ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ก้าวแรกแห่งการพัฒนา..Features - Advantage - Benefits - Ethics

ก้าวแรกแห่งการพัฒนา..คือ การพัฒนาคน

รายชื่อและประวัติย่อสั้น ของ นศ.ม. รุ่น 10 ที่ผมโพสต์ไปจำนวน 6 คน..ตามข้อมูลที่ผมมีในมือ เนื่องจากนักศึกษาทั้ง 6 คนดังกล่าว ผมเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ผมจึงได้รับข้อมูลมาในวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2556

ผมนำมาโพสต์ไว้เพื่อให้เป็นแนวทางในการสื่อสารข้อมูลระหว่างนักศึกษาและศิษย์เก่านิเทศศาสตร..เป็นเพียงแนวทางที่กระตุ้นให้นักศึกษานำไปคิด นำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม หลายคนอาจมีประสบการณ์ใช้สื่อออนไลน์มาก อาจทำได้ดีกว่านี้หลายเท่า

การมีส่วนร่วมและการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม..เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเครือข่าย..คงเป็นพันธกิจที่จะต้องสืบสานต่อโดยคณะนักศึกษา นศ.ม. รุ่น 10 โดยประธาน รองประธาน และนักศึกษาทุกคน พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม

แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทุกคนควรตระหนัก..คือ..ความเข้มแข็งของกลุ่ม ของชุมชน ของสังคมใดๆ ก็ตาม..จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ กลุ่ม ชุมชน และสังคมนั้น..มีสมาชิกกลุ่มที่เข้มแข็ง

ความเข้มแข็งในตนเองสำหรับนักศึกษาในวันนี้คือ..ความสามารถด้าน "การเรียนรู้ด้วยตนเอง" (Self Learning) และ ความสามารถด้าน "การพึ่งตนเองได้" (Self Reliance) ความสามารถทั้งสองส่วนนี้ จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทุกคน ซึ่งในทางวิชาการถือว่า เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อคนเข้มแข็ง กลุ่มก็เข้มแข็ง
เมื่อกลุ่มเข้มแข็ง ชุมชนก็เข้มแข็ง
เมื่อชุมชนเข้มแข็ง สังคมก็เข้มแข็ง

ผู้คนและสังคมภายนอก เขาอาจจะ "รู้จักเรา" จากการทำกิจกรรมสู่สังคม จากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จากการประชุมพบปะ

แต่..เขาจะ "ยอมรับเรา" ก็ต่อเมื่อ..เราได้แสดงออกให้เห็นถึง ฝีมือความสามารถในการทำงาน การแก้ปัญหา และการสร้างผลงานเชิงประจักษ์ให้ผู้คนได้พบเห็น ได้ใช้ประโยชน์ อันเป็นผลที่ได้รับมาจากการศึกษาปริญญาโทนิเทศศาสตร์

ในทัศนะของผมเห็นว่า..ผู้คนและสังคมที่จะ "ยอมรับเรา" เขาไม่ให้ความสำคัญกับ Features ของเรามากนักหรอก..แต่เขาสนใจเราที่ Advantage มากกว่า

แต่สิ่งที่ผู้คนและสังคมเขาสนใจมากที่สุดและจะยอมรับเรามากที่สุดคือ เรื่อง Benefits
เราในฐานะที่เป็นผู้จบปริญญาโทนิเทศศาสตร์ มสธ. จะมี Benefits อย่างไร..ทำอะไรให้สำเร็จได้ แก้ปัญหาอะไรได้ พัฒนาอะไรได้ สร้างสรรค์นวัตกรรมอะไรที่เป็นประโยชนต่อสังคมได้

และที่สิ่งสุดท้ายที่เขาเอามาตัดสินเราคือ ความมีคุณธรรมจริยธรรม

ดังนั้น เราจึงควรตระหนักอยู่เสมอว่า..เราต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทางวิชาการเป็นอันดับหนึ่ง เพราะพวกเราเข้ามาที่นี่ด้วยเหตุผลนี้

วิชาการนิเทศศาสตร์บวกกับต้นทุนชีวิตที่แต่ละคนมีมาก่อน จะช่วยให้เรา "หาข้อมูลเป็น คิดเป็น วิเคราะห์เป็น วางแผนเป็น แก้ปัญหาเป็น"
 
ขณะเดียวกันเราก็ไม่ละทิ้งการเรียนรู้ภาคประสบการณ์ชีวิตระหว่างเรียน เพราะประสบการณ์จะสอนให้เราแก้ปัญหาในสถานการณ์จริงได้

ในทัศนะของผมคือ..เราต้องทำทั้งสองด้านให้สมดุลย์

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
11 มิถุนายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค