กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 6 การสื่อสารเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด (correction)
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59
ความเข้าใจผิด (misunderstanding) เป็นบ่อเกิดของทัศนคติทางลบของผู้รับสารที่มีต่อองค์กร ผลิตภัณฑ์ และการดำเนินงานขององค์กร ความเข้าใจผิดนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การต่อต้าน การไม่ให้ความร่วมมือ การขัดขวางการดำเนินงาน ความเข้าใจผิดสร้างความเสียหายทุกด้านทั้งชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ความเชื่อถือ ยอดขาย รายได้ ผลกำไร ความร่วมมือ เมื่อเกิดความเข้าใจผิดขึ้น ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ซึ่งต้องดำเนินด้วยความเข้าใจและใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม
6.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies)
(1) ความเข้าใจผิดเกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
(2) ความเข้าใจผิดส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อเรื่องนั้น
(3) ความเข้าใจผิดถูกขยายขนาดของความเข้าใจผิด โดยการตอกย้ำโดยบุคคลอื่นที่มีอิทธิพลต่อผู้รับสาร
(4) ระดับความรู้สึกที่มีต่อความเข้าใจผิดขึ้นอยู่กับเวลานับตั้งแต่เริ่มเข้าใจผิด ยิ่งปล่อยไว้นาน ยิ่งเพิ่มระดับความเข้าใจผิดมากยิ่งขึ้น
6.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)
(1) การให้ข้อมูลควรมุ่งเน้นประเด็นที่มีการเข้าใจผิด โดยอธิบายถึงจุดที่เข้าใจผิด พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่ถูกต้องทันที
(2) การให้ข้อมูลต้องชัดเจนมากที่สุด โดยมีตัวเลข สถิติ รายงานประกอบการให้ข้อมูล
(3) การให้ข้อมูลควรระบุแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
(4) หากที่มาของความเข้าใจผิด มีส่วนมาจากข้อบกพร่องในการดำเนินงานของพนักงานขององค์กรตนเอง ต้องแสดงความรับผิดชอบ พร้อมกล่าวคำขอโทษอย่างจริงใจ
6.3 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)
(1) ควรใช้สื่อที่สามารถอ่านซ้ำได้ ทวนความได้ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์
(2) ควรใช้สื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมีความเข้าใจผิดได้ดีที่สุด ครอบคลุมที่สุด
(3) ควรใช้สื่อที่มีลักษณะน่าเชื่อถือ สร้างความรู้สึกที่ดี ออกแบบอย่างพิถีพิถัน ปราณีต
(4) ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรง
(5) ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้วยท่าทีสุภาพ แสดงวามรู้สึกถึงความเอาใจใส่ และความรับผิดชอบ
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
10 พ.ค. 59
โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี :americano1515
ตอนที่ 6 การสื่อสารเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด (correction)
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59
ความเข้าใจผิด (misunderstanding) เป็นบ่อเกิดของทัศนคติทางลบของผู้รับสารที่มีต่อองค์กร ผลิตภัณฑ์ และการดำเนินงานขององค์กร ความเข้าใจผิดนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การต่อต้าน การไม่ให้ความร่วมมือ การขัดขวางการดำเนินงาน ความเข้าใจผิดสร้างความเสียหายทุกด้านทั้งชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ความเชื่อถือ ยอดขาย รายได้ ผลกำไร ความร่วมมือ เมื่อเกิดความเข้าใจผิดขึ้น ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ซึ่งต้องดำเนินด้วยความเข้าใจและใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม
6.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies)
(1) ความเข้าใจผิดเกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
(2) ความเข้าใจผิดส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อเรื่องนั้น
(3) ความเข้าใจผิดถูกขยายขนาดของความเข้าใจผิด โดยการตอกย้ำโดยบุคคลอื่นที่มีอิทธิพลต่อผู้รับสาร
(4) ระดับความรู้สึกที่มีต่อความเข้าใจผิดขึ้นอยู่กับเวลานับตั้งแต่เริ่มเข้าใจผิด ยิ่งปล่อยไว้นาน ยิ่งเพิ่มระดับความเข้าใจผิดมากยิ่งขึ้น
6.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)
(1) การให้ข้อมูลควรมุ่งเน้นประเด็นที่มีการเข้าใจผิด โดยอธิบายถึงจุดที่เข้าใจผิด พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่ถูกต้องทันที
(2) การให้ข้อมูลต้องชัดเจนมากที่สุด โดยมีตัวเลข สถิติ รายงานประกอบการให้ข้อมูล
(3) การให้ข้อมูลควรระบุแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
(4) หากที่มาของความเข้าใจผิด มีส่วนมาจากข้อบกพร่องในการดำเนินงานของพนักงานขององค์กรตนเอง ต้องแสดงความรับผิดชอบ พร้อมกล่าวคำขอโทษอย่างจริงใจ
6.3 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)
(1) ควรใช้สื่อที่สามารถอ่านซ้ำได้ ทวนความได้ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์
(2) ควรใช้สื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมีความเข้าใจผิดได้ดีที่สุด ครอบคลุมที่สุด
(3) ควรใช้สื่อที่มีลักษณะน่าเชื่อถือ สร้างความรู้สึกที่ดี ออกแบบอย่างพิถีพิถัน ปราณีต
(4) ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรง
(5) ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้วยท่าทีสุภาพ แสดงวามรู้สึกถึงความเอาใจใส่ และความรับผิดชอบ
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
10 พ.ค. 59
โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี :americano1515
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น