ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 3 การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเร้าพฤติกรรม

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 3 การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเร้าพฤติกรรม

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน วันที่ 10 พ.ค. 59

3. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเร้าพฤติกรรม (to arouse behavior)
การสื่อสารเรื่องราวเพื่อให้ผู้คนรับรู้ในวงกว้าง ครอบคลุม ทั่วถึง อาจไม่เพียงพอ ในบางกรณีเราต้องการให้ผู้รับสารเกิดการกระทำ หรือเกิดการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า การเกิดพฤติกรรม ตัวอย่างเช่น ต้องการให้สมาชิกนิติบุคคลหรือผู้พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรร ร่วมมือกันจ่ายค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง หรือร่วมมือกันคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

พฤติกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (wanted behavior) เป็นสิ่งที่สังคมต้องการให้เกิดขึ้น เช่น การชำระค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางตรงเวลาที่กำหนด การขับขี่รถยนต์ตามกฏจราจร การใช้สระว่ายน้ำอย่างถูกต้องตามระเบียบ การทิ้งขยะอย่างเป็นที่เป็นทาง

ส่วนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ (unwanted behavior) เป็นสิ่งที่สังคมไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เช่น การไม่ชำระค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง หรือชำระล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด การฝ่าฝืนกฏจราจร การทิ้งขยะบนทางเท้า การก่อสร้างส่งเสียงรบกวนในวันหยุด การส่งเสียงรบกวนเพื่อนบ้าน

การที่จะทำให้ผู้คนเกิดพฤติกรรมได้ จำเป็นต้องใช้การสื่อสารทำหน้าที่ "กระตุ้นเร้า" (stimulus) ความรู้สึกนึกคิดของผู้รับสาร ให้เกิดแนวโน้มที่จะลงมือกระทำ และนำไปสู่การกระทำในที่สุด ซึ่งมีกลยุทธ์ในการดำเนินการดังต่อไปนี้

3.1 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)

(1) ใช้สารที่พลังโน้มน้าวใจระดับสูง (high persuasive message)  ใช้ภาษาและถ้อยคำกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากลงมือกระทำ เช่น คุณคือหนึ่งในพลังการเปลี่ยนแปลง เงินเพียง 10 บาทของคุณช่วยคนได้นับร้อยคน การปฏิบัติตามกฏจราจรช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดกับคนที่คุณรัก หยุดขับรถย้อนศรตั้งแต่เดี๋ยวนี้ถ้าไม่อยากเห็นคนที่คุณรักเป็นอันตราย

(2) ใช้สารที่กระตุ้นให้ลงมือกระทำทันที เน้นการกระทำ (action) เช่น เชิญเข้าร่วมกับเราตั้งแต่วันนี้ สมัครได้ทันที เข้าร่วมโครงการได้ทันที จ่ายวันนี้ไม่มีค่าธรรมเนียม สมัครด่วนเหลือเพียง 3 ที่นั่งสุดท้าย

3.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)

(1) ใช้สื่อที่เห็นภาพพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น สื่อโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ ป้ายไวนิล

(2) ใช้สีตัวอักษรที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก เช่น ใช้ตัวอักษรสีแดงเพื่อเตือนให้ระมัดระวัง

(3) ใช้สื่อที่แสดงภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่น วิดีโอในเฟซบุ๊ก ยูทูบ

(4) ใช้สื่อกระตุ้นเร้าพฤติกรรมให้มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง (reach) เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเกือบทุกคน ไม่น้อยกว่า 80% ตัวอย่างเช่น
- การติดตั้งป้ายไวนิลขนาดใหญ่บริเวณปากทางเข้าและทางออกหมู่บ้าน โดยมีสมมุติฐานว่าสมาชิกผู้พักอาศัยทุกคนต้องเดินทางผ่านเข้าออกหมู่บ้านอย่างน้อยวันละครั้ง
- การใช้จดหมายส่งตรง (direct mail) ส่งถึงทุกหลังคาเรือน

(5) ใช้สื่อกระตุ้นเร้าพฤติกรรมด้วยความถี่สูง (hi frequency) เพื่อกระตุ้นและย้ำเตือนให้เกิดการกระทำ อย่างน้อยตั้งแต่ 4 ครั้งต่อเดือน หรือสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นไป

(6) ใช้การสื่อสารแบบกลุ่ม (group communication) โดยการกระจายข่าวสารแบบปากต่อปาก ในกลุ่มสมาชิกที่มีการพบปะกันเป็นประจำ ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง ตัวอย่างเช่น
- กลุ่มแม่และเด็กที่พาบุตรหลานมาเดินเล่นที่สวนสาธารณะในหมู่บ้านช่วงเย็น
- กลุ่มสมาชิกเต้นแอโรบิค
- กลุ่มสมาชิกที่มาว่ายน้ำที่สระน้ำในหมู่บ้านเป็นประจำ
- กลุ่มธรรมะที่นัดกันมาทำบุญตักบาตรช่วงเช้า

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 
วันที่ 10 พ.ค. 59

โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี : americano1515

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค