีแนวโน้มเห็นด้วย มีโอกาสที่จะเห็นด้วย กลุ่มที่สอง กลุ่มที่มีความสนใจเรื่องราวนี้ แต่มีความคิดเห็นตรงกลาง ยังไม่เห็นด้วย ไม่สนับสนุน ไม่ต่อต้าน แต่ยังมีโอกาสที่จะสนับสนุนในภายหลัง กลุ่มที่สาม กลุ่มที่สนใจเรื่องราวนี้ แต่มีแนวโน้มไม่เห็นด้วย กลุ่มที่สี่ กลุ่มที่ไม่สนใจเรื่องราวนี้ในเวลานี้ สนใจเฉพาะเรื่องราวของตนเอง สนใจการทำมาหากินของตนเอง สนใจสิ่งที่ตนเองจะได้รับประโยชน์ ยังรู้สึกเฉย ๆ ต่อเหตุการณ์ รอดูท่าทีว่าปัญหาจะส่งผลกระทบมาถึงตนเองหรือไม่ อาจเห็นด้วย อาจสนับสนุนในภายหลัง หรืออาจไม่เห็นด้วย หรืออาจต่อต้านในภายหลัง
                            
(2) การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ผู้รับสารเป้าหมายและแนวทางในการสื่อสาร เราต้องตัดสินใจให้ได้ว่าเราจะเลือกคนกลุ่มใดมาเป็นผู้รับสารเป้าหมาย (target audience) แล้วจึงกำหนดแนวทางในการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ

กรณีที่หนึ่ง เราต้องเลือกกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักที่แท้จริง (major target audience) นั่นคือ คนกลุ่มแรกได้แก่ กลุ่มที่มีความสนใจเหตุการณ์นี้ มีแนวโน้มเห็นด้วย และมีโอกาสที่จะเห็นด้วย โดยกำหนดแนวทางและวิธีการสื่อสารโดยเฉพาะสำหรับคนกลุ่มนี้

กรณีที่สอง เราต้องเลือกกำหนดกลุ่มเป้าหมายรอง (minor target audience) นั่นคือ คนกลุ่มที่สองได้แก่ กลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องนี้แต่ยังมีความคิดเห็นตรงกลาง ยังไม่เห็นด้วย ไม่สนับสนุน แต่ไม่ต่อต้าน และยังมีโอกาสที่จะสนับสนุนในภายหลัง คนกลุ่มนี้เราต้องทำการสื่อสาร เพื่อดึงเขาเข้ามารับรู้ข้อมูลข่าวสาร อธิบายให้เขาเข้าใจ โน้มน้าวให้เขาเห็นด้วย และจูงใจให้เขาสนับสนุนกิจกรรมของเรา

กรณีที่สาม กลุ่มที่สนใจเรื่องราวนี้ แต่มีแนวโน้มไม่เห็นด้วย คนกลุ่มนี้เราต้องเน้นการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริง (fact) พยานหลักฐาน (evidence) ที่สนับสนุนเรื่องราว กิจกรรม เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินการ

กรณีที่สี่ กลุ่มคนที่ไม่สนใจเรื่องราวนี้ในขณะนี้ ให้ทำการสื่อสารด้วยข้อมูลทั่วไป เพื่อรับรู้รับทราบเรื่องราวไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจจะมีบางคนบางกลุ่มหันมาสนใจในอนาคต


(3) การออกแบบสารต้องออกแบบขึ้นมาให้เหมาะสมกับคนแต่ละกลุ่ม ไม่ใช้สารเดียวกันกับคนทุกกลุ่ม

5.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)

(1) ใช้สารสร้างภาพขึ้นในใจผู้รับสารให้มองเห็นภาพรวมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีขนาดใหญ่ และส่งผลกระทบต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์
(2) ใช้สารที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการระดมพลังความช่วยเหลือจากคนจำนวนมาก
(3) ใช้สารที่มีลักษณะโน้นน้าวใจให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึกร่วม เกิดอารมณ์ร่วมกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์นั้น
(4) ใช้สารที่อธิบายถึงลักษณะของความต้องการที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุน
(5) ใช้สารที่อธิบายถึงแนวทางและวิธีการที่ผู้รับสารจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้ เช่น ช่องทางการบริจาคเงินผ่านระบบออนไลน์
(6) ใช้สารที่เร่งเร้าการตัดสินใจ กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจ
(7) ใช้สารที่กระต้นให้เกิดการกระทำ ลงมือกระทำ ในการให้ความช่วยเหลือหรือการสนับสนุน

5.3 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)
(1) ใช้สื่อที่สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนในวงกว้างมากที่สุด เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ สื่อออนไลน์ เว็บท่า เว็บไซต์ชุมชนอออนไลน์ที่ผู้คนนิยมอ่านมาก เช่น เว็บพันทิปดอทคอม เว็บสนุกดอทคอม เว็บกระปุกดอทคอม เว็บเด็กดีดอทคอม
(2) ในบางกรณีอาจต้องใช้สื่อที่เจาะจงเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้มีรายได้สูง กลุ่มผู้มีการศึกษาระดับสูง เพื่อให้ช่วยบริจาคเงินสนุบสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กที่ยากจนในชนบทที่ห่างไกล
(3) ในบางกรณีอาจต้องใช้สื่อโซเชียลมีเดียที่เป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการระดมพลังสังคมโดยตรง เช่น change.org เข้ามาช่วยในการรณรงค์
(4) การใช้สื่อบุคคลที่เป็นผู้นำทางความคิดซึ่งมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของสังคม เป็นทางเลือกที่ดีมากอีกทางหนึ่ง

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
10 พ.ค. 59

โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี : americano1515


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค