ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 10 การสื่อสารเพื่อสร้างความสุข

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 10 การสื่อสารเพื่อสร้างความสุข (happiness)

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59

ความสุข

ความสุข (Happiness) คือสิ่งที่มนุษย์ส่วนใหญ่ในโลกนี้ต่างแสวงหา การเกิดความสุขของมนุษย์แตกต่างกันไปตามการนิยาม การให้ความหมาย การให้คุณค่า การกำหนดความพึงพอใจ ที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ เมื่อมนุษย์ได้รับสิ่งที่ตนเองปรารถนาตามการนิยามคำว่าความสุขของตนเองแล้ว มนุษย์ก็จะเกิดความพึงพอใจและรู้สึกมีความสุข ตรงกันข้ามเมื่อมนุษย์ไม่ได้รับสิ่งที่คาดหวังตามการนิยามความสุขของตนเองแล้ว มนุษย์ก็จะเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจและเกิดความทุกข์

การรับรู้

สิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดความสุขหรือความทุกข์ เป็นผลมาจาก "การรับรู้" (perception) และ "การตีความหมาย" (interpretation) สิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับรู้ มนุษย์เกิดการรับรู้ผ่านช่องทางการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

วิธีการรับรู้ของมนุษย์

การรับรู้ของมนุษย์ยังแบ่งออกตามวิธีการรับรู้ ออกเป็น 3 วิธี ได้แก่

1. การรับรู้ด้วยตนเอง เป็นการรับรู้โดยผู้รับสารมีประสบการณ์ตรง (direct experience) ในเรื่องนั้น เช่น เคยไปตกปลา เคยไปเล่นสกีหิมะที่สวิสเซอร์แลนด์ เคยไปดูดอกซากุระที่ญี่ปุ่น เคยชิมเป็ดย่างในลอนดอน เคยไปนอนค้างที่ตลาดน้ำอัมพวา เคยไปสักการะพระธาตุดอยสุเทพ เคยไปเที่ยวมัลดีฟส์ เคยไปมอบอุปกรณ์การเรียนให้เด็กบนดอยที่เชียงราย

2. การรับรู้ผ่านการบอกเล่าของบุคคล เป็นการรับรู้โดยมีบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือเคยมีประสบการณ์ นำข้อมูลข่าวสารนั้นมาเล่าให้ผู้รับสารฟัง หรือถ่ายรูปภาพ ถ่ายวิดีโอมาให้ดู

3. การรับรู้ผ่านสื่อ เป็นการรับรู้โดยมี "ตัวกลาง" (Medium) นำข้อมูลข่าวสารเรื่องนั้นมานำเสนอ (present) หรือนำมาถ่ายทอด (transmit) ให้ผู้รับสารได้รับรู้ ตัวกลางในที่นี้หมายถึง บุคคล องค์กร ที่มีพันธกิจหลักในการสื่อสาร เช่น ผู้สื่อข่าว สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หนังสือพิมพ์ สำนักพิมพ์

การสื่อสารความสุข

การสื่อสารความสุข หมายถึง การสื่อสารที่ทำให้มนุษย์เกิดความสุข ซึ่งทำได้ 4 วิธีคือ

1. การสื่อสารเพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ในจิตใจ (release) เป็นการสื่อสารที่ช่วยให้มนุษย์สามารถปลดปล่อยความเครียด คลายความวิตกกังวล ลดความกดดัน ลดความคับข้องใจ เช่น การชมภาพยนต์ที่มีเนื้อเรื่องสอดคล้องกับปัญหาในจิตใจ การชมละครโทรทัศน์ที่พาผู้ชมให้หลีกหนีไปจากความจริงอันเจ็บปวดไปสู่โลกแห่งความสุข แม้เพียงชั่วคราว การสื่อสารหลักธรรมะที่สอนให้ผู้คนรู้จัดบริหารจัดการกับปัญหาความทุกข์ในจิตใจได้ การสื่อสารหลักจิตวิทยาที่ช่วยให้ผู้คนค้นพบทางแก้ปัญหาความทุกข์ในจิตใจได้

2. การสื่อสารเพื่อสร้างความสุข (happiness) เป็นการสื่อสารที่สร้างความตื่นเต้น (exciting) สนุก (fun) ตลกขบขัน (humor) เพลิดเพลิด (pleasure) ทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่นกะปรี้กะเปร่า เกิดความตื่นตัว เกิดความรู้สึกมีชีวิตชีวา เกิดความหวัง เกิดกำลังใจในการดำเนินชีวิต พร้อมที่จะลงมือทำงาน พร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

3. การสื่อสารเพื่อการสร้างสร้างสรรค์ (creation) เป็นการสื่อสารที่มุ่งพัฒนามนุษย์ด้านความรู้ ความคิด จิตใจ คุณธรรม เช่น การชักชวนให้คิดในเรื่องที่ดีงาม ขัดเกลาจิตใจ ยกระดับรสนิยม ยกระดับความคิด

4. การสื่อสารเพื่อเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิต (problem solving and development) เป็นการสื่อสารเพื่อให้ความรู้และวิธีปฏิบัติเฉพาะด้าน เพื่อให้มนุษย์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง เช่น การให้ความรู้ด้านการรบริหารการเงิน การลงทุน การออม การสร้างรายได้ วิธีการใช้จ่ายเงิน วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้สิน แนวทางในการประกอบอาชีพ แนวทางในการทำธุรกิจ เมื่อมนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตที่ต้องเผชิญอยู่ทุกวันได้สำเร็จ มนุษย์ก็จะมีความสุข

10.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies)

การสื่อสารความสุข เป็นการสื่อสารถึงตนเองในประเด็น 7 ประเด็น ต่อไปนี้

(1) การรับรู้ความเป็นตนเอง (self)
(2) การตระหนักในความเป็นตนเอง (self awareness)
(3) การยอมรับในความเป็นตนเอง (self acceptance)
(4) การตระหนักในคุณค่าของตนเอง (self esteem)
(5) การเคารพตนเอง (self respect)
(6) การชื่นชมตนเอง (self admire)
(7) การรูสึกพึงพอใจในความเป็นตนเอง (self satisfying)
(8) เลือกรับรู้สารที่สร้างความสุข (selected message)
(9) หลีกเลี่ยงสารที่สร้างความทุกข์ (avoided message)
(10) โฟกัสเพ่งความสนใจและสมาธิของตนไปในเรื่องที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง (concentration)

10.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)

(1) สร้างสารและสื่อสารกับตนเองในเรื่องความเป็นจริงแห่งตนเอง
(2) สร้างสารและสื่อสารกับตนเองถึงความพอเพียงและพอใจในความเป็นตนเอง
(3) สร้างสารและสื่อสารกับตนเองถึงความสามารถของตนเองอันเกิดจากการเรียนรู้และการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง (self esteem)
(4) สร้างสารและสื่อสารกับตนเองถึงพรสวรรค์ในตนเองที่ได้รับมาจากธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง (self esteem)
(5) สร้างสารและสื่อสารกับตนเองถึงผลงานของตนเองที่ได้สร้างขึ้น เพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง (self esteem)
(6) สร้างสารและสื่อสารกับตนเองถึงความสำเร็จของตนเองที่ทำได้ เพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง (self esteem)
(7) สร้างสารและสื่อสารกับผู้อื่นและสาธารณชนรับรู้ถึงความสามารถที่ตนเองมีอยู่ เพื่อให้เกิดความเคารพนับถือตนเอง และสร้างการยอมรับจากผู้อื่น
(8) สร้างสารและสื่อสารกับผู้อื่นและสาธารณชนรับรู้ถึงผลงาน ความสำเร็จ ความดีที่ตนเองได้กระทำ เพื่อให้เกิดความเคารพนับถือตนเอง และสร้างการยอมรับจากผู้อื่น
(9) สร้างสารและสื่อสารถึงความสำเร็จ ความดีงาม ความสามารถของบุคคลอื่นที่เรารู้จัก เพื่อให้เขาได้รับรู้ เพื่อส่งเสริมความสำเร็จและความสุขของเขา
(10) สร้างสารและสื่อสารเพื่อช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา สร้างคุณค่า ส่งมอบคุณค่าที่ดีให้แก่บุคคลอื่นที่เรารู้จัก เพื่อให้เขาได้รับรู้ เพื่อส่งเสริมความสำเร็จและความสุขของเขา

10.3 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)

(1) เลือกใช้สื่อที่ตนเองมีความถนัดเพื่อบันทึกความทรงจำที่ดีงามของตนเอง
(2) เขียนบันทึกด้วยลายมือของตนเอง บันทึกสิ่งที่ดีงาม ผลงาน ความสำเร็จ คุณงามความดี ที่ตนได้กระทำ
(3) ใช้สื่อโซเชียลมีเดียบันทึกสิ่งที่ดีงาม ผลงาน ความสำเร็จ คุณงามความดี ที่ตนได้กระทำ 
(4) ใช้สื่อโซเชียลมีเดียเผยแพร่สิ่งที่ดีงาม ผลงาน ความสำเร็จ คุณงามความดี ที่ตนได้กระทำ
(5) ควรสร้างกลุ่มสังคมกลุ่มเล็กที่มีสมาชิกประมาณ 4-5 คน ที่มีความสนิทสนมคุ้นเคย ไว้วางใจ พูดคุยได้ทุกเรื่อง เอาไว้พูดคุย สื่อสาร แลกเปลี่ยน ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับความสุข ความสำเร็จ ยกย่องชื่นชม สนับสนุน ให้กำลังใจ ชี้แนะ แนะนำ ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิต เพื่อให้มีพลังใจในการต่อสู้ชีวิต และมีความสุขในการดำเนินชีวิต
(6) พูด ปาฐกถา ต่อกลุ่มคน สาธารณชน ถึงสิ่งที่ดีงาม ผลงาน ความสำเร็จ คุณงามความดี ที่ตนได้กระทำ
(7) รำลึกถึงสิ่งที่ดีงาม ผลงาน ความสำเร็จ คุณงามความดี ที่ตนได้กระทำ ช่วงก่อนนอน และช่วงตื่นนอน


ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
10 พ.ค. 59

โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี : americano1515

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค