ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทฤษฎีการสื่อสาร..คลาสสิค ล้าสมัย หรือ ร่วมสมัย

ทฤษฎีการสื่อสาร..คลาสสิค ล้าสมัย หรือ ร่วมสมัย

กลยุทธ์ต่างๆที่มนุษย์นำมาใช้เพืี่อ..

เบี่ยงเบนความสนใจเบี่ยงเบนประเด็น

แย่งชิงพื้นที่ข่าวในความรู้สึกนึกคิดของประชาชน

จัดวาระข่าวสาร  (Agenda setting) เผยแพร่ด้วยขนาดพื้นที่ เวลา ความถี่ เพื่อให้ข่าวบางประเภทมีความสำคัญโดดเด่นกว่าประเด็นข่าวอื่น

ปลูกฝังเพาะบ่ม (Cultivation) ให้ความคิด ค่านิยม และคุณค่าบางเรื่องซึมซับลงไปในจิตสำนึก และจิตใต้สำนึกของประชาชนทั่วไปในวงกว้าง เช่น เรื่องความงาม ความสวย ความหล่อ ความขาว ความเก่ง การมีผลงานที่โดดเด่น การเป็นผู้นำกระแส

เหล่านี้คือ..กลยุทธ์ทางการสื่อสารที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น ตลาดหุ้น ตลาดทองคำ ในทางการเมือง เช่น การชื่นชมความสามารถ การสร่างภาพลักษณ์ที่ดี การปิดบังข้อผิดพลาด

กลยุทธ์เหล่านี้..ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจ รู้เท่ารู้ทัน และนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้จากการเรียนรู้ในระดับปริญญาโท-เอก ทั้งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์

กลยุทธ์เหล่านี้..พัฒนาเป็นทฤษฎีการสื่อสาร โดยนักคิดชั้นนำของ เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส อเมริกัน อังกฤษ ได้ศึกษาวางรากฐานกันมากว่า 50 ปี

บางคนว่าล้าสมัย..แต่ก็ยังใช้กันอยู่ในระดับประเทและระดับโลก

จริงอยู่ที่บางส่วนล้าสมัย..แต่บางส่วนก็คลาสสิค ใช้ได้หลายครั้งก็ยังคลาสสิค 

บางส่วนก็มีความร่วมสมัย ประยุกต์ใช้ ดัดแปลงได้กับบริบทต่างๆ เช่น เหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้ของไทย และเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น ก็มีความร่วมสมัย ทฤษฎีที่ใช้ก็ร่วมสมัย

เราจึงต้องรู้ ต้องเข้าใจ ต้องเลือกใช้

มีความรู้ให้เรียน ให้ค้นหา ให้นำมาใช้แก้ปัญหา และนำมาใช้ในการพัฒนา มากมาย
กว่าท่านเหล่านั้นจะคิดได้ ต้องอาศัยเวลาในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย มาเป็นเวลานาน

เรา..เพียงเรียนรู้จากท่าน ผ่านชิ้นงาน ผ่านความคิด ผ่านทฤษฎี ที่ท่านสร้างไว้
เพื่อเรียนรู้ เพื่อเข้าใจ เพื่ออธิบาย เพื่อรู้เท่ารู้ทัน เพื่อแก้ปัญหา เพื่อพัฒนา
ตนเอง การงาน ชีวิต ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศของเรา และโลกของเรา

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์. สุทธิโยธิน
10 มิถุนายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค