ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การนำเสนอไอเดียอย่างมีประสิทธิภาพ

การนำเสนอไอเดียอย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 16 พ.ค. 59

เมื่อคุณมีไอเดีย คุณย่อมมีความต้องการสื่อสารไอเดียของคุณให้บุคคลอื่นทั้งในองค์กรของคุณที่ประกอบด้วยเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง นอกองค์กร ไ้แก่ ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของคุณ และสาธารณชนทั่วไป เพื่อให้คนเหล่านั้นเกิดผลทางการสื่อสารดังต่อไปนี้

1. รับรู้ไอเดียของคุณ
2. สนใจไอเดียของคุณ
3. ชอบไอเดียของคุณ
4. ยอมรับไอเดียคุณ
5. เกิดการตัดสินใดลงมือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดประโยชน์ต่อตัวคุณ เช่น

- ขอให้นำไอเดียนี้มาใช้ในการทำงาน การแก้ปัญหา และการพัฒนางาน
- ขอให้คุณพัฒนาไอเดียนี้ต่อไปให้เป็นรูปเป็นร่าง
- ชวนคุณมาลงทุนร่วมกันเพื่อนำไอเดียนี้ไปพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการทางธุรกิจ
- ขอซื้อไอเดียของคุณไปพัฒนาต่อเพื่อพัฒนาเป็นธุรกิจ
- กล่าวยกย่องชื่นชมคุณ
- ให้รางวัลแก่คุณ

แม้คุณจะมีไอเดียล้ำเลิศขนาดไหน แต่ถ้าคุณไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้เกิดการยอมรับไอเดียได้ คุณก็ไม่ประสบความสำเร็จ

การนำเสนอไอเดียของคุณให้ผู้อื่นยอมรับจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอประเด็นว่า เราจะนำเสนอไอเดียของเราอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

ขั้นที่ 1 ปรับกระบวนการคิดในสมองในห้วงความคิดของตัวคุณเอง

คนเรามักจะคิดเป็นคำพูด เพื่อนำไปพูดจากับบุคคลอื่น แต่ในการสื่อสารเพื่อนำเสนอไอเดีย เราต้องการพลังมากว่าคำพูด คนที่พูดเก่งอาจจะสามารถสะกดผู้ฟังให้ติดตามฟังอย่างใจ้จดใจจ่อได้ แต่กรณีการนำเสนไอเดีย คุณจำเป็นต้องนำเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจไอเดียของคุณอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน คุณจึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเสนอให้ผู้ฟังเห็นภาพ

วิลเบอร์ ชแรมม์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารเน้นมากในเรื่อง ผลสำเร็จของการสื่อสาร คือ การทำให้ผู้รับสารเข้าใจความหมายตรงกันกับสิ่งที่ผู้ต้องการส่งสารต้องการจะสื่อออกไป คุณจึงมีหน้าที่ทำให้ผู้ฟังเห็นภาพภาพเดียวกับที่คุณคิดให้ได้มากที่สุด ดังนั้น สิ่งแรกที่คุณควรจะทำในการนำเสนองาน คือ การปรับเปลี่ยนความคิดจากการพูดแล้วถ่ายทอดเป็น "คำพูด" และ "ตัวอักษร" ให้กลายเป็น "คำพูด" และ "ภาพ"

ข้อผิดพลาดของคนจำนวนมากในการนำเสนอไอเดียคือ นำไอเดียที่คิดมามาพิมพ์เป็นตัวอักษรในสื่อเพาเวอร์พ้อยท์แล้วนำเสนอ ซึ่งมันไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้

คำแนะนำข้อแรกสุดคือ การปรับกระบวนการคิดของคุณให้ "คิดเป็นภาพ" คิดการเล่าเรื่องให้เป็นภาพ คล้ายกับคุณดูภาพยนตร์ที่มีการเล่าเรื่องเป็นฉากเป็นตอนอย่างน่าสนใจ

ขั้นที่ 2 นำไอเดียมาแปลงเป็นข้อมูลข่าวสาร

ไอเดียเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในสมอง คุณต้องนำมันออกมาทำให้เป็นข้อมูลข่าวสาร (information) โดยพยายามทำให้เป็น "ข้อมูลข่าวสารที่เป็นรูปธรรม" ในรูปลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร ประโยค ข้อความ ตัวเลข สถิติ

ขั้นที่ 3 แยกแยะข้อมูลข่าวสาร

แยกประเภทของข้อมูลข่าวสารออกเป็น 10 ชนิด ดังนี้

1. ความหมาย
2. ลักษณะสำคัญ
3. องค์ประกอบหรือส่วนประกอบ
4. ประเภทและชนิด
5. กระบวนการและขั้นตอน
6. วิธีการปฏิบัติ
7. ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา
8. ข้อสังเกต
9. ข้อเสนอแนะ
10. สิ่งสนับสนุนไอเดีย

คุณต้องมองให้ออกว่าไอเดียของคุณประกอบด้วยข้อมูลชนิดใดบ้าง แล้วทำการแยกแยะ จดบันทึก พิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ ให้สามารถจัดกระทำต่อข้อมูลข่าวสารนั้นได้

ขั้นที่ 4 เรียนรู้วิธีการนำเสนอ 

การนำเสนอเรื่องราวใด ๆ นั้น สิ่งที่เราต้องคิดมี 2 เรื่อง ได้แก่
1. เราจะนำเสนอสิ่งใด (WHAT)
2. เราจะนำเสนอด้วยวิธีการอย่างไร (HOW)

เราจะนำเสนอสิ่งใด (What to say?) การจับความสนใจของผู้ฟัง เราต้องเลือกใช้สิ่งที่มีพลังมากพอในการหยุด ตรึง ดึงดูด จิตใจของผู้ฟังหันเกิดความอยากรู้ อยากเห็น อยากติดตาม สิ่งที่เรากำลังจะพูดต่อไป

สิ่งที่มนุษย์ทั่วไปให้ความสนใจ ได้แก่ สิ่งที่สนองปุถุชนวิสัย (Human interest) วงการข่าวรู้ดีในเรื่องนี้ และนำมาใช้กันอยู่เป็นประจำในการทำข่าว และเราสามารถนำมามช้ในการออกแบบการนำเสนไอเดียของเราได้ ได้แก่

(1) เรื่องของคนมีชื่อเสียงและคนดัง
(2) เรื่องความสวยความงาม
(3) เรื่องแปลกประหลาด
(4) เรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่
(5) เรื่องลึกลับชวนสงสัย
(6) เรื่องเพศ
(7) เรื่องปัญหาและผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตมนุษย์
(8) เรื่องความขัดแย้ง
(9) เรื่องความร่ำรวยของบุคคล
(10) เรื่องความกลัวของมนุษย์
(11) เรื่องน่าตื่นเต้นของมนุษย์
(12) เรื่องที่สร้างผลประโยชน์ให้แก่ผู้ฟังโดยตรงอย่างใดอย่างหนึ่ง

เราผู้เป็นเจ้าของไอเดียต้องตีโจทย์ให้ได้ว่า ใน 12 เรื่องข้างต้นนี้ เราจะหยิบยกเรื่องใดขึ้นมาพูดเป็นสิ่งแรก เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟังให้ได้

เราจะนำเสนออย่างไร (How to say?) วิธีการพูดและการนำเสนอมีความสำคัญมากเท่า ๆ กับสิ่งที่จะพูด วิธีการนำเสนอแบ่งออกเป็น 2 เรื่องใหญ่คือ

1. การวางโครงสร้างการเล่าเรื่อง

(1) จะนำเสนออะไรก่อน อะไรหลัง
(2) จะเปิดเรื่องอย่างไร จะดำเนินเรื่องอย่างไร และจะจบเรื่องอย่างไร
(3) มุมมองในการเล่าเรื่อง เราจะเล่าเรื่องในมุมมองของใคร มุมมองของบุคคลที่ 1 (ตัวผู้เล่าเรื่อง) บุคคลที่ 2 (ตัวผู้มีประสบการณ์เรื่องนั้น) บุคคลที่ 3 (บุคคลอื่นที่รู้เห็นเหตุการณ์นั้น)

2. สื่อและวิธีการที่ใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราว
สื่อและวิธีการที่ใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราวแบ่งออกเป็น 8 ชนิด ได้แก่

(1) การนำเสนอด้วยคำพูด (speech)
(2) การนำเสนอด้วยภาพนิ่ง (picture)
(3) การนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (motion picture or video)
(4) การนำเสนอด้วยแบบจำลอง (model)
(5) การนำเสนอด้วยวัตถุของจริง (object)
(6) การนำเสนอด้วยวิธีการสาธิต (demonstration)
(7) การนำเสนอด้วยการแสดง (performing)
(8) การนำเสนอด้วยเหตุการณ์จำลอง (stimulation)

ขั้นที่ 5 ออกแบบการนำเสนอ

การออกแบบการนำเสนอเราควรนำหลักการออกแบบสารมาประยุกต์ใช้

หลักการออกแบบสารที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ AIDA model ที่อธิบายลำดับขั้นตอนในการนำเสนอสาร โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย

Attention (A) การจับความสนใจ เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้รับสารให้หันมาสนใจสิ่งที่เรากำลังจะนำเสนอ

Interest (I) การสร้างความสนใจ เป็นการดึงผู้รับสารให้เข้ามาในสนใจและใส่ใจในสารที่เรากำลังนำเสนออยู่ โดยมีการรับรู้ แปลความหมาย ตีความหมาย จดจำข้อมูลข่าวสาร

Desire (D) การสร้างแรงปรารถนา เป็นการทำให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึกต้องการ (needs) อยากได้ (wants)  โดยทำให้มีขนาดของความต้องการและความอยากได้เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด

Action (A) การลงมือกระทำ เป็นการกระตุ้นเร้าให้ผู้รับสาร ตัดสินใจที่จะกระทำ โน้มนำไปสู่การกระทำ และลงมือกระทำในที่สุด


การนำเสนอในแต่ละขั้นตอนนั้น เราควรนำวิธีการคิดในการนำเสนอที่ได้กล่าวไว้แล้วในขั้นตอนที่ 4 มาใช้นั่นคือ 1. เราจะนำเสนอสิ่งใด (WHAT) และ 2. เราจะนำเสนอด้วยวิธีการอย่างไร (HOW)

6. การเขียนสคริปต์ในการนำเสนอ

คุณควรเขียนสคริปต์ในการนำเสนอเรื่องราว เพื่อให้การนำเสนอมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน กระชับ รัดกุม ตรึงความสนใจของผู้ฟังไว้ให้ได้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง

การเขียนสคริปต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่

1. สคริปต์อย่างง่าย (simple script)

2. สคริปต์ที่ละเอียด (fully script)

7. การสร้างสื่อประกอบการนำเสนอ

ในการนำเสนอไอเดียบางเรื่อง คุณจำเป็นต้องมีสื่อประกอบการนำเสนอ เพื่อทำให้เรื่องราวที่นำเสนอน่าสนใจ สร้างความสนใจ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของบุคคลอื่น

สื่อประกอบการนำเสนอ แบ่งออกเป็น ชนิด ได้แก่
(1) ภาพนิ่ง
(2) อินโฟกราฟิก
(3) วิดีโอ ทั้งคลิดวิดีโอขนาดสั้น และวิดีโอขนาดยาว
(4) วัตถุของจริง

เครื่องมือช่วยในการสร้างสื่อประกอบการนำเสนอ ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ Power Point

8. การซ้อมการนำเสนอ

เมื่อเตรียมเรื่องราว เตรียมสื่อประกอบการนำเสนอ เสร็จแล้ว คุณควรซักซ้อมการนัำเสนอ โดยการจับเวลาที่ใช้ โดยอาจให้มีผู้รับฟังการนำเสนอ แล้วชี้แนะว่ามีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไร ควรแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใด

9. การนำเสนอ

เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ซึ่งคุณจะต้อง
1. ตัวเอง
(1) ต้องมีสมาธิสูงสุด
(2) ต้องมีความมั่นใจสูงสุด
(3) ต้องมีความรู้สึกผ่อนคลายในการนำเสนอ

2. การปฏิสันถาร
ทักทายผู้ฟังอย่างเป็นกันเอง สุภาพ แต่คงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ

3. นำเสนอไปตามลำดับขั้นตอนที่วางแผนไว้
(1) การเริ่มเรื่อง
(2) การดำเนินเรื่อง
(3) การจบเรื่อง

4. กล่าวขอบคุณผู้ฟัง

5. การติดตามผลการนำเสนอ
(1) สังเกตการมีส่วนร่วมของผู้ฟัง
(2) สอบถามความคิดเห็นของผู้ฟังบางคน
(3) ทำแบบประเมินผลสำรวจความคิดเห็นผู้ฟัง
(4) ประเมินจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ฟัง เช่น เข้ามาขอข้อมูลเพิ่มเติม ขอดูเอกสารเพิ่มเติม ซักถามเพิ่มเติม


ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
16 พ.ค. 59
Line id: americano1515





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค