ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เปลี่ยนกระบวนทัศน์..จากการแสวงหาความรู้ เผยแพร่ และสอน..มาเป็น..การทำให้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง จะดีกว่าไหม ??

"เรื่องความรู้ไม่มีวันพอใจ เพราะโลกกำลังเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา..เรารู้ในวันนี้ พรุ่งนี้อาจจะไม่ใช่แล้ว เปลี่ยนแล้ว"

นี่คือแนวคิดของคุณธนินท์ เจียรวนนท์..ผู้ที่สูงยิ่งด้วยประสบการณ์ ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกลยิ่งที่ได้ปาฐกถาไว้ในการประชุมบอร์ดเกษตรประจำเดือน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 (อ้างอิงจาก Page We are CP วันที่ 9 มิ.ย. 56)

ในทัศนะของผม..อันได้แรงบันดาลใจมาจากข้อคิดของคุณธนินท์ที่ชี้ว่า..ความรู้ไม่ใช่สิ่งที่คงที่ ความรู้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุกวัน ทุกนาที..

ดังนั้น ผมจึงมีแนวคิดว่า..เราจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านการศึกษาและการพัฒนาเสียใหม่

สิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ใช่เพียงแค่ การแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เพียงแค่ การสร้างความรู้ เพื่อเอาไปสอนคนอื่น หรือผลิตความรู้สำเร็จรูป เช่น ตำรา ทฤษฎี คู่มือ ไปให้คนอื่นบริโภค ทำตามความรู้ตามตำรา เพราะมันอาจล้าสมัย และใช้ไม่ได้ผลไปแล้ว

หากแต่เราจะต้องเร่งพัฒนาเรื่อง "การสร้างคนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง" (Self Learning)

สามารถค้นหาความรู้เองได้ สามารถสร้างความรู้เองได้ สามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองได้ ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร มีอาชีพอะไร เป็นหมอ เป็นวิศวะกร เป็นพนักงานฝ่ายผลิต เป็นชาวนา เป็นเกษตรกร เป็นแม่ค้ารายย่อย เป็ผู้ทำธุรกิจ SME เขาเหล่านี้ควรจะต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

นั่นก็คือ การพัฒนาให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ (Self Reliance) ยืนบนขาตัวเองได้ พึ่งพาคนอื่นให้น้อย พึ่งตนเองให้มาก 

แม้กระทั่งเรื่องอาหารการกิน ต้องมีพืชมีผักมีไข่ไก่ของตัวเอง ต้องทำกับข้าวกินเองได้ ไม่พึ่งพาแกงถุง

ผมเชื่อมั่นในแนวทางนี้ แนวทางในการพัฒนาคนให้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสิ่งที่ต้องกาีพัฒนาไปไกลกว่านั้นคือ การพัฒนาคนให้เป็น "ผู้เรียนรู้ที่ชาญฉลาด" Smart Learner

เมื่อปี 2015 มาถึง เมื่อเราเปิด AEC เราจะมีคนที่เป็น Smart Learner อยู่ไม่น้อย

ผมได้ดำเนินโครงการนี้แล้วในชุมชนเล็กๆ ของผม..แล้วผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
9 มิถุนายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค