กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 การสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหา (prevention)
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59
คำโบราณที่ว่า "กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน" เป็นคำกล่าวที่มีค่ามาก ในฐานะที่สอนให้เราตระหนักในความสำคัญของการป้องกันปัญหา การป้องกันปัญหามีต้นทุนน้อยกว่าการแก้ไขปัญหา ปัญหาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว กับ ปัญหาใหม่ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักเป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งมนุษย์เราสามารถป้องกันได้ แต่มนุษยเรามักละเลยที่จะป้องกัน แล้วปล่อยให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นซ็ำ ๆ การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้คนมีความตระหนักในการป้องกันปัญหาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับปัญหาใหม่เป็นสิ่งที่ผู้คนอาจคาดไม่ถึง จึงจำเป็นต้องมีการคาดคะแน คาดการณ์ ทำนาย วิเคราะห์ไว้ล่วงหน้า แล้วหาทางป้องกัน เมื่อปัญหาใหม่เกิดขึ้นกับใครแล้ว ผู้ที่เคยมีประสบการณ์กับปัญหาใหม่นั้น ควรนำมาบอกกล่าวเล่าแจ้งเตือนให้คนอื่นระวังและป้องกันปัญหานั้น
8.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies)
(1) ปัญหาเดิม ศึกษาข้อมูลรวบรวมปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว สรุปข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุ และแนวทางในการป้องกันปัญหาเดิมมิให้เกิดซ้ำ
(2) ปัญหาใหม่ ศึกษาข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ เหตุการณ์ บุคคล สถานที่ เงื่อนไข บริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เพื่อคาดคะเนปัญหาใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วสรุปข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ
(3) วิเคราะห์แยกปัญหาระหว่าง "ปัญหาในมิติของเนื้องาน" กับ "ปัญหาในมิติของการสื่อสาร"
(4) นำปัญหาในมิติของการสื่อสารมาวิเคราะห์และวางแผนการสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหา
(5) ควรนำกระบวนการของเดมมิ่งมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการสื้่อสาร ที่ประกอบด้วย PLAN - DO - CHECK - ACTION
8.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)
(1) ควรนำเสนอสารในลักษณะที่ "สร้างความตระหนัก" ในความสำคัญของปัญหา และความจำเป็นที่ต้องมีการป้องกัน โดยการนำเสนอผลกระทบในทางลบ หรือผลเสียหาย อันเกิดมาจากปัญหานั้น
(2) ควรสร้างและนำเสนอสารที่มีลักษณะของการ "เตือนภัย" ให้ระมัดระวังภัย ระมัดระวังปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และอาจจะเกิดขึ้นอีก
(3) ควรนำเสนอข้อมูลตัวเลขการเกิดปัญหาในเรื่องที่มีความถี่สูง ๆ หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพื่อเตือนให้ระวัง
8.3 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)
(1) ควรใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความตระหนักรู้ (awareness) เช่น สื่อบุคคล สื่อวิดีโอ สื่อออนไลน์ ยูทูบ
(2) ควรใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการปลูกฝังทัศนคติเรื่อง "การป้องกันดีกว่าการแก้ไข"
(3) ควรใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ลงมือป้องกันปัญหาต่าง ๆ
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
10 พ.ค. 59
โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี : americano1515
ตอนที่ 8 การสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหา (prevention)
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59
คำโบราณที่ว่า "กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน" เป็นคำกล่าวที่มีค่ามาก ในฐานะที่สอนให้เราตระหนักในความสำคัญของการป้องกันปัญหา การป้องกันปัญหามีต้นทุนน้อยกว่าการแก้ไขปัญหา ปัญหาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว กับ ปัญหาใหม่ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักเป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งมนุษย์เราสามารถป้องกันได้ แต่มนุษยเรามักละเลยที่จะป้องกัน แล้วปล่อยให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นซ็ำ ๆ การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้คนมีความตระหนักในการป้องกันปัญหาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับปัญหาใหม่เป็นสิ่งที่ผู้คนอาจคาดไม่ถึง จึงจำเป็นต้องมีการคาดคะแน คาดการณ์ ทำนาย วิเคราะห์ไว้ล่วงหน้า แล้วหาทางป้องกัน เมื่อปัญหาใหม่เกิดขึ้นกับใครแล้ว ผู้ที่เคยมีประสบการณ์กับปัญหาใหม่นั้น ควรนำมาบอกกล่าวเล่าแจ้งเตือนให้คนอื่นระวังและป้องกันปัญหานั้น
8.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies)
(1) ปัญหาเดิม ศึกษาข้อมูลรวบรวมปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว สรุปข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุ และแนวทางในการป้องกันปัญหาเดิมมิให้เกิดซ้ำ
(2) ปัญหาใหม่ ศึกษาข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ เหตุการณ์ บุคคล สถานที่ เงื่อนไข บริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เพื่อคาดคะเนปัญหาใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วสรุปข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ
(3) วิเคราะห์แยกปัญหาระหว่าง "ปัญหาในมิติของเนื้องาน" กับ "ปัญหาในมิติของการสื่อสาร"
(4) นำปัญหาในมิติของการสื่อสารมาวิเคราะห์และวางแผนการสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหา
(5) ควรนำกระบวนการของเดมมิ่งมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการสื้่อสาร ที่ประกอบด้วย PLAN - DO - CHECK - ACTION
8.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)
(1) ควรนำเสนอสารในลักษณะที่ "สร้างความตระหนัก" ในความสำคัญของปัญหา และความจำเป็นที่ต้องมีการป้องกัน โดยการนำเสนอผลกระทบในทางลบ หรือผลเสียหาย อันเกิดมาจากปัญหานั้น
(2) ควรสร้างและนำเสนอสารที่มีลักษณะของการ "เตือนภัย" ให้ระมัดระวังภัย ระมัดระวังปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และอาจจะเกิดขึ้นอีก
(3) ควรนำเสนอข้อมูลตัวเลขการเกิดปัญหาในเรื่องที่มีความถี่สูง ๆ หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพื่อเตือนให้ระวัง
(4) ควรนำเสนอสารที่มีลักษณะเป็นการให้คำแนะนำ หรือให้ข้อเสนอแนะ หรือให้แนวทาง ในการ "ป้องกัน" ปัญหา อย่างชัดจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้
(5) ควรนำเสนอสารในลักษณะของการโน้มน้าวใจให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ดี
8.3 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)
(1) ควรใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความตระหนักรู้ (awareness) เช่น สื่อบุคคล สื่อวิดีโอ สื่อออนไลน์ ยูทูบ
(2) ควรใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการปลูกฝังทัศนคติเรื่อง "การป้องกันดีกว่าการแก้ไข"
(3) ควรใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ลงมือป้องกันปัญหาต่าง ๆ
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
10 พ.ค. 59
โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี : americano1515
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น